Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มีนาคม 2558 กสทช.สุภิญญา เล็งห้ามโฆษณาสินค้าหรือบริการที่อยู่ใต้เครื่องหมายเดียวกัน เกินชั่วโมงละ 4 ครั้ง หรือเกิน 2 ครั้งต่อครึ่งชั่วโมงในรายการ "ป" และ "ด" หรือ วิธีการชิงรางวัล แลกของรางวัล เล่นเกม

ประเด็นหลัก


คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนในการยกร่างประกาศฉบับนี้ ก่อนที่จะนำเสนอเข้าที่ประชุมอนุกรรมการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และให้บอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสทช.พิจารณาต่อไป

สำหรับแนวคิดเบื้องต้นจะมี 9 หลักการสำคัญคือ 1.ไม่ให้มีการส่งเสริมการขายโดยวิธีการชิงรางวัล แลกของรางวัล เล่นเกม หรือของแถมเพื่อส่งเสริมการขาย 2.ไม่ให้มีการโฆษณาโดยใช้หุ่น ตัวการ์ตูน หรือบุคคลที่เด็กรู้จักเป็นอย่างดี หรือหลีกเลี่ยงการใช้เด็กอายุ 3-12 ปี เป็นผู้แสดง ใช้เสียงเด็กบรรยาย หรือใช้เด็กรองรับสินค้าและบริการ ในรายการ "ป" และ "ด"

3.ไม่ให้มีการโฆษณาในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้เด็กเลือกใช้บริการ โดยมีการหลอกให้เกิดความเข้าใจผิดในสินค้าและบริการ เช่น คุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี หรืออ้างสถิติที่ไม่เป็นจริง 4.ไม่ให้มีการโฆษณาสินค้าหรือบริการที่อยู่ใต้เครื่องหมายเดียวกัน เกินชั่วโมงละ 4 ครั้ง หรือเกิน 2 ครั้งต่อครึ่งชั่วโมงในรายการ "ป" และ "ด"

5.ไม่ให้มีการโฆษณาสินค้า ผ่านเนื้อหาหรือการสนับสนุนการบริโภคเกินจำเป็น เช่น มีราคาเป็นจุดขาย หรือการโฆษณาในลักษณะที่ทำให้เข้าใจว่าบริโภคแล้วจะเหนือกว่าผู้อื่น 6. ไม่ให้มีโฆษณาแฝง ในบทบาทผู้แสดง หรือกล่าวถึงสินค้าในเนื้อหารายการ "ป" และ "ด" 7.ไม่ให้มีการสนับสนุนรายการโดยสินค้าและบริการที่เป็นอันตราย

8.ไม่ให้มีการโฆษณาบ่อยครั้งจนรับชมรายการไม่ได้ต่อเนื่อง และ 9.โฆษณาในรายการ "ป" และ "ด" ต้องเป็นโฆษณาที่มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเด็กปฐมวัยและเยาวชนเท่านั้น


_____________________________________________________


















กสทช. เล็งห้ามโฆษณาแบรนด์เดียวกันเกิน 4 ครั้ง/ชั่วโมงในรายการเด็ก



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง (บส.) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญนักวิชาการจากหลายด้านมาหารือเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับโฆษณาในรายการสำหรับเด็กทางโทรทัศน์ที่เหมาะสม

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าเด็กและเยาวชนใช้เวลาดูทีวีมากกว่าวัยอื่น ๆ ทำให้ได้รับแรงกระตุ้น มีความต้องการ มีพฤติกรรม ความเชื่อในสินค้าและบริการ ซึ่งหากไม่มีการสร้างมาตรการมาคุ้มครอง ป้องกันหรือบังคับ อาจทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อตัวเด็ก เป็นการมอมเมา หรือหลอกลวง ดังนั้นในฐานะผู้กำกับดูแลกฎหมาย จึงต้องระดมความเห็นจากกลุ่มวิชาการเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยมีแนวคิดจะออกประกาศ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ด้านการโฆษณาในรายการสำหรับเด็กปฐมวัยและรายการสำหรับเด็ก โดยเฉพาะในกลุ่มปฐมวัย "ป" (อายุ 3-5 ปี) และรายการเด็ก "ด" (อายุ 6-12 ปี)

คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนในการยกร่างประกาศฉบับนี้ ก่อนที่จะนำเสนอเข้าที่ประชุมอนุกรรมการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และให้บอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสทช.พิจารณาต่อไป

สำหรับแนวคิดเบื้องต้นจะมี 9 หลักการสำคัญคือ 1.ไม่ให้มีการส่งเสริมการขายโดยวิธีการชิงรางวัล แลกของรางวัล เล่นเกม หรือของแถมเพื่อส่งเสริมการขาย 2.ไม่ให้มีการโฆษณาโดยใช้หุ่น ตัวการ์ตูน หรือบุคคลที่เด็กรู้จักเป็นอย่างดี หรือหลีกเลี่ยงการใช้เด็กอายุ 3-12 ปี เป็นผู้แสดง ใช้เสียงเด็กบรรยาย หรือใช้เด็กรองรับสินค้าและบริการ ในรายการ "ป" และ "ด"

3.ไม่ให้มีการโฆษณาในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้เด็กเลือกใช้บริการ โดยมีการหลอกให้เกิดความเข้าใจผิดในสินค้าและบริการ เช่น คุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี หรืออ้างสถิติที่ไม่เป็นจริง 4.ไม่ให้มีการโฆษณาสินค้าหรือบริการที่อยู่ใต้เครื่องหมายเดียวกัน เกินชั่วโมงละ 4 ครั้ง หรือเกิน 2 ครั้งต่อครึ่งชั่วโมงในรายการ "ป" และ "ด"

5.ไม่ให้มีการโฆษณาสินค้า ผ่านเนื้อหาหรือการสนับสนุนการบริโภคเกินจำเป็น เช่น มีราคาเป็นจุดขาย หรือการโฆษณาในลักษณะที่ทำให้เข้าใจว่าบริโภคแล้วจะเหนือกว่าผู้อื่น 6. ไม่ให้มีโฆษณาแฝง ในบทบาทผู้แสดง หรือกล่าวถึงสินค้าในเนื้อหารายการ "ป" และ "ด" 7.ไม่ให้มีการสนับสนุนรายการโดยสินค้าและบริการที่เป็นอันตราย

8.ไม่ให้มีการโฆษณาบ่อยครั้งจนรับชมรายการไม่ได้ต่อเนื่อง และ 9.โฆษณาในรายการ "ป" และ "ด" ต้องเป็นโฆษณาที่มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเด็กปฐมวัยและเยาวชนเท่านั้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426064961

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.