Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

AIS เดินหน้าเสริมแกร่งประเทศไทยสู่ Digital Intelligent Nation รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จให้ทุกอุตสาหกรรมในยุคเศรษฐกิจ Digital ระดับโลก









1 กุมภาพันธ์ 2562 : AIS ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2019 เดินหน้านำศักยภาพจากเทคโนโลยี Digital Intelligent ในรูปแบบ Platform ที่พร้อมเป็นรากฐานให้เกิด Innovation และ Digitalization แก่ประเทศไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic และ IoT เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเป็นตัวกลางส่งต่อองค์ความรู้ให้พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนและพลิกโฉมจาก Digital ตลอดเวลา ผ่านงานสัมมนา AIS ACADEMY for THAIs Intelligent Nation Series และ AIS Digital Intelligent Nation Showcase ที่นำเสนอเทคโนโลยีสุดล้ำ อาทิ Robotic, รถยนต์ไร้คนขับอุปกรณ์ IoT อัจฉริยะ

คณะผู้บริหาร AIS นำโดย นายกานต์ ตระกูลฮุน  ประธานกรรมการนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายฮุย เว็ง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ ร่วมกันกล่าวถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความพร้อมในการเป็น Digital Platform ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของประเทศ โดย นายกานต์เน้นย้ำว่า “ปีนี้ คือการพลิกโฉมทางอุตสาหกรรมโลกครั้งใหญ่อีกขั้น จากเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic , Data Analytic และ IoT  ซึ่งจะส่งผลกระทบในทุกระดับ 3 ส่วน คือ สร้างรูปแบบใหม่ (Redefine) ของวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง (Disrupt) รูปแบบของระบบเศรษฐกิจและสังคมไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึง สร้างโอกาสใหม่ในการเติบโต (Emerging new opportunities) ทั้งในกลุ่มธุรกิจและระดับประเทศ  ดังนั้นการขับเคลื่อนประเทศด้วย Innovation และ Digitalization ในทุกภาคส่วน จึงยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างไทยแลนด์ 4.0 ที่แข็งแกร่ง หรือ Digital Intelligent Nation และ AIS ในฐานะภาคเอกชนผู้ให้บริการ Digital มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งกับภารกิจนี้” 

โดย นายสมชัย กล่าวว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราได้ขยายบทบาทสู่การเป็น Digital Platform เพื่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดให้ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อผ่าน Digital Platform และทำงานร่วมกันในลักษณะของ Ecosystem ก่อให้เกิดพลังในการขยายขีดความสามารถสร้างสรรค์ Innovation หรือ บริการ Digital ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่น กรณีของการสร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ IoT Ecosystem ผ่าน AIS IoT Alliance Program – AIAP : โครงการความร่วมมือของสมาชิกจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ IoT ซึ่งหลังจากเปิดตัวในปี 61 จนถึงวันนี้ สามารถสร้างสรรค์ IoT Solution และ Business Model ที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการ ได้อย่างครอบคลุมและ ขยายเครือข่ายสมาชิกไปมากกว่า 1,000 ราย (จากจุดเริ่มต้นเพียง 70 ราย)”

AIS จึงยังคงยืนยันวิสัยทัศน์ในการเป็น Digital Platform ภายใต้แนวคิด SHARING DIGITAL ECONOMY PLATFORM-เศรษฐกิจ Digital แบบแบ่งปัน” ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทุกอุตสาหกรรม ในทุกระดับ ซึ่งแน่นอนว่าท้ายที่สุดจะส่งผลให้ประเทศไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมแข่งขันในเวทีโลก”

ด้าน นายฮุย เว็ง ชอง กล่าวยืนยันว่า “เราพัฒนาเครือข่าย Digital อย่างกรณีของ  Mobile ซึ่งมีคลื่นความถี่มากที่สุดถึง 120 MHz (60MHzx2) อย่างไม่หยุดยั้ง ดังเช่นปีนี้ได้เริ่มนำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Wifi6 (802.11ax) มาเริ่มให้บริการในชื่อ AIS Super Wifi+ ที่จะมอบความเร็วได้ถึง 4.8 Gpbs เพิ่มความสามารถในการรองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้มากถึง 8 เท่า ตอบโจทย์การเติบโตของ IoT โดยในส่วนของ Fix Broadband นั้น นอกจากจะขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง ยังเสริมความแข็งแกร่งการบริการ ICT เพื่อองค์กร ที่จะส่งมอบผ่าน CS LoxInfo ในรูปแบบของ One Stop ICT Services อีกด้วย”

