Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤษภาคม 2557 ทีวีดาวเทียมปรับตัวรับเมื่อเข้าสู่ทีวีดิจิทัล โดย M Channel.สยามรัศมิ์ ระบุ ต้องรักษาแคแร็กเตอร์และการลงทุนของทีวีดาวเทียมที่ต่ำกว่าแต่คุณภาพรายการใกล้เคียงกัน ทำให้บริษัทได้เปรียบเรื่องราคาโฆษณา


ประเด็นหลัก

ทีวีดาวเทียมปรับตัวรับ

นาย สยามรัศมิ์ เลาหสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียม "M Channel" กล่าวว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลทำให้ธุรกิจโทรทัศน์เปลี่ยนไปทั้งระบบ ในแง่ของผู้ชมจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการแข่งขันธุรกิจนี้ก็เพิ่มดีกรีขึ้น ทั้งเม็ดเงินลงทุนและคุณภาพของรายการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านมีเดียเอเยนซี่หรือผู้ซื้อโฆษณาต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน เชื่อว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือช่องคุณภาพไม่กี่ช่องเท่านั้นที่อยู่รอด

"การ เกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลทำให้ช่องทีวีดาวเทียมต้องจับตามองใกล้ชิดว่าจะ เปลี่ยนธุรกิจนี้ไปทิศทางใด ขณะที่การปรับขึ้นราคาโฆษณาของช่องทีวีดาวเทียมก็อาจจะต้องชะลอไว้ก่อน"

สำหรับ เอ็มชาแนลปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่จับตามองอย่างใกล้ชิด รวมถึงปรับกลยุทธ์ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ 1.รักษาแคแร็กเตอร์การเป็นช่องหนัง แตกต่างจากทีวีดิจิทัลที่เน้นรายการวาไรตี้เป็นหลัก 2.การลงทุนของทีวีดาวเทียมที่ต่ำกว่าแต่คุณภาพรายการใกล้เคียงกัน ทำให้บริษัทได้เปรียบเรื่องราคาโฆษณา

"ปัจจุบัน เอ็มชาแนลก็มียอดจองโฆษณาเต็ม ซึ่งมีเดียเอเยนซี่หรือผู้ซื้อโฆษณาก็เข้าใจในคอนเทนต์ของช่องเป็นอย่างดี บวกกับการปรับลดการรีรันลงเหลือ 5-8 ครั้งต่อปีต่อเรื่อง จากเดิมรีรัน 8-10 ครั้งต่อปีต่อเรื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน" นายสยามรัศมิ์กล่าว


______________________________________


อาฟเตอร์ช็อก!ทีวีดิจิทัลทุบโฆษณา หมดยุคขึ้นราคาถี่ยิบ-เอเยนซี่หวั่นเรตติ้งคนดูเพี้ยน



ทีวีดิจิทัลเขย่าตลาดฟรีทีวีหลังช่องเพิ่มเป็น24 ช่อง ดันซัพพลายทะลัก มีเดียเอเยนซี่ชี้หมดยุคฟรีทีวีอัพราคาโฆษณาตามอำเภอใจ ฟากอาร์เอสเผยเรตติ้งฟรีทีวีรายเดิมหายหลังช่องทีวีดิจิทัลเริ่มออกอากาศ เชื่อเป็นสัญญาณที่ดีของผู้เล่นรายใหม่ ด้านทีวีดาวเทียมเร่งปรับกลยุทธ์ตั้งรับช่องทีวีเพิ่ม ขณะที่การเก็บข้อมูลเรตติ้งยังฝุ่นตลบ

การเกิดขึ้นของทีวีดิจิ ทัลอีก 24 ช่องกำลังส่งผลต่อวงการทีวีอย่างกว้างขวาง ไม่ได้ยึดติดอยู่กับฟรีทีวีเพียง 4-6 ช่องหลักเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลโดยตรงถึงอำนาจการต่อรองของบรรดายักษ์ ใหญ่รายเดิมไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 หรือช่อง 7 เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาในช่องทางของสื่อทีวียังอยู่มีเท่าเดิมหรือประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนช่องแม้แต่น้อย

