Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤษภาคม 2557 RS ระบุ ช่อง8 ต้นทุนผลิตละคร 1 เรื่อง (ประมาณ 22-24 ชั่วโมง) ต้องใช้เงินลงทุนถึง 25-30 ล้านบาท เฉลี่ยแล้ว 1 ชม.ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท ห้ามนักแสดงในสังกัดเล่นละครนอกค่าย


ประเด็นหลัก


ด้วยงบฯการลงทุนสร้างละครต่อเรื่องค่อนข้างสูง นอกจาก 2 เจ้าใหญ่บนฟรีทีวีอย่าง ช่อง 3 และช่อง 7 แล้ว ไม่ใช่ทุกคนจะกล้าทุ่มเงินลงทุนเพื่อสร้างคอนเทนต์ละคร เพราะต้นทุนการผลิตละครที่ค่อนข้างสูง

ว่ากันว่า ต้นทุนผลิตละคร 1 เรื่อง (ประมาณ 22-24 ชั่วโมง) ต้องใช้เงินลงทุนถึง 25-30 ล้านบาท เฉลี่ยแล้ว 1 ชม.ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท

เรียกว่าถ้าช่องนั้นไม่ดังจริง เรตติ้งไม่ดีพอก็จะไม่กล้าเสี่ยง

หนึ่ง ในรายที่หาญกล้า และขอชนกับช่อง 3 กับช่อง 7 ต้องยกให้กับ "อาร์เอส" ที่มีการเตรียมพร้อมในการสู้รบเรื่องละครมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว


อย่าง ไรก็ตาม เมื่อคอนเทนต์ละคร คือพระเอกของช่อง 8 บุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งงานนี้อาร์เอสจึงออกนโยบายชัดว่า ห้ามนักแสดงในสังกัดเล่นละครนอกค่าย

เกม นี้ต้องบอกว่า "อาร์เอส" มองขาด เพราะดารา-นักแสดงถือเป็นอาวุธสำคัญที่ต้องเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เนื่องจากจำนวนช่องทีวีเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนบุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง









______________________________________


"อาร์เอส" งัด "ละคร" แม่เหล็ก "เฮียฮ้อ" หวังผงาด เทียบชั้นเจ้าตลาดฟรีทีวี


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ม่าน การแข่งขันบนสนามฟรีทีวีถูกเปิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อบรรดาผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทั้งรายเล็กรายใหญ่ ต่างทยอยเผยโฉมคอนเทนต์ของแต่ละช่องกันแบบจัดใหญ่ หวังเรียกความสนใจจากผู้ชมตั้งแต่เนิ่น ๆ

"คอนเทนต์" ที่ทุกคนต่างนำมาอวดศักยภาพกันนั้น หนีไม่พ้นข่าว กีฬา วาไรตี้และละคร อยู่ที่ว่าช่องใดจะมีความถนัดและโดดเด่นในคอนเทนต์ไหนมากกว่ากัน

แต่ ส่วนใหญ่แล้วผู้ชมไทยก็จะคุ้นชินกับการรับชม "โลคอลคอนเทนต์" ในฟอร์แมตแบบไทย ๆ ที่ผลิตโดยคนไทยเป็นหลัก แม้วันนี้จะมีซีรีส์ต่างประเทศ หรือวาไรตี้ เกมโชว์ ฟอร์แมตจากต่างประเทศเข้ามาเกลื่อนหน้าจอก็ตาม

โดย เฉพาะ "ละคร" ที่ยังถือเป็น "แม่เหล็ก"ชั้นดีในการดึงดูดกลุ่มผู้ชม ยิ่งในช่วงเวลาหลังข่าวค่ำตั้งแต่ 20.15-22.45 น. ซึ่งถูกจัดให้เป็นเวลาของละคร และถือเป็นช่วงเวลา "ไพรมไทม์" ที่มีเรตค่าโฆษณาสูงสุดในทุกสถานี ยิ่งผลักดันให้ทุกช่องฟรีทีวี รวมถึงทีวีดิจิทัล พยายามสร้างคอนเทนต์ละครให้โดนใจ เพื่อชิงผู้ชมให้มากที่สุด

