Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 อนุชิต กล่าวว่า ที่ประชุมได้ลงมติใน 3 เรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับคลื่น 900 MHz คือ 1.มติเป็นเอกฉันท์ให้ สรท.ดำเนินการฟ้อง กสทช. เอง โดยจะมีการนำรายชื่อยื่นถึงศาลปกครอง เนื่องจาก สรท.ไม่มั่นใจว่า มติที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท ทีโอที ที่จะเริ่มขึ้นเวลา 16.00 น.นั้น จะลงมติฟ้อง กสทช. หรือไม่

ประเด็นหลัก



อนุชิต กล่าวว่า ที่ประชุมได้ลงมติใน 3 เรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับคลื่น 900 MHz คือ 1.มติเป็นเอกฉันท์ให้ สรท.ดำเนินการฟ้อง กสทช. เอง โดยจะมีการนำรายชื่อยื่นถึงศาลปกครอง  เนื่องจาก สรท.ไม่มั่นใจว่า มติที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท ทีโอที ที่จะเริ่มขึ้นเวลา 16.00 น.นั้น จะลงมติฟ้อง กสทช. หรือไม่ ดังนั้น ทาง สรท. เองจึงได้ร่างเนื้อหาในการฟ้องร้องไว้เกือบหมดแล้ว 2. มติเป็นเอกฉันท์ในการให้อำนาจประธาน สรท.ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการบริษัทอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ลงมติดำเนินการฟ้องกสทช.และให้ทีโอทีสามารถรักษาสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ได้ไปจนถึงปี 2568 และ 3. มติเป็นเอกฉันท์ขอให้กรรมการสรท.แจ้งความดำเนินคดีกับที่สถานีตำรวจเพื่อนำไปฟ้องร้องต่อศาลกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง ฝ่ายบริหาร กรรมการบริษัท ตลอดจน อุตตม สาวนายน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในกรณีการกระทำความผิดตามมาตรา 157 ฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่รักษาผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติ











______________________________






อนาคตความอยู่รอดขององค์กร คลื่นความถี่ 900 MHz ต้องอยู่กับทีโอที?



สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรท.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานประชุมวิสามัญขึ้นภายใต้หัวข้อ “อนาคตความอยู่รอดขององค์กร คลื่นความถี่ 900 MHz ต้องอยู่กับทีโอที” ณ อาคาร 5 ชั้น 2 โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบนเวทีลานลั่นทม หน้าอาคาร 2 ตลอดทั้งวานนี้



จากกรณีการออกมาเรียกร้องเพื่อเรียกสิทธิ์คลื่น 900 MHz กลับมา ของ บมจ.ทีโอที กับกลุ่มพนักงานที่มารวมตัวกันคัดค้านการนำคลื่น 900 MHz ไปประมูล โดย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องดังกล่าว แต่มีทั้งความเป็นไปได้ที่จะฟ้องและไม่ฟ้อง รวมทั้งข้อดี ข้อเสีย ก็มีทั้งสองอย่าง

ทั้งนี้ หากมีการฟ้องร้องแล้วศาลคุ้มครอง และใช้เวลาการตัดสินหลายปี ผลของระหว่างคุ้มครอง บมจ.ทีโอที จะไม่สามารถนำคลื่น ดังกล่าว มาให้บริการได้ และทรัพย์สินสัมปทานก็จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่เช่นกัน

ล่าสุดแหล่งข่าวรายงานว่า เมื่อ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรท.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานประชุมวิสามัญขึ้นภายใต้หัวข้อ “อนาคตความอยู่รอดขององค์กร คลื่นความถี่ 900 MHz ต้องอยู่กับทีโอที” ณ อาคาร 5 ชั้น 2 โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบนเวทีลานลั่นทม หน้าอาคาร 2 ตลอดทั้งวันด้วย โดยงานในช่วงเช้าเริ่มขึ้นเวลา 10.00 น. โดยมี อนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพ สรท. และกรรมการสรท.รวมถึงสาวิทย์ แก้วหวาน รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)  ร่วมขึ้นบรรยายผลเสียของการเสียสิทธิ์ในคลื่น 900 MHz จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะนำไปจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ด้วยการประมูลในวันที่ 12 พ.ย. นี้

อนุชิต กล่าวว่า ที่ประชุมได้ลงมติใน 3 เรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับคลื่น 900 MHz คือ 1.มติเป็นเอกฉันท์ให้ สรท.ดำเนินการฟ้อง กสทช. เอง โดยจะมีการนำรายชื่อยื่นถึงศาลปกครอง  เนื่องจาก สรท.ไม่มั่นใจว่า มติที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท ทีโอที ที่จะเริ่มขึ้นเวลา 16.00 น.นั้น จะลงมติฟ้อง กสทช. หรือไม่ ดังนั้น ทาง สรท. เองจึงได้ร่างเนื้อหาในการฟ้องร้องไว้เกือบหมดแล้ว 2. มติเป็นเอกฉันท์ในการให้อำนาจประธาน สรท.ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการบริษัทอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ลงมติดำเนินการฟ้องกสทช.และให้ทีโอทีสามารถรักษาสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ได้ไปจนถึงปี 2568 และ 3. มติเป็นเอกฉันท์ขอให้กรรมการสรท.แจ้งความดำเนินคดีกับที่สถานีตำรวจเพื่อนำไปฟ้องร้องต่อศาลกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง ฝ่ายบริหาร กรรมการบริษัท ตลอดจน อุตตม สาวนายน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในกรณีการกระทำความผิดตามมาตรา 157 ฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่รักษาผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติ



อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าเช่นกันทางสำนักทรัพยากรบุคคล ส่วนงานพัฒนาองค์กร บมจ.ทีโอที ได้ออกหนังสือชี้แจงเพื่อแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ให้พนักงาน ระบุว่า กรณีการเรียกร้องสิทธิ์คลื่น 900 MHz บอกว่าจะมีรายละเอียดจะชี้แจงให้ทราบในวันที่ 4 พ.ย.2558 ต่อไป

http://www.adslthailand.com/post/อนาคตความอยู่รอดขององค์กร-คลื่นความถี่-900-mhz-ต้องอยู่กับทีโอที-

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.