“นอกจากนี้ เรายังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง  เพราะแม้ว่าจะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้นขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด ซึ่ง AIS ได้เตรียมเครือข่ายให้พร้อมรับทั้ง 3 ด้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น 4.5G ที่เร็วระดับกิกะบิท ,Massive MIMO 32T 32R ครั้งแรกในโลก , NEXT G ,เครือข่าย NB IoT และ EMTC  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพการตอบสนองของเครือข่าย หรือ Latency ก็ป็นรายแรกที่เริ่มปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค (AIS Core Network Architecture Ready for 5G) ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการตอบสนองได้เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ ตอบโจทย์การใช้งานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางการแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Self Driving Car อย่างมีประสิทธิภาพ”

โดยที่ผ่านมา เราได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งในการศึกษา วิจัย 5เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศ จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และภาคการศึกษา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในเบื้องต้น ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ทันทีในวันที่เทคโนโลยีพร้อม”

ส่วนความพร้อมด้านงานบริการในยุคดิจิทัลนั้น นายฮุย กล่าวว่า “ที่ผ่านมาเราทยอยนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic มาอยู่ในกระบวนการให้บริการลูกค้า โดยปีนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยแนวคิด Unman Service ซึ่งจะเปิดตัวให้ได้สัมผัสอย่างต่อเนื่องตลอดปีนี้”

โดยนายสมชัย กล่าวในตอนท้ายว่า “ในฐานะองค์กรเอกชนไทย นอกจากการสร้างสรรค์ และ พัฒนา Digital Platform แล้ว เรายังให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาบุคลากรของ AIS ให้พร้อมในทุกมิติผ่าน AIS Academy ซึ่งพร้อมจะช่วยเสริมองค์ความรู้คนไทยให้ตื่นรู้และตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกยุค Digital ด้วยเช่นกัน ครั้งนี้จึงจัดสัมมนา “AIS ACADEMY for THAIs Intelligent Nation Series” ขึ้นอีกครั้ง  โดยเชิญสุดยอดวิทยากรชั้นนำระดับโลกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และตั้งใจให้เวทีนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือที่ภาคส่วนต่างๆ ได้มาแลกเปลี่ยนความคิด ทักษะ และศักยภาพที่แต่ละองค์กรมีอยู่ เพื่อร่วมสนับสนุนให้เกิด Ecosystem ในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการต่างๆ กระจายออกสู่สังคมไทยในวงกว้าง  โดย AIS จะเป็นอีกหนึ่งตัวกลางที่พร้อมส่งเสริมในด้านเทคโนโลยี บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการ Transform องคก์กร เพื่อสร้างความแข็งแรงและเสริมศักยภาพให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างเท่าเทียมต่อไป”




“นอกจากการเตรียมพร้อมด้านองค์ความรู้แล้ว การรู้เท่าทันเทคโนโลยีก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ Digital นั้นแม้ว่าจะมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้นความตั้งใจสูงสุดของ AIS ในฐานะผู้ให้บริการ Digital จึงขออาสาทำหน้าที่ Network Educator ด้วยการส่งต่อแบบชี้วัดความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ DQ – Digital Intelligence Quotient ไปสู่เยาวชน รวมถึงพัฒนา Network Protector ที่จะช่วยทั้งป้องกัน ปลูกจิตสำนึก สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อปลูกฝังและพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้เยาวชนพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ประเทศไทย พร้อมต่อการใช้เทคโนโลยี Digital มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์และยั่งยืนต่อไป”
นิทรรศการเทคโนโลยี งาน AIS Digital Intelligent Nation 2019

จัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลหลากหลายรูปแบบ ที่จะช่วยเปิดมุมมองความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อให้ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และคนไทยทุกคน พร้อมรับมือกับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 โซนจัดแสดง ดังนี้

I. NETWORK AND INNOVATION
A. NEXT G

NEXT G available on iOS & Andriod
WiFi 6 (WiFi 802.11ax)
B. 5G x Nokia

                                     

5G Ultra Low Latency Cooperative Cloud
5G Collaborative Car Factory demo
5G Rubik AR
5G FIFA Virtual Reality
C. 5G x Chula
5G Innovation Lab
Video Analytics for Smart school
Robot Mini Cargo
Smart Stadium
Smart Pole
Robot  - Physical therapy
D. 5G x PSU
5G Autonomous Car Lab
E. Robot
Lisa
Huco
Alex
IRB-120
F. ETC
Smart Glass
Cloud VR Go Kart
II. CORPORATE AND IoT ZONE
A. Smart Airport
B. Smart Community
C. Smart Living
D. Smart Wellness
E. AIAP-IoT Community for Thais
III. E-SPORTS ZONE
A. Live Tournament Show
The Best Network for Gaming Experience
B. Game
PUBG
C. AIS Product and Service
Fibre
ZEED
Device
IV. Cyber Wellness and Online Safety Zone
A. Network Education
DQ Intelligence
B. Network Protector
AIS Secure Net
E-Waste
               