เพราะนั่นหมายถึงโอกาสจากเม็ดเงินโฆษณา จำนวนมหาศาลที่จะทะลักเข้ามาด้วยเช่นกัน มากกว่านั้นความฮอตฮิตของละครยังสามารถเป็นบันไดไต่ขึ้นสู่การเป็นสถานีฟรี ทีวีอันดับต้น ๆ ได้เช่นกัน

เมื่อละครเรื่องนั้นอยู่ในกระแส และเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง นั่นก็ช่วยสร้างชื่อ "สถานี" ให้ติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นเมื่อแข่งขันบนสมรภูมิทีวีดิจิทัลเปิดฉากขึ้น ความเข้มข้นของละครก็ต้องเพิ่มดีกรีด้วยเช่นกัน

แต่ ด้วยงบฯการลงทุนสร้างละครต่อเรื่องค่อนข้างสูง นอกจาก 2 เจ้าใหญ่บนฟรีทีวีอย่าง ช่อง 3 และช่อง 7 แล้ว ไม่ใช่ทุกคนจะกล้าทุ่มเงินลงทุนเพื่อสร้างคอนเทนต์ละคร เพราะต้นทุนการผลิตละครที่ค่อนข้างสูง

ว่ากันว่า ต้นทุนผลิตละคร 1 เรื่อง (ประมาณ 22-24 ชั่วโมง) ต้องใช้เงินลงทุนถึง 25-30 ล้านบาท เฉลี่ยแล้ว 1 ชม.ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท

เรียกว่าถ้าช่องนั้นไม่ดังจริง เรตติ้งไม่ดีพอก็จะไม่กล้าเสี่ยง

หนึ่ง ในรายที่หาญกล้า และขอชนกับช่อง 3 กับช่อง 7 ต้องยกให้กับ "อาร์เอส" ที่มีการเตรียมพร้อมในการสู้รบเรื่องละครมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว

ย้อน กลับไปตั้งแต่ 3 ปีก่อน "อาร์เอส" ประกาศยุติบทบาทในฐานะคอนเทนต์โพรไวเดอร์ ด้วยการหยุดผลิตรายการและละครให้แก่ช่องฟรีทีวีทุกช่อง เพื่อระดมสรรพกำลังมาปั้นคอนเทนต์ละครให้แก่ช่อง 8

ซึ่งขณะนั้นยัง เป็นเพียงช่องทีวีดาวเทียม โดยคอนเทนต์ละครของช่อง 8 ที่ผ่านมาก็ถูกพิสูจน์แล้วว่า "เด็ด" จนทำให้ช่อง 8 ก้าวขึ้นเป็นผู้นำบนสมรภูมิทีวีดาวเทียมมาแล้ว

เมื่อสมรภูมิการแข่ง ขันเปลี่ยนไป ช่อง 8ก้าวสู่การออกอากาศระบบดิจิทัล การเพิ่มความเข้มข้นให้แก่คอนเทนต์ละครถือเป็นสิ่งที่บริษัทต้องทำอย่างต่อ เนื่อง เพื่อแจ้งเกิดช่อง 8 บนสมรภูมิทีวีดิจิทัลให้ได้

"สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยตำแหน่งของช่อง 8 ที่เจาะกลุ่มแมส หมากของอาร์เอส คือวาง 4 จุดเด่น คือ ข่าว ละคร กีฬา และวาไรตี้เพื่อตอบโจทย์ผู้ชมทุกคนในครอบครัว และเตรียมปล่อย "ไม้เด็ด" ออกมาต่อเนื่อง

หนึ่ง ในนั้นคือ การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2014 ผ่านช่อง 8 ควบคู่กับการถ่ายทอดสดผ่านช่อง 7 ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นสปริงบอร์ด ส่งให้ช่อง 8 เป็นที่รู้จักภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

"องอาจ สิงห์ลำพอง" กรรมการผู้อำนวยการสายงานโทรทัศน์ บริษัท อาร์เอสจำกัด (มหาชน) เสริมว่า แม้ช่อง 8 จะเจาะผู้ชมกลุ่มแมสเป็นหลัก ที่ต้องมีคอนเทนต์ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งข่าว