ชี้หมดยุคฟรีทีวีเรืองอำนาจ

มี เดียเอเยนซี่รายใหญ่เปิดเผยว่า ทีวีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอีก 24 ช่อง ทำให้อำนาจต่อรองของฟรีทีวี (3, 5, 7, 9) ลดลง และจะไม่เห็นปรากฏการณ์การปรับขึ้นค่าโฆษณาของเจ้าตลาดในแบบเดิมอีกแล้ว แม้ว่าจะมีเรตติ้งสูง แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าโฆษณาเฉลี่ยต่อหัว (CPRP : Cost Per Rating Point) กับช่องรอง ๆที่มีคอนเทนต์ดีกว่า แต่เรตติ้งน้อยกว่า และค่าโฆษณาต่ำกว่า แบรนด์สินค้าและมีเดียเอเยนซี่ก็พร้อมจะย้ายไปลงโฆษณากับช่องที่เรตติ้งรอง ๆ ลงมาเช่นกัน

จากนี้ไปการปรับขึ้นราคาโฆษณาต้องพิจารณาจากผู้เล่น ภายในตลาดประกอบด้วย เพราะทางเลือกมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีเดียเอเยนซี่หรือผู้ซื้อโฆษณายังคงให้ความสำคัญกับเรตติ้ง เป็นหลัก ก่อนจะตัดสินใจซื้อโฆษณาจากช่องใดช่องหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันการวัดผลเรตติ้งทีวีดิจิทัลของนีลเส็นยังไม่มีความชัดเจน

สถิติฟรีทีวีอัพราคาโฆษณา

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาฟรีทีวี 2 รายหลักประกาศขึ้นราคาโฆษณาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ปี 2555 ช่อง 7 ประกาศปรับราคาโฆษณาถึง 3 รอบ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ช่อง 7 ปรับราคาโฆษณาในบางรายการ รวมถึงละครหลังข่าวที่ปรับราคาเป็น 5 แสนบาทต่อนาที และเดือนพฤษภาคมปรับราคาช่วงน็อนไพรมไทม์รวม 7 รายการ

ขณะ ที่ปี 2555 ช่อง 3 ก็ขยับขึ้นราคาโฆษณาถึง 2 ครั้งเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน ตามด้วยปี 2556 ช่อง 3 ปรับราคาโฆษณาขึ้นตั้งแต่ต้นปีด้วยการปรับลดตัวแถมลง รวมทั้งขึ้นราคาบางรายการของสถานีและผู้ผลิตบางราย ล่าสุดต้นปี 2557 ช่อง 3 ปรับราคาโฆษณาขึ้น 10% ในกลุ่มรายการที่ไม่เคยปรับราคา และกลุ่มรายการข่าว

เก็บเรตติ้งยังฝุ่นตลบ

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรกที่ทีวีดิจิทัลออกอากาศ การเก็บตัวอย่างวัดผลของนีสเส็นจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ชมผ่านดาวเทียมและ เคเบิลทีวี จากปัจจุบันคนไทยรับชมทีวีผ่านช่องทางนี้คิดเป็นสัดส่วน 70% ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ เนื่องจาก กสทช.ยังไม่ได้เริ่มแจกคูปองเพื่อนำไปแลกซื้อกล่องรับสัญญาณหรือเครื่องรับ ทีวีระบบดิจิทัลโดยตรง โดยการวัดผลเบื้องต้นพบว่าช่องทีวีดิจิทัล ที่สามารถไต่ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 5 และ 6 รองจากฟรีทีวี 4 ช่องหลักคือ เวิร์คพอยท์ ครีเอทีฟทีวี และช่อง 8 ของอาร์เอส

แหล่งข่าวในวงการ วิจัยการตลาดกล่าวว่า ความไม่มั่นใจในผลลัพธ์ข้อมูลเรตติ้งทีวี เนื่องจากช่องทางการรับชมทีวีดิจิทัลมีหลายช่องทาง ขณะเดียวกันเป็นช่วงการทดลองออกอากาศ มีผลให้ผังรายการยังไม่นิ่ง ทราบมาว่ามีเดียเอเยนซี่ต่าง ๆ ต้องใช้วิธีทำวิจัยคนดูคู่ขนานกันไปกับการวิจัยเรตติ้งของนีลเส็นฯ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ออกมามีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

ก่อน หน้านี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า ปีนี้การใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านช่อง 3, 5, 7, 9 จะโตขึ้น 2% หรือประมาณ 70,800 ล้านบาท ส่วนทีวีดิจิทัลจะมีเม็ดเงินโฆษณาปีแรกประมาณ 4,300 ล้านบาท เนื่องจากเครือข่ายการรับชมครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50% ทั่วประเทศ

