Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กุมภาพันธ์ 2558 (เกาะติดประมูล4G) CAT เริ่มคิด!! ประมูลดีไมหลัง หลังซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจให้แนวทางเป็นอินฟราสตรักเจอร์ หวังขอคลื่นจากภาครัฐ

ประเด็นหลัก

- นโยบาย 4G

ก็อยากประมูล แต่ถ้ามีแล้วจะเอาไปทำอะไร จะทำตลาดอย่างไรยังไม่ชัดเจน แล้วถ้าเป็นอินฟราสตรักเจอร์อย่างเดียวเลี้ยงองค์กรได้ไหมยังก้ำกึ่ง เวลาที่เหลือจะหาพันธมิตรได้หรือไม่ ข้อกำหนดยังไม่ชัดเจน

คลื่นที่มีก็ใช้ได้ถึงปี 2568 เรายังใช้ไม่เต็มที่ คลื่นเดิมพอจะปรับปรุงได้ เลี้ยงองค์กรได้ แต่ถ้ามีสิทธิ์เลือก หรือผู้มีอำนาจให้คลื่นมา เราเชื่อว่าสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ แต่คลื่นที่ได้นอกจากใช้บริการสังคมแล้ว ถ้าเหลือต้องให้ไปเซิร์ฟข้าราชการ รัฐวิสาหกิจด้วยกัน โดยคิดค่าใช้จ่ายตามเหตุตามผลได้ ถ้าให้ใช้เฉพาะเพื่อบริการสาธารณรัฐก็ต้องอุดหนุนด้วย

- ดีกว่ายุบรวมกับทีโอที

ทั้ง 2 แห่งแทบจะทำธุรกิจทับซ้อน และเอกชนก็ทำธุรกิจพวกนี้ จึงยังจำเป็นที่รัฐวิสาหกิจต้องทำไหม ผมมองว่าผู้ใหญ่มองว่าไม่จำเป็น การแบ่งงานเป็น 6 กลุ่มธุรกิจเพื่อดูว่ามีอะไรแชร์ใช้ร่วมกันได้ บางส่วนที่ไม่จำเป็นแปรรูปออกไปน่าจะโอเคกว่า กสทฯกับทีโอทีมีจุดแข็งจุดอ่อนที่เหมือนกัน รวมกันไม่น่าเกิดประโยชน์

_____________________________________________________















ยุติข้อพิพาทพลิกเกมธุรกิจ โค้งสุดท้าย "กสท โทรคมนาคม"


สัมภาษณ์พิเศษ

จากอาจารย์นายร้อยพระจุลจอมเกล้า "พันเอก ผศ.ดร.สรรพชัย หุวะนันทน์" มานั่งเป็นหนึ่งในบอร์ดบริหาร บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT-แคท) อยู่ก่อนแล้วถึง 3 ปี ถือได้ว่ามีประสบการณ์นานที่สุด และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้นำองค์กรอีกบทบาทในตำแหน่งรักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งถือเป็นช่วงรอยต่อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งขององค์กรแห่งนี้

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดังนี้

- 3 ปีที่นั่งเป็นบอร์ดเห็นการเปลี่ยนแปลงของ กสทฯ

ช่วงแรกที่เข้ามาสัมปทานของ กสทฯยังไม่หมด รายได้ค่อนข้างสูง ผลประกอบการดี โบนัสเยอะ พอจะหมดสัมปทาน ก็มีเตรียมตัวไว้ แต่หลายอย่างผิดคาด ตามสัมปทานเขียนชัดว่า กสทฯนำลูกค้ามาดำเนินงานเองได้ ก็คาดหวังว่าจะลุยธุรกิจนี้ด้วยการเอาต์ซอร์ซเอกชน มีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง แต่พอมีประกาศเยียวยาผู้บริโภคของ กสทช. ลูกค้าโดนโอนย้ายออกไป ค่าเช่าทรัพย์สินที่ควรได้ก็ไม่ได้รับแต่ก็ทำให้เห็นตนเองชัดขึ้น แล้วกลับมาโฟกัสโครงข่าย HSPA คลื่น 850 MHz อย่างเต็มที่จริงจัง รวมถึงบรอดแบนด์

