Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) คลังระบุ การที่ กสทช.จะประมูลแบบเดิมไม่มีคู่แข่งหน้าใหม่!! ( ควรให้มีผู้แข่งหน้าใหม่จริงๆ สนใจทำบริการบนโครงข่ายเสมือนจริง (MVNO) สามารถใช้บริการของผู้ประกอบการทุกรายได้ โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ )


ประเด็นหลัก

    นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีข้อเสนอแนะว่าหากกสทช.ได้กำหนดในรายละเอียดการประมูลให้ มีการกันความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ให้รายใหม่ หรือผู้สนใจทำบริการบนโครงข่ายเสมือนจริง (MVNO) ในอัตรา 10% กสทช.ก็จะต้องแน่ใจว่าจำนวนคาปาซิตี้ 10% ดังกล่าว เพียงพอต่อการให้บริการของรายใหม่หรือไม่ อีกทั้งข้อกำหนดการสร้างโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุม40% ในเวลา 4 ปีนั้น กระทรวงการคลังเห็นว่าน้อยเกินไป ควรกำหนดอัตราให้เท่ากับ 3G ที่ 80%ใน 4ปี เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สามารถใช้บริการของผู้ประกอบการทุกรายได้ โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ
   
       'ดังนั้นจากเหตุผลต่างๆที่กระทรวงการคลังเสนอมานั้น กสทช.ควรดำเนินการกำหนดการจัดสรรคลื่นในหลายรูปแบบ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถเข้ามาให้บริการได้ในทางปฎิบัติ เช่น แบ่งคลื่น 1800 MHz มาประมูลแบบMVNO เพื่อลดต้นทุนรายใหม่ช่วยให้เข้ามาแข่งขันและเปิดบริการได้แบบมีประสิทธิภาพ'
   
       อีกทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ภายใต้องค์กรอิสระทุกวันนี้ตามสภาพของตลาดโทรคมนาคม พบว่ามีการแข่งขันที่ชัดเจนแต่มีเอกชนน้อยราย การใช้กลไกทางการตลาดในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมจึงไม่ส่งผลให้เกิดผู้ ประกอบการรายใหม่ ทำให้ทรัพยากรของชาติที่มีจำกัดกระจุกตัวเฉพาะบางราย ผู้บริโภคไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์จากการแข่งขัน และไม่สามารถเข้าถึงบริการ และราคาที่เป็นธรรมได้
   


______________________________________


คลังเห็นต่างกทค.เสนอเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลความถี่ 4G



       กระทรวงการคลังแนะเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล 4G ชี้ไม่เอื้อให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ในตลาด ด้านกทค.เล็งทบทวนการถือหุ้นต่างชาติ พร้อมขู่เอกชนรายใดละเมิดปรับไม่ให้ประมูล 4G
     
       รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีหนังสือเลขที่กค.08181/6443 ถึงนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เกี่ยวกับความเห็นต่อร่างประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม 1800 MHz หรือการให้บริการ 4G ที่กสทช.มีกำหนดจะเปิดประมูลในเดือนส.ค.นี้
     
       โดยหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาสาระสำคัญระบุว่า กระทรวงการคลังมีความเห็น 2ข้อเสนอใหญ่ คือ 1.รูปแบบการประมูลตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ได้เห็นชอบการกำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูลซึ่งคำนวณในราคา11,600 ล้านบาท สำหรับชุดคลื่นความถี่ 2x12.5 MHz หรือ 1 ใบอนุญาต โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 464 ล้านบาทต่อ1 MHz ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า กสทช.ควรเปลี่ยนรูปแบบการประมูลใหม่ เพราะกสทช.ใช้การประมูลแบบเดิมแบบที่ใช้ในการประมูลความถี่ 2.1 GHz ซึ่งจะส่งผลทำให้ไม่เกิดผู้เล่นรายใหม่ได้
     
       ขณะที่ประเด็นที่ 2. กระทรวงการคลังเห็นว่ากสทช.ควรกันคลื่นความถี่เฉพาะให้แก่ผู้ประกอบการราย ใหม่ได้เข้ามาประมูล หรือกำหนดเพดานให้ผู้ประกอบการรายเดิมเข้ามาประมูลได้ในจำนวนจำกัด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนการประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz ที่ไร้ผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะหากรายใหม่เข้ามาลงทุนจะมีต้นทุนสูงกว่ารายเดิม จนทำให้รายเดิมทั้ง 3 รายในตลาดได้คลื่นความถี่ไปในราคาที่ถูกกว่าที่ควรเป็น
     
       นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีข้อเสนอแนะว่าหากกสทช.ได้กำหนดในรายละเอียดการประมูลให้ มีการกันความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ให้รายใหม่ หรือผู้สนใจทำบริการบนโครงข่ายเสมือนจริง (MVNO) ในอัตรา 10% กสทช.ก็จะต้องแน่ใจว่าจำนวนคาปาซิตี้ 10% ดังกล่าว เพียงพอต่อการให้บริการของรายใหม่หรือไม่ อีกทั้งข้อกำหนดการสร้างโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุม40% ในเวลา 4 ปีนั้น กระทรวงการคลังเห็นว่าน้อยเกินไป ควรกำหนดอัตราให้เท่ากับ 3G ที่ 80%ใน 4ปี เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สามารถใช้บริการของผู้ประกอบการทุกรายได้ โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ
     
       'ดังนั้นจากเหตุผลต่างๆที่กระทรวงการคลังเสนอมานั้น กสทช.ควรดำเนินการกำหนดการจัดสรรคลื่นในหลายรูปแบบ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถเข้ามาให้บริการได้ในทางปฎิบัติ เช่น แบ่งคลื่น 1800 MHz มาประมูลแบบMVNO เพื่อลดต้นทุนรายใหม่ช่วยให้เข้ามาแข่งขันและเปิดบริการได้แบบมีประสิทธิภาพ'
     
       อีกทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ภายใต้องค์กรอิสระทุกวันนี้ตามสภาพของตลาดโทรคมนาคม พบว่ามีการแข่งขันที่ชัดเจนแต่มีเอกชนน้อยราย การใช้กลไกทางการตลาดในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมจึงไม่ส่งผลให้เกิดผู้ ประกอบการรายใหม่ ทำให้ทรัพยากรของชาติที่มีจำกัดกระจุกตัวเฉพาะบางราย ผู้บริโภคไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์จากการแข่งขัน และไม่สามารถเข้าถึงบริการ และราคาที่เป็นธรรมได้
     
       ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่าในตอนนี้บอร์ดกทค.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนการถือหุ้นของต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม จากปัจจุบันต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ในสัดส่วนไม่เกิน 49% ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการคนต่างด้าว พร้อมทั้งจะตรวจสอบการถือหุ้นของต่างชาติอย่างเข้มงวดในกิจการโทรคมนาคม หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย และประกาศของ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 ซึ่งหากตรวจสอบพบว่าเอกชนรายใด มีลักษณะเข้าข่ายก็จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูล 4G บนคลื่น 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในเดือนส.ค.57 และ คลื่น 900 MHzในเดือนพ.ย.57 นี้ทันที
     
       ทั้งนี้การตรวจสอบอย่างเข้มงวดสำหรับการถือหุ้นของต่างชาตินั้น นอกจากการป้องกันไม่ให้เกิดการครอบงำและมีอำนาจในการบริหารจัดการของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ยังเพื่อความมั่นคงในระบบโทรคมนาคมของประเทศด้วย เพราะว่าการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ถือเป็นหัวใจของการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งหากยอมให้ต่างด้าวโดยเฉพาะทุนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจต่างชาติสนับสนุน เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมในประเทศ อาจมีผลกระทบและเกิดความเสี่ยงในการกำกับดูแลได้
     
       'การตรวจสอบการถือหุ้นของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นการทำตามกฎกติกาที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้เลือกปฏิบัติรายใดรายหนึ่งแต่อย่างใด โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการถือหุ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม การถือหุ้นไขว้ และการตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นแทนด้วย'
     
       สำหรับความคืบหน้าขั้นตอนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้นล่าสุดภายหลังเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมาสำนักงานกสทช.เปิดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ กสทช.ทั้ง 2 ฉบับคือร่างหลักเกณฑ์การประมูลฯ 1800 MHz และร่างแผนความถี่วิทยุฯ จากนั้นจะนำความคิดเห็นต่างๆในการจัดประชาพิจารณ์มาเสนอคณะอนุกรรมการ 1800 MHz เพื่อพิจารณา และนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกทค.กลางเดือนมิ.ย. 2557 และที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. ก่อนนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และในเดือนก.ค. 2557 กสทช.จะประกาศเชิญชวนสำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประมูล และราวปลายเดือนส.ค. 2557 จะสามารถเปิดประมูล 4G ได้


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000065161

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.