I. NETWORK AND INNOVATION
A. NEXT G
·        NEXT G available on iOS & Andriod จัดแสดงศักยภาพเครือข่าย AIS NEXT G เร็วสุด แรงสุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ควบรวมสุดยอดเทคโนโลยีมือถือ AIS 4G ADVANCED และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง AIS SUPER WiFi ทำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งาน Speed ที่เร็วขึ้นบนความเร็วสูงสุด 1 Gbps ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบปฎิบัติการ IOS และ Android
·        WiFi 6 (WiFi 802.11ax) Wi-Fi 6 คือ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ที่กำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็น Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เสถียรกว่า และประหยัดพลังงานกว่า มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ได้ โดย AIS ได้นำระบบ Wi-Fi 6 มาให้สัมผัสเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุดเด่นของ WiFi 6
1. เพิ่มความเร็วในการใช้งานสูงสุดจาก 650 Mbps (Wi-Fi 5) ไปเป็น 4.8 Gbps (Wi-Fi 6)
2. ช่วยบริหารจัดการความถี่ได้ดีขึ้น ทั้งย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz สำหรับอุปกรณ์ปัจจุบัน และ IoT
3. เพิ่มความเสถียรในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น เช่น ในห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา หรือ   คอนเสิร์ตฮอลล์
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ทำให้ประหยัดแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
ทั้งนี้  AIS จะเปิดให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณ์ Wi-Fi 6 ที่ AIS DC ภายในปี 2019  โดยอุปกรณ์ทั่วไปในท้องตลาดจะเริ่มรองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6 ในปี 2020

B. 5G x Nokia
พบกับโชว์เคส 5G สุดเจ๋ง ที่เอไอเอสผนึกกำลังกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก Nokia ทดสอบศักยภาพเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคธุรกิจและทุกอุตสาหกรรมเห็นภาพของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาก 5G และเกิดแรงบันดาลใจในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีอนาคตที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้
·        5G Ultra Low Latency Cooperative Cloud Robots
การสาธิตความหน่วงของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สองตัวในการหาจุดสมดุลที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลาง การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G


·        5G Collaborative Car Factory
การสาธิตการตอบสนองที่แตกต่างของระดับความหน่วงหลายระดับต่างๆ  เนื่องจาก 5G มีค่าความหน่วงที่ต่ำกว่า จึงตอบสนองได้รวดเร็วกว่า โดยการสาธิตผ่าน VR Car Factory demo ที่ผู้เล่นสามารถลองประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์เสมือนอยู่ในโรงงานจริงๆ แบบ Real Time

·        5G AR Digital Rubik's Cube
แสดงการตอบสนองของเกมส์รูบิค ผ่านเครือข่าย5G เพื่อแสดงการตอบสนองที่เร็วกว่า โดยผู้เล่นสามารถหมุนโมเดล Rubik จำลอง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านและแสดงบนโมเดล Rubik บนจอแบบ Real Time
·        5G VR Football Penalty Kick Game
การสาธิตความหน่วงของเครือข่าย 5G โดยเกมส์การเตะลูกโทษฟุตบอล ระหว่างผู้เล่นที่เป็นนักเตะกับผู้รักษาประตูเสมือนจริงในเกมส์ เทียบระหว่างการเตะบนเครือข่าย 4G และ5G เพื่อแสดงการตอบสนองที่แตกต่าง เนื่องจาก 5G มีค่า Latency ที่ต่ำกว่า จึงตอบสนองได้รวดเร็วกว่า ทำให้โอกาสในการทำประตูบนเครือข่าย 5G เป็นไปได้มากกว่า

