Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 สำหรับ LTE-U (ย่อมาจาก Long-Term Evolution in Unlicensed spectrum) จำง่ายๆว่า U = Unlicensed นั่นแหล่ะครับ

ประเด็นหลัก



เอาล่ะสิ มาตรฐานแบบเปิด สำหรับทุกคน ใครจะเอาคลื่นนี้ไปใช้ก็ได้งั้นหรือ? หวานโอเปอเรเตอร์น่ะสิ แหม่ สำหรับคลื่น LTE ปกติ อย่างที่้เราใช้กันตอนนี้ก็เอาคลื่น 2100MHz ที่เราประมูลกันเมื่อปีโน้นมาใช้งาน 4G อันนี้เรียกว่า licensed spectrum คือคลื่นที่ต้องมีการถือครอง บ้านเราสมัยก่อนเป็นการสัมปทาน 900MHz และ 1800MHz แต่กำลังจะมีการประมูลเร็วๆนี้ เหตุเพราะระยะเวลาสัมปทานสิ้นสุดลง แต่สำหรับ LTE-U (ย่อมาจาก Long-Term Evolution in Unlicensed spectrum) จำง่ายๆว่า U = Unlicensed นั่นแหล่ะครับ

ในทางการใช้งานเนี่ย unlicensed spectrum หรือ licensed มันใช้งานได้เหมือนกันแหล่ะ แหม่ ถ้าแบบนี้ โอเปอเรเตอร์จะเสียเงินหลายหมื่นล้านเคาะประมูลกันทำไม ใช่มะ? ถ้าผู้พิทักษ์ความปลอดภัยของประชาชน คือตำรวจ FCC ก็เป็นหน่วยงานกลางที่พิทักษ์คลื่นนั่นแหล่ะ แต่เป็นของ US ซึ่งทุกคนต้องเชื่อฟัง FCC แหล่ะ ทาง FCC มองว่า คลื่นที่บริษัทได้ประมูลกัน มีค่าถือครองคลื่น อันนี้เขาอ้างอิงใน US อย่างต่ำ $45 billion ค่าประมูลหลายตังค์ ดังนั้นพวกเขา (โอเปอเรเตอร์) ก็น่าจะเสียเงินเพราะมองว่า เป็นการลงทุนเพื่อ Capacity ในการรองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาล

เริ่มเห็นแล้วล่ะครับว่า LTE-U ไม่ได้เอามาใช้แบบเดียวกับคลื่นที่ประมูลแหล่ะครับ คือไม่ได้เอามาใช้เป็นล่ำเป็นสัน เดี๋ยวอ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเฉลยแล้ว











______________________________






ผู้ใช้กังวล! LTE-U แย่งชิงคลื่นความถี่ 5GHz หวั่นกระทบการใช้งาน Wi-Fi



ตอนนี้ คำว่า LTE หลายๆคนเห็นคำนี้ก็นึกถึง 4G LTE แต่จริงๆแล้ว มาตรฐาน LTE นั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดย LTE-U เป็นคลื่นไร้สาย ที่นำคลื่นความถี่เดียวกับ Wi-Fi มาใช้งาน ซึ่งเป็นคลื่นฟรี หมายถึง ไม่ต้องประมูล มาใช้ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ถ้าใช้คลื่นเดียวกับ Wi-Fi แล้วมันจะไม่รบกวนการเชื่อมต่อกันหรือ?



อย่างที่เราพอจะทราบกันว่า Wi-Fi ใช้คลื่นความถี่ 5GHz ทำให้คลื่น 5GHz นั้น ชนกับการใช้งาน Wi-Fi เข้าอย่างจัง เอาล่ะสิ มันน่ากลัวแค่ไหน หรือจะเกิดอะไรขึ้น? อนาคตจะเป็นอย่างไร

ตอนนี้ แค่ใช้งาน Wi-Fi บนความถี่คลื่น 2.4GHz ก็แทบจะใช้งานกันไม่ได้อยู่แล้ว (แต่สำหรับคลื่น 5GHz ไม่พบปัญหานะครับ ใช้งานได้ดี) โดยเฉพาะสถานที่มีผู้ใช้ Wi-Fi พลุกพล่าน เช่นพวก Co-Working Space, ร้านกาแฟ ที่ไม่ได้รับการออกแบบเร้าเตอร์ให้จัดการ Channel เพราะสัญญาณ Wi-Fi มีให้ใช้งานมากมาย หลากหลายเครือข่าย บางสถานที่ Wi-Fi ชนกันเพราะ Singnal และคุณภาพการรับส่งสัญญาณ Wi-Fi ก็ขึ้นอยู่กับการจัดสรร Channel ของเร้าเตอร์ด้วย

