Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มิถุนายน 2557 กสทช.ประวิทย์ เตือน!! SMS ทายผลบอลหรือการพนัน ข่ายผิดกฎหมายด้วย ถึงแม้จะเป็นการทายผลเพื่อชิงรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ก็ถือเป็นการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่ง


ประเด็นหลัก


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ เช่น ฟุตบอลโลก มักปรากฏว่ามีการเล่นพนันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งมีการใช้สื่อ อย่างเช่นโทรทัศน์ โทรทัศน์ดาวเทียม วิทยุ เป็นเครื่องมือเชิญชวนด้วยรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น การโฆษณา หรือชี้ช่องทางการเล่น หรือให้ข้อมูลเพื่อการเล่นพนันโดยเฉพาะ ซึ่งกระตุ้นให้คนเล่นพนันบอลมากขึ้น หรือแม้แต่บางครั้งกลายเป็นช่องทางเปิดให้เล่นพนันบอลเสียเอง โดยเฉพาะในรูปแบบของการให้ทายผลการแข่งขันฟุตบอลว่าใครแพ้-ใครชนะ ด้วยการส่ง SMS ซึ่งความจริงแล้ว ตามกฎหมายของไทย คือ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 บัญญัติไว้ว่าเข้าข่ายเป็นการพนัน

“หลายคนไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่าการให้ผู้ชมส่ง SMS ทายผล ก็เข้าข่ายผิดกฎหมายด้วย ถึงแม้จะเป็นการทายผลเพื่อชิงรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ก็ถือเป็นการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่ง ซึ่งตามกฎหมายไม่ได้ห้ามการเสี่ยงโชคทั่วไป แต่ห้ามไม่ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์แฝงเร้น ดังนั้นถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้จัดรายการและค่ายมือถือที่ให้บริการส่ง SMS มีการรับผลประโยชน์จากการทายผลที่เกินกว่าปกติ เช่นโทรทัศน์บางรายการให้ผู้ชมส่ง SMS ร่วมสนุกในอัตราค่าบริการที่แพงกว่าปกติ ก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม” กสทช.ประวิทย์ กล่าว


______________________________________


กสทช. กระตุ้นสื่อปลอดพนันบอลไม่ส่งเสริมทั้งทางตรงทางอ้อม



กสทช.กังวลคนเล่นพนันเพิ่มในช่วงเทศกาลบอลโลก ร่วมกับ มสช.ออกมากระตุ้น ความตื่นตัวของสื่อและสังคมที่จะไม่ทำหน้าที่ส่งเสริมการพนัน ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เตือน! การจัดทายผลผ่าน sms ชี้เข้าข่ายผิด ก.ม.เช่นกัน...



งานเสวนา “ฟุตบอลโลก: เกมหรือการพนัน กับบทบาทอันท้าทายของสื่อ”

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้ร่วมกันประสานความร่วมมือกับโครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดผลกระทบจากการพนัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ หรือ มสช. กำหนดจัดงานเสวนา “ฟุตบอลโลก: เกมหรือการพนัน กับบทบาทอันท้าทายของสื่อ” ขึ้นในวันที่ 18 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ เพื่อให้สื่อได้ทบทวนและวางบทบาทอย่างถูกต้องเหมาะสมในการนำเสนอข่าวฟุตบอลโลก รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้มีลักษณะ “ปลอดพนัน” ในช่วงเทศกาลบอลโลก 2014 ระหว่างวันที่ 12 มิ.ย.-13 ก.ค. นี้ เนื่องจากหลายฝ่ายคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดจากการเล่นพนันบอลมากขึ้น



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ เช่น ฟุตบอลโลก มักปรากฏว่ามีการเล่นพนันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งมีการใช้สื่อ อย่างเช่นโทรทัศน์ โทรทัศน์ดาวเทียม วิทยุ เป็นเครื่องมือเชิญชวนด้วยรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น การโฆษณา หรือชี้ช่องทางการเล่น หรือให้ข้อมูลเพื่อการเล่นพนันโดยเฉพาะ ซึ่งกระตุ้นให้คนเล่นพนันบอลมากขึ้น หรือแม้แต่บางครั้งกลายเป็นช่องทางเปิดให้เล่นพนันบอลเสียเอง โดยเฉพาะในรูปแบบของการให้ทายผลการแข่งขันฟุตบอลว่าใครแพ้-ใครชนะ ด้วยการส่ง SMS ซึ่งความจริงแล้ว ตามกฎหมายของไทย คือ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 บัญญัติไว้ว่าเข้าข่ายเป็นการพนัน

“หลายคนไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่าการให้ผู้ชมส่ง SMS ทายผล ก็เข้าข่ายผิดกฎหมายด้วย ถึงแม้จะเป็นการทายผลเพื่อชิงรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ก็ถือเป็นการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่ง ซึ่งตามกฎหมายไม่ได้ห้ามการเสี่ยงโชคทั่วไป แต่ห้ามไม่ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์แฝงเร้น ดังนั้นถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้จัดรายการและค่ายมือถือที่ให้บริการส่ง SMS มีการรับผลประโยชน์จากการทายผลที่เกินกว่าปกติ เช่นโทรทัศน์บางรายการให้ผู้ชมส่ง SMS ร่วมสนุกในอัตราค่าบริการที่แพงกว่าปกติ ก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม” กสทช.ประวิทย์ กล่าว


กสทช.กังวลคนเล่นพนันเพิ่มในช่วงเทศกาลบอลโลก

นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ในฐานะที่ กสทช. มีหน้าที่กำกับดูแลสื่อ ทั้งด้านวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม จึงเห็นว่าควรที่จะต้องสร้างความเข้าใจในแง่มุมดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะเดียวกันก็ต้องป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิดที่เกิดจากเจตนาด้วย ดังนั้นการจัดการพูดคุยให้ผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ทำความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ของการพนันจึงมีความจำเป็น พร้อมกันนั้น ในอีกทางหนึ่งก็ได้ทำหนังสือภายในถึงสำนักงานให้มีหนังสือไปยังผู้รับใบอนุญาตต่างๆ ของ กสทช. ทั้งฝั่งกิจการโทรคมนาคม และฝั่งกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าการพนันเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หากสื่อดำเนินการเองหรือมีบทบาทในทางส่งเสริมก็เข้าข่ายทำผิดกฎหมายเช่นกัน


นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์

ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ขณะนี้ โครงสร้างสื่อมีการหลอมรวมกันมากขึ้น ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อใหม่ ทำให้มีการนำเสนอด้วยรูปแบบที่หลากหลาย การเติบโตของโทรทัศน์ดาวเทียมที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมทายผลบอล ก็มีส่วนกระตุ้นให้มีการเล่นพนันบอลกันมากขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ทั้งโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้รวดเร็ว จึงเป็นการกระตุ้นและทำให้เข้าถึงการเล่นพนันบอลเป็นไปอย่างง่ายดาย แนวทางการทำงานของ กสทช. นอกจากต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ก็ต้องทำงานเชิงรุก เช่น ขอความร่วมมือไปยังเครือข่ายภาคประชาชนให้ช่วยกันสอดส่อง แล้วแจ้งมาที่ กสทช. หากพบการกระทำผิด รวมทั้งต้องส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพเพื่อร่วมกันทำงาน

อนึ่ง จากผลการสำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากการเล่นพนันในประเทศไทย ปี 2556 ของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 9.41% เล่นพนันบอล และอยู่ในวงจรนี้มานานกว่า 6 ปี โดยยอมควักเงินเฉลี่ยทั้งปี 260,000 บาท/คน ขณะที่กลุ่มนักศึกษาที่เล่นพนันบอลมีประมาณ 104,000 คน วงเงิน 36,000 บาท/คน/ปี ช่องทางการเล่นพนัน นิยมเล่นผ่านเจ้ามือรับแทง เล่นผ่านทางเว็บไซต์ และเล่นกันเองในหมู่เพื่อน สำหรับสื่อที่นักศึกษาใช้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อเล่นพนันฟุตบอลคือสื่อออนไลน์ร้อยละ 83 รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ร้อยละ 34 และสื่อหนังสือพิมพ์กีฬาร้อยละ 31

http://www.thairath.co.th/content/430407

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.