C. 5G x Chula
จัดแสดงโชว์เคสนวัตกรรม 5G ที่เกิดจากการร่วมมือในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G  (MOU) ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเอไอเอส ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีระบบ 5G ของประเทศ
·        5G Garage Innovation Lab
ศูนย์การเรียนรู้เรื่อง 5G แห่งแรกในไทย ด้วยความร่วมมือระหว่างคณาจารย์, นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเอไอเอส เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ 5G ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมจากเทคโนโลยี 5G
·        Video Analytics for Smart school
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าที่พัฒนาโดยทีมงานเอไอเอส เพื่อเป็นก้าวแรกของการนำไปสู่ Smart School โดยนำมาทดสอบใช้ที่โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยบันทึกการเข้าออกโรงเรียนของนักเรียนให้แม่นยำมากขึ้น และตรวจสอบการเข้า-ออกของบุคคลในบริเวณโรงเรียน เป็นการยกระดับการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ไปอีกขั้นหนึ่ง
·        Robot Mini Cargo
หุ่นยนต์อัจฉริยะที่ทำงานผ่านระบบ 5G สามารถมาช่วยให้การเดินเอกสาร, ส่งของต่างๆ ในอาคาร เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ตามตำแหน่งเป้าหมายที่ระบุ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้โดยอัตโนมัติ และการเคลื่อนที่กลับมาตำแหน่งชาร์จพลังงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Mini Cargo ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
·        Smart Stadium
                สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะใช้เทคโนโลยี 5G และอุปกรณ์ Internet of Things เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการพลังงานภายในสนามเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานสูงสุด
·        Smart Pole
เสาอัจฉริยะที่รวบรวมอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ไว้ภายในต้นเดียว ไม่ว่าจะเป็น IoT Environment Sensor ที่ใช้วัดอุณหภูมิและคุณภาพอากาศในพื้นที่โดยรอบ พร้อมทั้งแสดงผลในทันทีด้วย Digital display โดยใช้พลังงานสะอาดจากแผง Solar cell ที่ติดอยู่ด้านบนของเสา นอกจากนี้ยังมี ระบบ Video CCTV เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเท้า และเป็นที่ปล่อยสัญญาณ WiFi ให้ผู้ใช้งานโดยรอบได้อีกด้วย
·        หุ่นยนต์กายภาพอัจฉริยะ     
หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยทำกายภาพภาพฟื้นฟูบริเวณกล้ามเนื้อในจุดที่อ่อนแรง ให้กับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ และอัมพาต  โดยมีกลไกการเคลื่อนที่แบบ 4 องศาอิสระ ทำให้ช่วงการทำงานของข้อต่อมีการเคลื่อนที่สอดคล้องคล้ายกับแขนมนุษย์ จึงช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกการใช้งานแขนซ้ำๆ ได้เป็นจำนวนครั้งที่มากกว่า มีเกมที่ช่วยดึงดูดการออกกำลัง ซึ่งทักษะการใช้งานจะแปรผันตามจำนวนครั้งที่ฝึก พร้อมจัดเก็บข้อมูลไว้บนระบบ Cloud ทำให้แพทย์สามารถดึงข้อมูลการทำกายภาพของคนไข้มาวินิจฉัยได้แบบ Real Time เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งในอนาคตจะเข้ามาทดแทนปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์

 D. 5G x PSU
5G Autonomous Car Lab
รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car) ที่ได้มีการศึกษาและทดลองอย่างจริงจังร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเอไอเอส โดยรถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัยผ่านการใช้งานบนระบบโครงข่ายของเอไอเอส ให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่, สื่อสารกับ Smart pole, หยุดเมื่อเจอ  สิ่งกีดขวาง และพาตัวเองไปชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง โดยคาดว่าการทดลองและวิจัยดังกล่าวจะสามารถพัฒนานำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับประเทศในอนาคต

E. Robot
       ตื่นตาไปกับทีม AIS ROBOT หุ่นยนต์สมองกล ที่จะมาโชว์ขีดความสามารถการทำงานเป็นผู้ช่วยมนุษย์ได้อย่างน่าทึ่ง
·        Lisa   
            หุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถนำทางไปยังพิกัดได้อย่างแม่นยำ สามารถจดจำใบหน้าได้ ซึ่งในงานนี้ AIS ได้พัฒนาขีดความสามารถให้หุ่นยนต์ Lisa ทำหน้าที่เสมือนไกด์พาผู้เข้าชมงานเดินเยี่ยมชมบูธ โดยผู้เข้าชมงานสามารถกดเลือกบูธที่สนใจ จาก Directory ที่จัดแสดงบนหน้าจอหุ่นยนต์ได้
·        Huco 
            หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะที่มาพร้อมความสามารถในการตักป๊อปคอร์นอย่างคล่องแคล่ว หลังได้รับคำสั่งการหุ่นยนต์ด้วยกัน (Alex) โดยหุ่นยนต์ Huco เป็นหุ่นยนต์ Cobot (collaborative Robot) นวัตกรรมแบบสองแขนกล ถูกพัฒนาให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มีความสามารถในการรับรู้ สามารถหยิบจับสิ่งของหรือชิ้นงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ รวมถึงถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ โดยเน้นถึงความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน
·        Alex  
            นวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถจดจำใบหน้า โต้ตอบ สนทนากับลูกค้า พร้อมให้ข้อมูลสินค้าและบริการกับลูกค้าได้ ซึ่งในปัจจุบัน หุ่นยนต์ Alex ได้เข้ามาทำงานร่วมกับพนักงานใน  AIS SHOP ในสาขาต่างๆ แล้ว เพื่อช่วยยกระดับการให้บริการและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลให้ลูกค้า
·        IRB-120
                จัดแสดงขีดความสามารถของหุ่นยนต์แขนกลที่สามารถควบคุมการทำงานระยะไกลผ่านเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้นและไม่จำเป็นต้องลงไปในพื้นที่เสี่ยง โดยในครั้งนี้เป็นการสาธิตผ่านการเล่นเกมหยิบกล่องนำโชค โดยผู้เล่นจะสวมแว่น VR และใช้ Joy ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เพื่อหยิบกล่องนำโชค ลุ้นรับของรางวัล