ซึ่งหากปกติการใช้งาน Wi-Fi ก็แทบจะลำบากในการเชื่อมต่ออยู่แล้ว ทำให้เมื่อมีข่าวว่า LTE-U ใช้คลื่นเดียวกับ Wi-Fi ก็เลยกลายเป็นการสร้างความกังวลให้กับผู้ใช้ว่า จะรบกวนการทำงานของ Wi-Fi ไหม แถมหลายคนเกรงว่าจะกระทบต่อธุรกิจ และการใช้งานตามบ้านมีปัญหา ในเมื่อใช้คลื่นเดียวกันทั้ง LTE-U และ Wi-Fi

LTE-U คืออะไร



ดูสัญลักษณ์ ต่อท้ายคำว่า LTE นะครับ ที่เราเคยเห็นกันบ่อยๆจะมี LTE-A สำหรับ LTE-U เป็นคลื่นที่ใช้คลื่นแบบ unlicensed spectrum หมายถึงคลื่นที่ให้ใช้ฟรี ปกติบ้านเราต้องประมูลคลื่น เสียเงินในการประมูลคลื่น อ้าว งั้นเอา LTE-U มาให้บริการ ก็ไม่ต้องเสียเงินประมูลคลื่นน่ะสิ ถ้ามันไม่ได้น่าหวั่นใจว่าจะกระทบ Wi-Fi ก็คงไม่เป็นเรื่องเป็นราวกันขนาดนี้หรอกนะ ภาษาอังกฤษต้นฉบับบทความเขาบอกว่า "which is open to everybody"

เอาล่ะสิ มาตรฐานแบบเปิด สำหรับทุกคน ใครจะเอาคลื่นนี้ไปใช้ก็ได้งั้นหรือ? หวานโอเปอเรเตอร์น่ะสิ แหม่ สำหรับคลื่น LTE ปกติ อย่างที่้เราใช้กันตอนนี้ก็เอาคลื่น 2100MHz ที่เราประมูลกันเมื่อปีโน้นมาใช้งาน 4G อันนี้เรียกว่า licensed spectrum คือคลื่นที่ต้องมีการถือครอง บ้านเราสมัยก่อนเป็นการสัมปทาน 900MHz และ 1800MHz แต่กำลังจะมีการประมูลเร็วๆนี้ เหตุเพราะระยะเวลาสัมปทานสิ้นสุดลง แต่สำหรับ LTE-U (ย่อมาจาก Long-Term Evolution in Unlicensed spectrum) จำง่ายๆว่า U = Unlicensed นั่นแหล่ะครับ

ในทางการใช้งานเนี่ย unlicensed spectrum หรือ licensed มันใช้งานได้เหมือนกันแหล่ะ แหม่ ถ้าแบบนี้ โอเปอเรเตอร์จะเสียเงินหลายหมื่นล้านเคาะประมูลกันทำไม ใช่มะ? ถ้าผู้พิทักษ์ความปลอดภัยของประชาชน คือตำรวจ FCC ก็เป็นหน่วยงานกลางที่พิทักษ์คลื่นนั่นแหล่ะ แต่เป็นของ US ซึ่งทุกคนต้องเชื่อฟัง FCC แหล่ะ ทาง FCC มองว่า คลื่นที่บริษัทได้ประมูลกัน มีค่าถือครองคลื่น อันนี้เขาอ้างอิงใน US อย่างต่ำ $45 billion ค่าประมูลหลายตังค์ ดังนั้นพวกเขา (โอเปอเรเตอร์) ก็น่าจะเสียเงินเพราะมองว่า เป็นการลงทุนเพื่อ Capacity ในการรองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาล

เริ่มเห็นแล้วล่ะครับว่า LTE-U ไม่ได้เอามาใช้แบบเดียวกับคลื่นที่ประมูลแหล่ะครับ คือไม่ได้เอามาใช้เป็นล่ำเป็นสัน เดี๋ยวอ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเฉลยแล้ว

ดังนั้น เรื่องของโครงสร้างการถือครองคลื่น เน้นเรื่องของการให้บริการดาต้าที่ไม่ถูกจำกัด Capacity ซึ่ง LTE-U เป็นส่วนหนึ่งในการนำมาใช้ offload กับ Wi-Fi ในมาตรฐานคลื่น unlicensed เดียวกัน จะเห็นได้ว่า คลื่น LTE-U อาจรบกวนการใช้งาน Wi-Fi เพราะ Wi-Fi ให้บริการบนคลื่น unlicensed band เช่นเดียวกันคือ 2.4GHz และ 5GHz ซึ่งสิ่งที่น่าคิดก็คือ แล้วคลื่นในช่วงไหนที่ LTE-U ควรจะใช้ล่ะ ในเมื่อ เสือ 2 ตัวอยู่ในถ้ำเดียวกัน เอ้ย 2 คลื่นในความถี่เดียวกัน จะเกิด interference หรือคลื่นชนกันหรือเปล่า ในบทความต้นฉบับระบุ “ugh-why-doesn’t-this-stupid-thing-work?”