- ข้อพิพาทจากสัมปทานไม่จบ

ทรัพย์สินยังโอนไม่ครบ ยังตีความตีมูลค่าไปคนละแบบ หลัก ๆ คือ เสาสัญญาณ และอุปกรณ์บางส่วนยังอยู่ในอนุญาโตตุลาการ ส่วนการโอนลูกค้าก็ฟ้องประกาศเยียวยา กสทช.ไปแล้ว แต่ก็เจรจากับคู่สัมปทาน ซึ่งทรูแสดงเจตนารมณ์จะยุติข้อพิพาท ที่อยากให้จบก่อนไตรมาส 1 ปีนี้คือเรื่องการโอนเสา ส่วนที่เหลือก็มีทั้ง CDMA ในส่วนดีลที่ตกลงกันไว้และสัมปทาน ในส่วนของดีลทรู-กสทฯ รายได้ก็ยังเป็นตัวเลขในบัญชีราว 14,000 ล้านบาท คาดว่าในเดือนนี้น่าจะได้ข้อยุติ ตัวเลขฝั่งเรากับฝั่งทรูไม่เท่ากัน

- กับทรูมองไม่ตรงกันเป็นอุปสรรค

เชื่อร่วมกันว่าต้องร่วมมือ เป็น Long Term Partnership ไม่เอาข้อพิพาททางกฎหมายมาเป็นที่ตั้ง ตอนนี้พูดคุยกันตลอด

- ข้อพิพาทอื่น

หลัก ๆ จะมี ค่าเอซี ไอซีกับทีโอที และดีแทค ทีโอทีคงต้องรอศาลหรือซูเปอร์บอร์ดมีนโยบาย ส่วนดีแทคมีโมเดลที่จะหารือร่วมกัน แต่ขั้นตอนการยุติข้อพิพาทเกินอำนาจของบอร์ด ต้องขึ้นอยู่กับกรรมการตาม 43 พ.ร.บ.การร่วมทุน เพราะฉะนั้น ก็ทำในส่วนที่คิดว่าเป็นผลประโยชน์สูงสุดก่อน ณ ปัจจุบัน น่าจะได้ข้อสรุปรอบอร์ดพิจารณาก่อนทำข้อตกลงกันอีกที เป็นการให้ทรัพย์สินสัมปทานนำมาแชร์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าต้องแชร์กับดีแทคเท่านั้น

- เน้นพาร์ตเนอร์กับคู่สัมปทาน

มีคุยกับรายอื่นเกี่ยวกับโอกาสที่จะทำธุรกิจร่วมกันในส่วนของโมบาย, บรอดแบนด์, ดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่ได้ปิด

- ความเป็นรัฐวิสาหกิจทำให้เกิดปัญหา

ครับ ธุรกิจโทรคมนาคมการแข่งขันสูง ถ้าปรับตัวไม่ทันก็จะเกิดปัญหา เราไม่ได้มีจุดแข็งเหนือเอกชน และยังติดกฎระเบียบอีก จึงควรคิดรูปแบบใหม่ เช่น ไปจับมือกับพันธมิตรเพราะคล่องตัว กสทฯอยากเป็นแค่โฮลดิ้งในบางกลุ่มธุรกิจ อย่างโมบายที่เป็นรีเทล ธุรกิจบรอดแบนด์ ธุรกิจไอดีซี คลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ถ้างานไหนยังต้องอุดหนุนรัฐหรือความมั่นคงก็ยินดีทำ แต่ต้องยอมรับว่าจะขาดทุนบางส่วน ซึ่งรัฐก็ต้องอุดหนุนหลักการคือ กสทฯอยู่ได้ด้วยตนเอง

- หลายฝ่ายยังอยากให้เป็นโครงข่ายของชาติ

ต้องดูนโยบาย คอนเซ็ปต์โครงข่ายของชาติเป็นสิ่งที่ดี ลดความซ้ำซ้อนในภาพรวม แต่ต้องมองว่าถ้ารวมโครงข่าย ทีโอทีมีของเอไอเอสอยู่ด้วย กสทฯมีของตนเอง ของดีแทค ของทรู ในส่วนที่มีอยู่ก็ซ้ำซ้อนอยู่แล้ว ที่ไม่ซ้ำซ้อนคือส่วนลาสต์ไมล์ ฉะนั้น จำเป็นไหมที่ต้องนำทั้งหมดรวมกัน เอาส่วนที่เกินจำเป็นไปทำอย่างอื่นให้มีมาร์จิ้นสูงขึ้นจะดีกว่าไหม