F. อื่นๆ
·        Smart Glass
                แว่นตาอัจฉริยะ ที่สามารถจดจำข้อมูลที่บันทึกไว้ในพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลบน Cloud ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า, ทะเบียนรถ แว่นตาสามารถแจ้งได้ทันทีเมื่อเจอใบหน้าหรือทะเบียนรถที่บันทึกข้อมูลไว้ในระบบ ในประเทศจีนมีการใช้แว่นตาอัจฉริยะดังกล่าวเพื่อระบุใบหน้าหรือทะเบียนรถที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกับประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบทะเบียนรถปลอม
·        Cloud VR Go Kart
                การจัดแสดงศักยภาพของ 5G ที่สามารถนำมาใช้กับ Cloud VR ทำให้เกิดมิติใหม่ของการเล่นเกม MX (Mixed Virtual  Reality) ที่ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์การขับรถ Go Kart บนโลกเสมือนจริง สามารถจัดแสดงขึ้นจอแสดงผลอย่าง Real Time โดยไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลใดๆ เนื่องจากศักยภาพของ 5G บนพื้นที่ Cloud  ทำให้เล่นเกมสนุกตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น

II. CORPORATE AND IoT ZONE
A. Smart Airport
                โชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาใช้ยกระดับการให้บริการของสนามบินได้จริงแล้ว เพื่อก้าวสู่การเป็นสนามบินอัจฉริยะ อาทิ
·        VDO Analysis Solution
             ยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในสนามบินด้วยระบบ Facial Recognition แจ้งเตือนทันทีเมื่อตรวจพบบุคคลต้องสงสัย และระบบ Unattended Object Detection ตรวจสอบวัตถุต่างๆ ในสนามบินและแจ้งเตือนเมื่อพบสิ่งผิดปกติ
·        Utapao Mobile App
แอปพลิเคชันสำหรับผู้เดินทางผ่านสนามบินอู่ตะเภา โดยจะแสดงข้อมูลด้านการบินและสนามบินแบบครบครันในแอปฯ เดียว เช่น Flight Info เมนูแสดงข้อมูลตารางการบินทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินต่างประเทศ, My Flight เมนูที่แสดงข้อมูลการบินของผู้โดยสาร พร้อมแสดงการแจ้งเตือนเวลาที่เหลือก่อน Boarding และจะเปลี่ยนสีที่แสดงในกรณี Final Call พร้อมแสดงแถบข้อความ Tap here for free Wifi@U-Tapao เมื่อคลิกที่แถบจะเปิด Pop up ให้เชื่อมต่อ Wifi เป็นต้น

B. Smart Community
                นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน อาทิ
·        Intelligent farm (iFarm)
ระบบฟาร์มอัจฉริยะ ที่ผสานเทคโนโลยีของ AIS กับความรู้ของเกษตรกรที่เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยในการควบคุมดูแลกระบวนการเพาะปลูกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบมีฟังก์ชันสนับสนุน เช่น ระบบสั่งงานเปิด-ปิด อุปกรณ์ระยะไกล, ระบบวัดสภาพแวดล้อมเพาะปลูก, ระบบการเก็บข้อมูลและแสดงผลเพื่อนำมาวิเคราะห์ และปรับปรุงกระบวนเพาะปลูก เป็นต้น ควบคุมง่ายบนมือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
·        Vending Machine
ตู้จำหน่ายสินค้าผลผลิตจากการเกษตรอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรรูปแบบใหม่ที่สะดวกและประหยัดพื้นที่ โดยการนำเทคโนโลยี IoT มาบริหารจัดการตู้ ตั้งแต่ดูจำนวนสต๊อกสินค้า ตรวจสอบปัญหาการใช้งาน ตลอดจนรายงานการขายสินค้า ได้แบบ Real-time ทั้งนี้ ยังเชื่อมต่อกับ gateway เพื่อเพิ่มช่องทางและอำนวยความสะดวกในการชำระเงิน
·        Washing Machine
นำนวัตกรรม IoT มาติดตั้งในเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล ผ่าน IoT Platform เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถตรวจสอบสถานะการทำงาน ปริมาณเหรียญในเครื่องและจัดเก็บเหรียญได้ในเวลาที่เหมาะสม และสามารถเชื่อมต่อกับ mobile wallet gateway เพื่อเพิ่มช่องทางและอำนวยความสะดวกในการการชำระเงิน
               