วาไรตี้ กีฬา และบันเทิง ซึ่งบริษัทก็ให้ความสำคัญกับทั้ง 4 คอนเทนต์ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีคอนเทนต์พระเอกนั่นคือละคร ที่หมายมั่นปั้นมือจะให้ฮิตติดลมบน

เมื่อจำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทต้องทำการบ้านเพิ่มขึ้น คอนเทนต์ละครต้องไม่ชนกับช่องอื่น ดังนั้นผังละครของช่อง 8 จึงมาก่อนเจ้าตลาดฟรีทีวี หรือเริ่มเวลา 20.00 น. เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ชม

"ผังละครของช่อง 8 ไม่ควรชนกับฟรีทีวี เพราะความแข็งแกร่งของผู้นำตลาดยังมีอยู่ สิ่งที่อาร์เอสต้องทำวันนี้คือรอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม"

องอาจบอก ว่า ที่ผ่านมาผู้ชมส่วนใหญ่ให้คำนิยามละครของช่อง 8 ว่า "แซบ" ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า แซบ ในที่นี้หมายถึงอะไร แต่ความจริงแล้วแคแร็กเตอร์ละครช่อง 8 คือความจริง นั่นหมายถึงเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็น เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว จับต้องได้ ซึ่งแม้จะถูกมองว่าละครแรง แต่ก็เป็นเนื้อหาที่แรงแบบมีขอบเขต

"ละครของช่อง 8 อาจถูกมองว่าแรง แต่ก็คงไม่แรงไปมากกว่านี้ ขณะเดียวกันบริษัทก็พยายามทำให้ผู้ชมของช่อง 8 คุ้นชินกับความหลากหลายของละครด้วย โดยเตรียมเพิ่มละครในหลาย ๆ แนวขึ้น ทั้งดราม่า รัก ตลก แอ็กชั่น"

ขณะเดียวกัน ภายในเดือนสิงหาคมนี้เตรียมปรับผังรายการใหม่ โดยจะเพิ่มละครเป็น 4 ชั่วโมง จากเดิม 3 ชั่วโมง และเพิ่มละครอีก 1 เรื่อง จากเดิมที่จะมีละครเรื่องใหม่เพียง 1 เรื่อง ออกอากาศวันจันทร์-พุธ

เท่ากับว่าช่อง 8 จะมีละครใหม่ออกอากาศตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้

สำหรับ ปีหน้าเตรียมทุ่มงบฯ 500-600 ล้านบาท สำหรับปั้นคอนเทนต์ละครเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีแผนที่จะขยายช่วงเวลาการออก อากาศละครที่ผลิตใหม่ให้ครบ 7 วัน ทั้งละครช่วงเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งรวม ๆแล้วปีหน้าจะมีละครใหม่ถึง 20 เรื่องที่เตรียมออกอากาศ

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อคอนเทนต์ละคร คือพระเอกของช่อง 8 บุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งงานนี้อาร์เอสจึงออกนโยบายชัดว่า ห้ามนักแสดงในสังกัดเล่นละครนอกค่าย

เกม นี้ต้องบอกว่า "อาร์เอส" มองขาด เพราะดารา-นักแสดงถือเป็นอาวุธสำคัญที่ต้องเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เนื่องจากจำนวนช่องทีวีเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนบุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

ไม่ น่าแปลกใจว่าทำไมอาร์เอสเริ่มออกหมัดเร็ว เรียกว่าปล่อยหมัดตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเป้าหมายเชิงธุรกิจของอาร์เอสชัดเจนว่าต้องไต่ขึ้นอันดับ 3 ของสมรภูมิฟรีทีวีให้จงได้ ภายใน 3 ปีนับจากนี้ ดังนั้นถ้าออกหมัดเร็วเท่าไรก็เท่ากับระยะเวลาการเดินไปสู่เป้าหมายจะเร็ว ขึ้น

เมื่อเกมนี้จำนวนผู้เล่นมีมาก ถ้าออกหมัดช้า หรือประมาทแม้แต่เกมเดียว ระยะทางเดินหน้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ คงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเป็นแน่


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1399987158

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.