ทาง ด้านบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช จำกัด ยืนยันว่า ได้เตรียมความพร้อมเพื่อวัดเรตติ้งการออกอากาศช่องดิจิทัลต่าง ๆ โดยเครื่องวัดระบบพีเพิลมิเตอร์ และในปี 2558 จะใช้เครื่องมือตรวจวัดสัญญาณเสียงระบบดิจิทัล รวมทั้งเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 2,000 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,000 คนในปีนี้ และเพิ่มเป็น 2,200 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,700 คนในปีหน้า

ช่องเพิ่ม ซัพพลาย ทะลัก

นาง พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล "ช่อง 8" กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจทีวีว่า เมื่อทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นทำให้การแข่งขันของธุรกิจทีวีเปลี่ยนไป เรียกว่าเกมพลิก เพราะเรตติ้งของเจ้าตลาดหายไป จากการเกิดขึ้นของผู้เล่นรายใหม่ แม้ว่าจำนวนเรตติ้งอาจหายไปไม่มาก แต่เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับทีวีรายใหม่ ๆ

การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะ เกิดขึ้น 1.ฟรีทีวีรายเก่าไม่สามารถขยับราคาได้เหมือนที่ผ่านมา ที่ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าตลาดปรับราคาขึ้นได้ทุกไตรมาส เพราะความต้องการเวลาโฆษณามีสูง ในทางกลับกันจากนี้ไปโอกาสจะตกเป็นของผู้ซื้อ จากจำนวนช่องที่มากขึ้น ทำให้มีทางเลือกในการซื้อโฆษณาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

2.การเปลี่ยน แปลงในแง่กลุ่มเป้าหมายจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มแมสที่มีฐานคนดูจำนวนมาก เชื่อว่าจะมีอยู่เพียง 3-4 ช่องเท่านั้นที่สามารถสร้างคอนเทนต์รายการเรียกเรตติ้งได้ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นช่องที่มุ่งเจาะเซ็กเมนต์ชัดเจนว่าเจาะผู้ชมกลุ่มไหน

"จำนวน ช่องที่เพิ่มขึ้นทำให้ตลาดกลายเป็นของผู้ซื้อโฆษณา อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วเอเยนซี่จะดูเรตติ้งเป็นหลักก่อนตัดสินใจซื้อโฆษณาจากสถานีใด สถานีหนึ่ง" นางพรพรรณกล่าว

ทีวีดาวเทียมปรับตัวรับ

นาย สยามรัศมิ์ เลาหสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียม "M Channel" กล่าวว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลทำให้ธุรกิจโทรทัศน์เปลี่ยนไปทั้งระบบ ในแง่ของผู้ชมจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการแข่งขันธุรกิจนี้ก็เพิ่มดีกรีขึ้น ทั้งเม็ดเงินลงทุนและคุณภาพของรายการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านมีเดียเอเยนซี่หรือผู้ซื้อโฆษณาต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน เชื่อว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือช่องคุณภาพไม่กี่ช่องเท่านั้นที่อยู่รอด

"การ เกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลทำให้ช่องทีวีดาวเทียมต้องจับตามองใกล้ชิดว่าจะ เปลี่ยนธุรกิจนี้ไปทิศทางใด ขณะที่การปรับขึ้นราคาโฆษณาของช่องทีวีดาวเทียมก็อาจจะต้องชะลอไว้ก่อน"

สำหรับ เอ็มชาแนลปัจจุบันยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่จับตามองอย่างใกล้ชิด รวมถึงปรับกลยุทธ์ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ 1.รักษาแคแร็กเตอร์การเป็นช่องหนัง แตกต่างจากทีวีดิจิทัลที่เน้นรายการวาไรตี้เป็นหลัก 2.การลงทุนของทีวีดาวเทียมที่ต่ำกว่าแต่คุณภาพรายการใกล้เคียงกัน ทำให้บริษัทได้เปรียบเรื่องราคาโฆษณา

"ปัจจุบัน เอ็มชาแนลก็มียอดจองโฆษณาเต็ม ซึ่งมีเดียเอเยนซี่หรือผู้ซื้อโฆษณาก็เข้าใจในคอนเทนต์ของช่องเป็นอย่างดี บวกกับการปรับลดการรีรันลงเหลือ 5-8 ครั้งต่อปีต่อเรื่อง จากเดิมรีรัน 8-10 ครั้งต่อปีต่อเรื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน" นายสยามรัศมิ์กล่าว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400140065

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.