C. Smart Living
                โชว์นวัตกรรมโซลูชันที่คิดค้นมาเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตในการอยู่อาศัยภายในบ้านที่ดียิ่งกว่า อาทิ
·        Home automation & Home security
ควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้านได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยดูแลคนในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·        Smart Hygienic
โซลูชันที่จะช่วยดูแลคุณภาพอากาศภายในบ้านให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับทุกคนในครอบครัว พร้อมควบคุมการระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
·        Family care (Human Tracking)
ทำงานบนนวัตกรรมเครือข่าย AIS NB-IoT แสดงตำแหน่งของสมาชิกในครอบครัวบนแอปฯ มือถือ เพื่อช่วยดูแลบุตรหลานของท่านไม่ให้คลาดสายตา พร้อมปุ่ม SOS ที่ใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นต้น

D. Smart Wellness
                โชว์นวัตกรรมเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนยุคดิจิทัล อาทิ
·        Vital Sign
อุปกรณ์ที่ช่วยตรวจสอบค่าต่างๆ ทางการแพทย์ได้จากที่บ้าน และส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตวจสอบได้ตลอดเวลา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความดัน ค่าน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
·        Fall Detection
นวัตกรรมการตรวจจับการล้มด้วยกล้องและระบบอัจฉริยะ ที่มาพร้อมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลได้แบบเรียลไทม์
·        Samitivej Mobile Health
เปลี่ยนบริการด้านสุขภาพด้วยนวัตกรรมผ่านมือถือ ตอบโจทย์ผู้รับบริการทั้งผู้ป่วยและญาติ เช่น แอปพลิเคชัน Samitivej Plus, OR Tracking System (Samitivej PACE) ระบบติดตามสถานะการผ่าตัดผ่านโทรศัพท์มือถือ, IPD Tracking System รู้ขั้นตอนการรักษาและวางแผนการรับบริการผู้ป่วยในแบบ on demand และ Line @samitivej ที่มี Chat Bot คอยตอบคำถามสุขภาพ
·        Smart Pharmacy
นวัตกรรมของการรับ-จ่ายยาผ่านตู้จ่ายยาอัจฉริยะ ซึ่งสามารถระบุตัวตนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย พร้อมระบบแนะนำการใช้ยาโดยเภสัชกรวิชาชีพแบบออนไลน์