- กสทฯจะทำอินฟราฯฟันด์

ใช่ แต่ซูเปอร์บอร์ดคงต้องตัดสินใจ แต่น่าจะเป็นการร่วมลงทุน ไม่เช่นนั้นก็ไม่หลุดพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ อนาคต กสทฯคือใช้ทรัพยากรที่มีอย่างสูงสุดทั้งโครงข่าย ทั้งธุรกิจโมบาย ส่วนการขายขาดในรูปแบบ MVNO ก็ยังทำ รายได้กว่า 50% ของ กสทฯมาจากโมบายแต่ไม่จำเป็นต้องลงโครงสร้างเองทั้งหมด อย่างหาพาร์ตเนอร์มาทำระบบงานหลังบ้านของ MVNO อย่างระบบเรียลไทม์ชาร์จิ้ง ระบบไอแบ็ก เพราะกว่า กสทฯ จะลงทุนได้ ติดตั้งเสร็จ เทคโนโลยีก็ Out แล้ว

- ถือว่า กสทฯมาถึงจุดวิกฤต

ถึงแล้ว แต่ไม่ใช่วิกฤตหนัก ดูจากแผนธุรกิจปี 2558 ตั้งเป้ากำไรแค่ 225 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้ว ปีนี้เป็นจุดต่ำสุดแล้ว เพราะก่อนนี้ยังมีโอเปอเรเตอร์บางส่วนยังสร้างโครงข่ายตนเองไม่ทันจึงมีรายได้จากโรมมิ่งแต่น่าจะดีขึ้นในปี 2559

- นโยบาย 4G

ก็อยากประมูล แต่ถ้ามีแล้วจะเอาไปทำอะไร จะทำตลาดอย่างไรยังไม่ชัดเจน แล้วถ้าเป็นอินฟราสตรักเจอร์อย่างเดียวเลี้ยงองค์กรได้ไหมยังก้ำกึ่ง เวลาที่เหลือจะหาพันธมิตรได้หรือไม่ ข้อกำหนดยังไม่ชัดเจน

คลื่นที่มีก็ใช้ได้ถึงปี 2568 เรายังใช้ไม่เต็มที่ คลื่นเดิมพอจะปรับปรุงได้ เลี้ยงองค์กรได้ แต่ถ้ามีสิทธิ์เลือก หรือผู้มีอำนาจให้คลื่นมา เราเชื่อว่าสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ แต่คลื่นที่ได้นอกจากใช้บริการสังคมแล้ว ถ้าเหลือต้องให้ไปเซิร์ฟข้าราชการ รัฐวิสาหกิจด้วยกัน โดยคิดค่าใช้จ่ายตามเหตุตามผลได้ ถ้าให้ใช้เฉพาะเพื่อบริการสาธารณรัฐก็ต้องอุดหนุนด้วย

- สังคมคงไม่ยอมแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

Privatization เป็นปัญหาระดับชาติ แต่ถ้าสิ่งที่เราแปรรูปออกไป ไม่ได้ถือโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีผู้ถือหุ้นมาตัดสินใจร่วมกัน ขณะที่แบบเดิมเป็นภาระประเทศชาติกับรัฐบาล ผมเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ เราตอบสังคมได้

- 2 ปีของรัฐบาลได้เห็นแน่ ๆ

ก็น่าจะ แต่จะทยอยและไม่ได้จบที่บอร์ด อยู่ที่ผู้มีอำนาจสูงขึ้นไป

- ดีกว่ายุบรวมกับทีโอที

ทั้ง 2 แห่งแทบจะทำธุรกิจทับซ้อน และเอกชนก็ทำธุรกิจพวกนี้ จึงยังจำเป็นที่รัฐวิสาหกิจต้องทำไหม ผมมองว่าผู้ใหญ่มองว่าไม่จำเป็น การแบ่งงานเป็น 6 กลุ่มธุรกิจเพื่อดูว่ามีอะไรแชร์ใช้ร่วมกันได้ บางส่วนที่ไม่จำเป็นแปรรูปออกไปน่าจะโอเคกว่า กสทฯกับทีโอทีมีจุดแข็งจุดอ่อนที่เหมือนกัน รวมกันไม่น่าเกิดประโยชน์

- การสรรหาซีอีโอใหม่

ยังไม่มีกระบวนการหาซีอีโอ เพราะบอร์ดมองว่ากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรน่าจะรอให้ชัดเจนก่อน โดยส่วนตัวอยากให้คนในองค์กรขึ้นมาเป็นเพราะรู้ปัญหา รู้ธุรกิจดี



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422857241

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.