Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 มีนาคม 2558 IDC.อรรถพล ระบุ ผลจากการเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ ในไทย ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ไม่เคยต่ำกว่า 35% ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน

ประเด็นหลัก

นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และธุรกิจไอซีที บริษัท มัคคานซิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เอ็มเคเอส  เปิดเผยว่า ปีนี้ เอ็มเคเอสได้จัดให้อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์หรือ Wearable devices เป็น 1 ใน 5 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการด้านการดำเนินธุรกิจไอซีทีของประเทศไทย (ICT Business Trends)  จากการคาดการณ์มูลค่าตลาดของอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 นี้ (ไม่นับกลุ่ม Security and defense) จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาท และสามารถเติบโตได้สูงถึง 950 ล้านบาท  เมื่อผนวกเข้ากับมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากโซลูชันที่เกี่ยวข้องในเชิงธุรกิจ
    ซึ่งในปี 2558 นี้ กระแสความนิยมจะเกิดขึ้นในลักษณะหัวกลับคือความนิยมและการเข้าถึงจะเริ่มจากกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานทั่วไปก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจะมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มองเห็นอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่สามารถใช้เป็นช่องทางเพื่อเก็บ ติดตาม และประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะผนวกข้อมูลดังกล่าวเสนอเป็นโซลูชันต่อไป โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาพแนวโน้มนำไปพัฒนาเป็นโซลูชันด้านธุรกิจคงไม่พ้นอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ (Healthcare services)  อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and logistics) โดยเฉพาะภาพของการประยุกต์ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการสุขภาพนั้น มีแนวโน้มความเป็นจริงค่อนข้างสูงในอีกไม่ช้า
    "ในปี 2558 นี้ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเชื่อว่าอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะกลับมานิยมและเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้น  สามารถจุดกระแสการใช้งานเชิงประยุกต์ต่อยอดจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่มีความคล่องตัวสูงในการใช้สมาร์ทดีไวซ์ประเภทต่าง ๆ และยังสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าองค์กร  ขณะเดียวกันผู้ผลิตต่างทยอยนำเสนอเทคโนโลยีและเซ็นเซอร์ที่ทันสมัยเข้าไปในอุปกรณ์พกพาประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาด แม้ว่าการจัดประเภท หมวดหมู่และความต้องการของอุปกรณ์เหล่านี้ยังไม่เด่นชัดเหมือนกับตลาดในต่างประเทศที่ตลาดมีการแบ่งหมวดหมู่ไว้ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสมาร์ทวอทช์ , กลุ่มอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์เฉพาะด้าน อาทิ Sport Fitness and Healthcare หรือกลุ่ม Security and defense (ข้อมือหรือกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว) แต่ก็นับเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่สามารถเพิ่มมูลค่าในระดับทุติยภูมิต่อเนื่องที่เป็นผลจากการเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ ในไทย ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ไม่เคยต่ำกว่า 35% ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน"



_____________________________________________________












กระแสอุปกรณ์แวร์เอเบิลพุ่ง

 เอ็มเคเอส คาดปี 58 กระแสความนิยมอุปกรณ์สวมใส่ไทยพุ่ง  อุตฯบริการสุขภาพ-ขนส่งแห่ใช้เพิ่มมูลค่าธุรกิจ  ระบุตัวเลขตลาดมูลค่าไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาท  ชี้ปัจจัย "ราคา"  ยังเป็นอุปสรรคและความท้าทาย
    altนายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และธุรกิจไอซีที บริษัท มัคคานซิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เอ็มเคเอส  เปิดเผยว่า ปีนี้ เอ็มเคเอสได้จัดให้อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์หรือ Wearable devices เป็น 1 ใน 5 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการด้านการดำเนินธุรกิจไอซีทีของประเทศไทย (ICT Business Trends)  จากการคาดการณ์มูลค่าตลาดของอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 นี้ (ไม่นับกลุ่ม Security and defense) จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาท และสามารถเติบโตได้สูงถึง 950 ล้านบาท  เมื่อผนวกเข้ากับมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากโซลูชันที่เกี่ยวข้องในเชิงธุรกิจ
    ซึ่งในปี 2558 นี้ กระแสความนิยมจะเกิดขึ้นในลักษณะหัวกลับคือความนิยมและการเข้าถึงจะเริ่มจากกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานทั่วไปก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจะมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มองเห็นอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่สามารถใช้เป็นช่องทางเพื่อเก็บ ติดตาม และประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะผนวกข้อมูลดังกล่าวเสนอเป็นโซลูชันต่อไป โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาพแนวโน้มนำไปพัฒนาเป็นโซลูชันด้านธุรกิจคงไม่พ้นอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ (Healthcare services)  อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and logistics) โดยเฉพาะภาพของการประยุกต์ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการสุขภาพนั้น มีแนวโน้มความเป็นจริงค่อนข้างสูงในอีกไม่ช้า
    "ในปี 2558 นี้ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเชื่อว่าอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะกลับมานิยมและเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้น  สามารถจุดกระแสการใช้งานเชิงประยุกต์ต่อยอดจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่มีความคล่องตัวสูงในการใช้สมาร์ทดีไวซ์ประเภทต่าง ๆ และยังสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าองค์กร  ขณะเดียวกันผู้ผลิตต่างทยอยนำเสนอเทคโนโลยีและเซ็นเซอร์ที่ทันสมัยเข้าไปในอุปกรณ์พกพาประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาด แม้ว่าการจัดประเภท หมวดหมู่และความต้องการของอุปกรณ์เหล่านี้ยังไม่เด่นชัดเหมือนกับตลาดในต่างประเทศที่ตลาดมีการแบ่งหมวดหมู่ไว้ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสมาร์ทวอทช์ , กลุ่มอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์เฉพาะด้าน อาทิ Sport Fitness and Healthcare หรือกลุ่ม Security and defense (ข้อมือหรือกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว) แต่ก็นับเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่สามารถเพิ่มมูลค่าในระดับทุติยภูมิต่อเนื่องที่เป็นผลจากการเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ ในไทย ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ไม่เคยต่ำกว่า 35% ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน"
    นายอรรถพล  กล่าวต่อไปว่าตัวอย่างในปีนี้ ถ้าให้น้ำหนักกับอุตสาหกรรมบริการสุขภาพที่มีการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ โดยอาจได้เห็นการทำงานของอุปกรณ์ถูกผนวกเข้ากับโซลูชันทางธุรกิจ  ที่จะเข้ามาช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ป่วย  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นข้อมูลก่อนการวินิจฉัยติดตามโรค ประเมินผลเบื้องต้นและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ในการร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีและแม่นยำ
    อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการเข้าถึงการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ยังมีปัจจัยด้าน "ราคา" ที่ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคและความท้าทายในปัจจุบัน ที่อาจจะถูกจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีในระยะแรก รวมถึงความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้งานสูงสุด มากกว่าการที่นักพัฒนาจะมุ่งพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่ออ่านค่าเซ็นเซอร์เพียงเท่านั้น โดยถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการเติบโตของตลาดสำหรับปีนี้เช่นกัน
    "เมื่ออุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์มีการใช้งานอย่างหลากหลายแล้ว เราคงได้เห็นการสร้างมูลค่าเพิ่มระหว่างตัวอุปกรณ์ โซลูชันทางธุรกิจ และองค์ความรู้จากวิชาชีพในอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน อันจะก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ (Business ecosystem) ทางธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐศาสตร์ให้กับอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิดของยุคดิจิตอลอีโคโนมี"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,038  วันที่ 26 - 28  มีนาคม  พ.ศ. 2558


http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=270280:2015-03-24-04-45-36&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VRYeblxAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.