Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กุมภาพันธ์ 2558 IMC.ธนชาติ ระบุ มูลค่าตลาดบิ๊กดาต้าทั่วโลกสูงถึง 16.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โตกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับตลาดเทคโนโลยีอื่น ๆ ยิ่งในตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่นับประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าถึง 1.61 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตกว่า 34.7%

ประเด็นหลัก


"ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์" ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กดาต้า, เรื่อง คลาวด์ และอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ ยังจะเป็นเทรนด์สำคัญในปีนี้ หลังจากปีที่แล้วบริษัทวิจัยไอดีซีประเมินว่า มูลค่าตลาดบิ๊กดาต้าทั่วโลกสูงถึง 16.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โตกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับตลาดเทคโนโลยีอื่น ๆ ยิ่งในตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่นับประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าถึง 1.61 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตกว่า 34.7%

"บิ๊กดาต้าไม่ใช่เป็นแค่เทรนด์เทคโนโลยี แต่ยังเป็นเทรนด์ในเชิงธุรกิจด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการการวิเคราะห์ความต้องการผู้บริโภค ผลสำรวจของไอดีซีเมื่อปีที่แล้ว พบว่า 70% ขององค์กรขนาดใหญ่ มีการซื้อขายข้อมูลจากภายนอกเพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มเป็น 100%"


_____________________________________________________












ธุรกิจตื่นตัวลงทุนไอที พึ่งบิ๊กดาต้าสร้างแต้มต่อ



เทคโนโลยีบิ๊กดาต้า คลาวด์ และอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ เป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นเทรนด์ไอทีเด่นที่มาแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และยิ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น

"ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์" ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กดาต้า, เรื่อง คลาวด์ และอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ ยังจะเป็นเทรนด์สำคัญในปีนี้ หลังจากปีที่แล้วบริษัทวิจัยไอดีซีประเมินว่า มูลค่าตลาดบิ๊กดาต้าทั่วโลกสูงถึง 16.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โตกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับตลาดเทคโนโลยีอื่น ๆ ยิ่งในตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่นับประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าถึง 1.61 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตกว่า 34.7%

"บิ๊กดาต้าไม่ใช่เป็นแค่เทรนด์เทคโนโลยี แต่ยังเป็นเทรนด์ในเชิงธุรกิจด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการการวิเคราะห์ความต้องการผู้บริโภค ผลสำรวจของไอดีซีเมื่อปีที่แล้ว พบว่า 70% ขององค์กรขนาดใหญ่ มีการซื้อขายข้อมูลจากภายนอกเพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มเป็น 100%"

หลายประเทศในเอเชีย เริ่มตื่นตัวกับเทรนด์นี้ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโทรคมนาคม ที่นำข้อมูลบิ๊กดาต้ามาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ยอดขายและความต้องการของลูกค้า

"มูลค่าของบิ๊กดาต้าไม่ได้อยู่ที่ปริมาณข้อมูลที่เก็บ แต่เป็นการนำมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์อนาคตของธุรกิจ อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ บรรดาผู้ประกอบการจะได้เสนอสินค้าได้ตรงความต้องการอย่างทันที อย่างค่ายมือถือก็จะวิเคราะห์ได้ว่า ลูกค้ารายใดมีโอกาสจะย้ายไปใช้บริการของคู่แข่ง เพื่อจะเสนอส่วนลดหรือดำเนินการเพื่อดึงลูกค้าไว้ให้ได้ แม้แต่หน่วยงานรัฐก็จะใช้เพื่อประเมินลักษณะภูมิอากาศ ความปลอดภัยทางสุขภาวะ ฯลฯ"

ดังนั้น เพื่อให้ไทยไม่เสียเปรียบธุรกิจต่างชาติ ในภาวะที่เปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว แต่ละองค์กรจึงต้องเร่งปรับตัว เริ่มตั้งแต่การวางแผนและปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอที การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล คือ ดาต้า, โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีบริษัททั่วโลกราว 20% ที่วางแผนจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านข้อมูลใหม่

"ในอาเซียน ตระหนักถึงความสำคัญของบิ๊กดาต้าแล้ว สิงคโปร์วางแผนจะเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก ในมาเลเซียก็เริ่มการวางแผนจะทำ Big Data Analytics (BDA) โดยวางแผนเป็น 3 เฟสคือ ระยะสั้น 1-2 ปีจะส่งเสริมภาครัฐให้เริ่มใช้บิ๊กดาต้า ระยะกลาง 3-4 ปี เริ่มสร้างบุคลากรที่มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า และระยะยาว5-7 ปี จะต้องทำให้การใช้งานบิ๊กดาต้าแพร่หลายในประเทศ แต่ในไทยยังให้ความสำคัญน้อย มูลค่าตลาดบิ๊กดาต้ามีไม่ถึง 10% ของภูมิภาคหรือไม่ถึง 1,000 ล้านบาท"

เมื่อภาครัฐจะผลักดันดิจิทัลอีโคโนมีก็ต้องผลักดันการใช้บิ๊กดาต้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและภาคธุรกิจด้วย โดย 1.ต้องสร้างความตระหนักในกลุ่มธุรกิจและภาครัฐถึงความสำคัญของบิ๊กดาต้าในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทุกหน่วยงานจะต้องเริ่มวางแผนวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ของภาครัฐและธุรกิจ รวมทั้งเปิดส่วนข้อมูลกลาง (Open Data) ให้เป็นสาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าไปช่วยพัฒนาการใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2.ภาครัฐจะต้องมีการเปิดให้บริการ Big Data as a Services การสร้างบิ๊กดาต้าแพลตฟอร์ม และระบบคลาวด์เพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล และ 3.สร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้ ซึ่งขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทั่วโลก จากที่มีการประเมินว่าเทรนด์บิ๊กดาต้าจะสร้างงานใหม่มากกว่า 4.4 ล้านตำแหน่งทั่วโลก แต่บุคลากรที่พร้อมเข้ามารองรับเพียง 1 ใน 4

"สิ่งที่ไทยทำได้เลยคือการพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ หรือ Data Scientist ให้ใช้ประโยชน์ทางธุรกิจจากบิ๊กดาต้าในรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีและระบบเก็บข้อมูลไม่ได้มีราคาสูง เพียงแต่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และความรู้ทางด้านธุรกิจ ซึ่งไทยควรผลิตให้ได้อย่างน้อยปีละ 100 คน จากปัจจุบันที่คาดว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ไม่ถึง 100 คน จึงจะช่วยพัฒนาธุรกิจไทยรองรับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ไม่ใช่แค่ลงทุนด้านอินฟราสตรักเจอร์อย่างเดียว"

ที่ผ่านมาทางไอเอ็มซีได้อบรมบุคลากรด้านไอทีไปแล้วราว 400-500 คน ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แต่ได้เตรียมขยายหลักสูตรการอบรมจากระยะสั้นให้กลายเป็นหลักสูตร 120 ชั่วโมง เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านบิ๊กดาต้าในการวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1423022837

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.