               
E. AIAP-IoT Community for Thais
                พบกับโชว์เคสจากโครงการ AIS IoT Alliance Program ที่เอไอเอสจัดขึ้นเพื่อสร้าง IoT Ecosystem ในการผลักดันให้เกิดการใช้งาน IoT Technology และเตรียมพร้อมให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล อาทิ
·        Venus supply
บริษัทตัวเเทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ นำเข้าสินค้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บอร์ดทดลองหลากหลายแบรนด์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ภายในประเทศ พร้อมให้บริการคอร์สอบรมด้าน Embedded System ที่ครบวงจรทั้งเรื่อง Internet of Things ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และคอร์สอื่นๆ อีกมากมาย
·        Maker Asia
บริษัทให้บริการฝึกอบรมความรู้ด้าน Electronic , Embedded system & IoT เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเมกเกอร์ รวมถึงเป็นผู้ให้บริการ Solution provider ตั้งแต่ Hardware จนถึง Cloud ในการให้บริการด้าน IoT ต่างๆ
·        Smartsense Industrial Design
บริษัทที่เน้นออกแบบ วิจัยและพัฒนา IoT Solutions ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมและโรงงานที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึงการดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยในโรงงาน ด้วยเทคโนโลยี IoT และ Data Science
·        Jarton
ผู้ผลิตและส่งออกอุปกรณ์ดิจิตอล และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ครบวงจร ภายใต้แบรนด์ "JARTON" โดยใช้ระบบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดจากทั่วโลกทั้งอิตาลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น บริษัทให้บริการสินค้ารองรับลูกค้าทุกกลุ่มทั้งเจ้าของร้าน เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา วิศวกร สถาปนิก ทั้งในประเทศไทย และอีกกว่า 17 ประเทศทั่วโลก
·        Cirbox
บริษัทผู้นำธุรกิจด้านเครื่องหยอดเหรียญและเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่นำแพลตฟอร์ม IoT มาเชื่อมต่อกับระบบ VMS (Vending Management Systems) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจให้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น และยังมีการพัฒนานวัตกรรมการชำระสินค้าจากระบบหยอดเหรียญ ให้กลายเป็น Online Payment เพื่อเพิ่มความสะดวก และรวดเร็วในการให้บริการ โดยในงานมีการนำเครื่องจำหน่ายกาแฟอัติโนมัติมาแสดง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการใช้งานเทคโนโลยีด้าน IoT ได้อย่างแท้จริง
·        Agcura
บริษัทภายใต้ SCG Brand ซึ่งคิดค้นและนำเอาเทคโนโลยีด้าน Sensor เข้ามาผสมผสานกับความรู้ทางด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรไทยสามารถทำการเกษตรได้แม่นยำสูง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต และช่วยประหยัดต้นทุน ซึ่งเกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแลจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
·        Progressive Solution
หนึ่งในบริษัทกลุ่ม Startup ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมสภาพอากาศในฟาร์มปศุสัตว์แบบเปิด โดยใช้ระบบ IoT ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดค่าไฟฟ้าในฟาร์มของเกษตรกรได้มากกว่า 40%
·        Logisense
บริษัทผู้ให้บริการ IoT สำหรับงาน Logistic ที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน เหมาะกับการใช้งานในโรงงาน หรือ คลังสินค้าต่างๆ

III. E-SPORTS ZONE
                โชว์ศักยภาพของเครือข่ายที่ดีที่สุด (The Best Network) ที่ทำให้เกิดประสบการณ์เล่นเกมที่ดีที่สุด ด้วยการสร้าง Ecosystem ที่ผสานความร่วมมือของหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน เช่น Game Publisher, Product และ Service ของ AIS ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคุณภาพ, Device เพื่อการเล่นเกมที่ดีที่สุด หรือซิมที่ตอบรับ Lifestyle วัยทีน และการจัด Tournament ให้ผู้เล่นได้ปลดปล่อยและพัฒนาศักยภาพเพื่อก้าวสู่การเป็นเกมเมอร์อาชีพในอนาคต

A. LIVE Tournament: The Best Network for gaming experience
                โชว์การแข่งขันเกมกันแบบสดๆ กับเกมยอดฮิตอย่าง PUBG PC , PUBG Mobile และ Dota2 บนเครือข่ายที่ดีที่สุด AIS NEXT G และ AIS Fibre พร้อมชมแมตช์การแข่งขันนัดพิเศษจากศิลปินและแชมป์ E-Sports ตัวจริง
·        โชว์แมตช์ PubG Mobile ระหว่าง SBFive และแชมป์ PubG Mobile : RRQ
·        Champ Dota2: Questionmark by Hashtag จาก AIS Thailand PVP esports Championship
·        Caster ชื่อดัง

B. Game: PUBG
                จัดแสดงโชว์เคสจาก Game Publisher โดย AIS ร่วมเป็นเอ็กซ์คลูซีฟ พาร์ทเนอร์ กับ PUBG Mobile ในการจัดทัวร์นาเม้นท์การแข่งขันตลอดปี 2019 และมีไอเทมพิเศษในเกมส์ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเล่นเกมของเหล่าเกมเมอร์