แล้วใครเป็นต้นคิดล่ะ

Qualcomm เป็นผู้คิดค้น LTE-U เขาคิดมาแล้วล่ะว่าจะไม่กระทบกับ Wi-Fi แต่สัญญาณจะดรอปลงหรือเปล่า ควรใช้ LTE-U ไหม Wi-Fi บ้านจะล่มไหม ปัญหานี้เป็นเพียงแค่ความนึกคิดเท่านั้น ยังไม่มีใครการันตีได้ แล้วทำไงต่อล่ะ? เอาจริงๆแล้ว Qualcomm ไม่ได้เปิดตัว LTE-U แบบเปิดเผย ไม่ได้เป็นมาตรฐานกลางของ 3GPP หรือ IEEE คือไม่ได้รับการยืนยัน ทดสอบอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงเทคโนโลยี

ดูคลิปนี้จะเข้าใจง่ายขึ้นครับ


ไอเดียนี้มาจากระบบที่เรียกว่า CSAT (Carrier Sense Adaptive Transmission) อันนี้ Make Sense เพราะสถานีฐาน LTE-U จะหยุดพักการให้บริการชั่วขณะ (pause) เพื่อเปิดให้ Wi-Fi ใช้คลื่นเดียวกัน เขาคิดไว้แล้วล่ะ เรียกว่า duty cycling

ฟังดูเหมือนว่า เอ่อ ก็แฟร์ดีนะ แต่ทำไมผู้ใช้ยังกังวลล่ะ? ก็เพราะว่า duty cycling เนี่ย ผู้ให้บริการมีระยะเวลาหนึ่งในการ pauses น่ะสิ ดังนั้นระยะเวลาในการเปิดให้ Wi-Fi ไปต่อ ก็จำกัด แต่อย่าลืมว่านี่คือ unlicensed spectrum! เพราะว่า Wi-Fi เองดันไม่รู้น่ะสิว่าน้องท้องเดียวกันคลานตามกันมาคือ LTE-U คลื่นเดียวกัน เกิด LTE-U รับส่งข้อมูลออกไป หวั่นเรื่องสัญญาณคลื่นการรับส่งชนกัน คือเอาง่ายๆ LTE-U เองก็ไม่ได้รับการรองรับมาตฐานอะไรอย่างเป็นทางการ

credit : https://www.qualcomm.com/news/onq/2015/09/09/9-myths-about-lte-u-setting-record-straight

แล้วเรามีทางเลือกไหม?

ยังมี Licensed Assisted Access หรือ LAA ที่เหมือน LTE-U แต่อันนี้ฟัง “listen before talk” (LBT) ฟังก่อนพูด เทียบง่ายๆ LTE-U แย่งกันกับ Wi-Fi แต่ในขณะที่ LAA ฟังก่อน ไม่ใช่พูดแทรก ดูน่ารักกว่าเนอะ (Wi-Fi ก็ทำแบบนี้) อาจจะดูไม่เฟอร์เฟ็กต์หรอก แต่ LTE-U จาก Qualcomm พลาดตรงนี้ LBT มีมาตรฐานจาก EU และญี่ปุ่น ทำให้ LAA สุภาพอ่อนน้อมกว่า อันนี้น่าสนใจ อ้าว แล้วทำไมไม่ใช้ LAA แทนเลยล่ะ? แม้ว่า LAA จะเป็นมาตรฐาน แต่เป็นมาตรฐานภายใต้ 3GPP ทดสอบแล้ว อนุมัติ อนุญาตให้ใช้แล้ว บางพื้นที่ บางประเทศ มีการอนุญาตให้ใช้ LBT ได้ แต่บางพื้นที่ก็อยากใช้ LTE-U ประมาณว่าไม่ต้องขออนุญาตอะไรประมาณนั้น แล้วทำไมไม่ใช้ Wi-Fi แทนล่ะ? หาก LTE-U มาช่วยแบ่งเบาโหลดของเครือข่ายได้ และไม่มีปัญหากับ Wi-Fi ในบริเวณนั้นก็น่าสนใจใช่ไหมล่ะ แต่ใครจะกล้ารับประกันได้ล่ะ อ่านบทความนี้แล้วอย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไป Verizon และ T-Mobile ยังไม่ยอมรับ LTE-U เลย มองว่ารอปีหน้าค่อยว่ากัน ตอนนี้หลายฝ่ายก็ถกเถียงกัน ผู้บริหารของ FCC เองก็ยังหวั่นใจว่าอยากให้มองผลกระทบก่อน บทความแปลและเรียบเรียงจาก

NetworkWorld

http://www.networkworld.com/article/2998252/mobile-wireless/lte-u-a-quick-explainer.html

อ้างอิง

LTE Unlicensed

บทความ 9 myths about LTE-U



http://www.adslthailand.com/post/ผู้ใช้กังวล-lte-u-แย่งชิงคลื่นความถี่-5ghz-หวั่นกระทบการใช้งาน-wi-fi

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.