Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 CAT ระบุ การฟ้อง DTAC เพราะ ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขสัญญา(ที่ DTAC จะติดอุปกณณ์ที่ไม่ใช้คลื่น CAT) แคทก็จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องเพราะฉะนั้นเมื่อนำส่งสัญญาณไปใช้งาน แคทก็ต้องได้รับผลประโยชน์เช่นกันด้วย เพราะเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นทรัพย์สินของแคท

ประเด็นหลัก





    บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องการทำทุกอย่างให้ถูกต้องและเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแคท เมื่อมีการนำทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานไปใช้งาน ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขสัญญา แคทก็จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องเพราะฉะนั้นเมื่อนำส่งสัญญาณไปใช้งาน แคทก็ต้องได้รับผลประโยชน์เช่นกันด้วย เพราะเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นทรัพย์สินของแคท เนื่องจากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง ดีแทค และแคท เป็นลักษณะ BTO (Built Transfer Operate)





_____________________________________




รักษาการ ซีอีโอ แคท การันตี
ป้องผลประโยชน์ ขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย


    เข้ามารับบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557  ถึงตอนนี้เป็นระยะเวลาเกือบ 8 เดือนที่  พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์  รับภาระหนักไม่ใช่น้อยโดยเฉพาะการขับเคลื่อนองค์กรมีความสามารถแข่งขันกับเอกชน และ สร้างผลกำไร รวมไปถึงการสร้างความชัดเจนเพื่อปลดล็อกคดีความกับคู่สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นต้น
  พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์  อย่างไรก็ตาม  "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันท์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้
 **ข้อพิพาทเรื่องเสาส่งสัญญาณเรียกดีแทคคุยเมื่อไหร่
    กรณีที่ศาลปกครองกรมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้ยุติการนำเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์โทรคมนาคมไปให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆนำไปใช้งาน ภายในเร็ว ๆ นี้ แคทจะทำหนังสือเชิญดีแทคมาหารือประเด็นดังกล่าวร่วมกัน
 ** ดีพีซี และทรูมูฟด้วยหรือเปล่า
    สำหรับ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด  และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้หมดอายุลงไปเมื่อเดือนกันยายน 2556 ซึ่งทั้ง 2 บริษัทอยู่ในช่วงมาตรการเยียวยา ขณะนี้ฝ่ายจัดการกำลังดำเนินการเตรียมสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดรวมไปถึงข้อกฎหมาย ซึ่งต่างจากของดีแทค ซึ่งสัญญาสัมปทานหมดอายุลงในปี 2561 เพราะฉะนั้น บริษัทต้องการสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้
 ** ค่าสูญเสียโอกาส
    กรณีของดีแทคได้นำเสาส่งสัญญาณไปเชื่อมต่อให้กับดีทีเอ็น หรือ (บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด) บริษัทลูกของดีแทค  ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ให้บริการระบบ 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์  (หมายเหตุ: ปัจจุบัน ดีแทค มีสถานีจำนวน 1 หมื่นสถานี) เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณ โดยไม่ขออนุญาตผ่านทางแคท ในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน ซึ่งเรื่องนี้เมื่อศาลปกครองกลางมีคำสั่งออกมาแล้วก็ต้องหาทางเจรจาในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
    นอกจากนี้แล้วแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทกับคู่สัญญาสัมปทาน ดีแทค กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้พิจารณาการระงับข้อพิพาทในเรื่องทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน โดยตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างบมจ. กสท โทรคมนาคม และ ดีแทค  ในสัดส่วน 49 และ 51% เพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องรายได้และเรื่องอื่น ๆ จะดำเนินการ 2 ลักษณะ คือ การระงับข้อพิพาทแบบรายกลุ่ม ดีแทค  จะชำระเงินจำนวนเดียวทั้งหมด และ การระงับข้อพิพาทแบบเฉพาะรายจะกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทไว้โดยเฉพาะ
 **เหตุผลที่ฟ้อง ดีแทค
    บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องการทำทุกอย่างให้ถูกต้องและเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแคท เมื่อมีการนำทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานไปใช้งาน ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขสัญญา แคทก็จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องเพราะฉะนั้นเมื่อนำส่งสัญญาณไปใช้งาน แคทก็ต้องได้รับผลประโยชน์เช่นกันด้วย เพราะเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นทรัพย์สินของแคท เนื่องจากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง ดีแทค และแคท เป็นลักษณะ BTO (Built Transfer Operate)
 **แผนใช้ทรัพยากรร่วมกัน
    แผนการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันของรัฐวิสาหกิจ เห็นควรมีการเจรจากับ บมจ. อสมท เพื่อทบทวนและกำหนดรายละเอียดข้อสัญญา เทคโนโลยีที่จะนามาใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์ และการขอใช้คลื่นความถี่ที่กาลังเจรจาอยู่
 ** รายงานผลงานถึง สคร.หรือยัง
    ล่าสุดที่ประชุมบอร์ดได้รายงานผลการดำเนินการตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 1/2557 ครั้งที่ 2/2558 และครั้งที่ 4/2558 บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือถึง สคร. รายงานความคืบหน้าการดาเนินการตามมติ คนร. เรื่องการลดล่าใช้จ่ายการดำเนินงานปี 2558 รวมทั้งสอบถามความชัดเจนของแนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายว่า การลดค่าใช้จ่าย 10% หรือ 1,895 ล้านบาท ที่ดำเนินการแล้วนั้น สอดคล้องกับเป้าหมายตามมติ คนร. หรือไม่ นอกจากนี้ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติ คนร. ประจำเดือนเมษายน ปี 2558 ตามที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจได้ให้รายงานทุกวันที่ 5 ของเดือน
    ขณะที่งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการบริษัทรับทราบผลการตรวจสอบงบการเงิน บมจ. กสท โทรคมนาคม สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ของ สตง. ผลการสอบทานงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ของคณะกรรมการตรวจสอบ บมจ. กสท โทรคมนาคม และรับทราบฐานะการเงินและผลการดำเนินงานสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (หลัง สตง. ตรวจสอบ) โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บมจ. กสท โทรคมนาคม มีสินทรัพย์รวม 182,735.96 ล้านบาท หนี้สินรวม 148,533.56 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 34,202.40 ล้านบาท กำไรสุทธิสาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 จำนวน 3,639.22 ล้านบาทและ 7,238.34 ล้านบาท ตามลาดับ ทั้งนี้ให้เผยแพร่งบการเงินสำหรับปี 2557 ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2558
 ** งบลงทุนปีนี้
    คณะกรรมการบริษัทเห็นชอบการปรับกรอบวงเงินงบประมาณลงทุนประจำปี 2558 ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ประกอบด้วย วงเงินดาเนินการ 37,704.78 ล้านบาท จากเดิม 41,239.51ล้านบาท ลดลง 3,534.73 ล้านบาทและวงเงินเบิกจ่าย 7,700 ล้านบาท จากเดิม 11,000 ล้านบาท ลดลง 3,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดาเนินการตามมติ คนร. โดยจะนำเสนอกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาและอนุมัติในเรื่องนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,057
 วันที่ 31  พฤษภาคม - 3 มิถุนายน  พ.ศ. 2558



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=279601:2015-05-29-03-25-58&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VW7R_WBAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.