C. AIS Product and Service
·        Fibre: The Best Experience Boardband Network for Home & Family
โชว์แนวคิดการออกแบบแพ็กเกจพิเศษจาก AIS Fibre เพื่อคอเกมเมอร์โดยเฉพาะ ซึ่งใช้งานสปีดอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างจากสปีดอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยแสดงการจำลองการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ตที่มีการแยกท่อรองรับการใช้งาน ทั้งในส่วนของการใช้งานทั่วไป เช่น ดูหนัง เล่นเน็ต ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ เปรียบเทียบกับการใช้อินเทอร์เน็ตในการเล่นเกมส์ เพื่อให้เห็นศักยภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่พร้อมรองรับการใช้งานในทุกรูปแบบอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่สะดุด ไม่กระตุก อีกต่อไป
·        ZEED: The Best Experience on Mobile for Teen Life
พบกับ AIS ZEED ซิมมือถือพร้อมแพ็กเกจที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ในด้านดิจิทัลของวัยรุ่นยุคปัจจุบัน และสนับสนุนวัยรุ่นไทยให้เข้าถึงประสบการณ์ด้าน E-Sports ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
-       AIS ZEED: Brand Conceptual Installation นำเสนอ DNA ที่จะเป็นแบรนด์ในการเติมเต็มประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนโลกดิจิทัลให้กับวัยรุ่น ด้วยการสร้าง Game Culture ผ่านมือถือ
-          AIS ZEED: Product Demonstration นำเสนอการเล่นเกม PUBG Mobile บนมือถือ ซึ่งจะช่วยให้วัยรุ่นไทยสามารถเข้าถึงประสบการณ์ E-Sports ได้แพร่หลายมากขึ้น พร้อมสนุกได้มากขึ้น กับแพ็กเกจ AIS ZEED ที่จะพร้อมให้เล่นเกมได้ไม่อั้น ไม่เสียค่าเน็ต รวมถึงมอบความบันเทิงต่างๆ ให้วัยรุ่นได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการ ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นโซเชียลฟรีไม่เสียค่าเน็ตอีกด้วย
·        Device: The Best gaming phone
สัมผัสมือถือที่รองรับการเล่นเกมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพบนเครือข่ายที่ดีที่สุด เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะ AIS เท่านั้น พร้อมให้เหล่าเกมเมอร์ ได้สนุกกับการเล่นเกมบนมือถือที่ลื่นไหล ไม่มีสะดุด อาทิ ASUS ROG PHONE , Razer Phone 2

IV. Cyber Wellness and Online Safety Zone
A.      Network Educator
·        DQ Intelligence
                เตรียมความพร้อมและสร้างรากฐานในการใช้อินเทอร์เน็ตตั้งแต่เด็กด้วยชุดการเรียนรู้ 360 องศา “DQ Intelligence” ภายใต้ความร่วมมือของ AIS และ DQ Institute รวบรวมสาระสำคัญ เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดด้านดิจิทัลให้กับเด็กๆ วัย 8-12 ปี ใน 8 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์ (Digital Citizen Identity), ยับยั้งชั่งใจ (Screen Time Management), เมื่อถูกรังแกออนไลน์ (Cyberbullying Management), ใจเขา-ใจเรา (Digital Empathy), ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย (Cyber Security Management), คิดเป็น (Critical Thinking), รู้ถึงผลที่จะตามมา (Digital Footprints) และ รู้สิทธิและความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) พัฒนาโดยทีมงานนักวิชาการจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความเชื่อถือและถูกนำไปใช้สอนเยาวชนในประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศทั่วโลก และนี่คือการเปลี่ยนแปลงใหม่ เพราะการมี IQ และ EQ คงไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เด็กจะต้องมี DQ เพื่อพร้อมรับมือกับยุคดิจิทัลอย่างชาญฉลาด

B. Network Protector
·        AIS Secure Net
ระบบช่วยกรองการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้ามาตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้มีความมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นใดๆ ช่วยกรอง URL หรือ Website ที่ไม่เหมาะสม (Web Filtering) รวมถึงป้องกันไวรัสและมัลแวร์จากการใช้งาน URL หรือแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย พร้อมระบบแจ้งเตือนและบล็อกเมื่อระบบพบว่าลูกค้ากำลังกดใช้งาน URL หรือ website ดังกล่าว โดยระบบจะส่งรีพอร์สของลิงค์หรือ URL ที่ถูกบล็อกแสดงแก่ลูกค้าเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน  เพื่อให้ลูกค้าสามารถ customized การกรองเว็บไซต์ได้เองในอนาคต นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุตรหลานได้ โดยการผูกความสัมพันธ์ด้วยเบอร์ (MSISDN) เพื่อกำหนดปริมาณและช่วงเวลาการใช้งานได้
·        E-Waste
                AIS ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาด้านชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว เราจึงสร้างองค์ความรู้และรวบรวม E-Waste ร่วมกับพันธมิตร เพื่อนำเข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีและยั่งยืน โดยพัฒนา E-Waste Smart Bin ถังขยะอัจฉริยะที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoT ให้สามารถจำแนกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะธรรมดาได้ พร้อมส่งข้อมูลจำนวนขยะอิเล็คทรอนิคส์ที่รวบรวมได้ขึ้นเว็บไซต์ www.ewastethailand.com ผ่าน cloud network และคำนวณค่า CO2 ที่ลดลงได้จากขยะอิเล็คทรอนิคส์ที่เข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของทุกคนและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในประเทศไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.