Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

เจาะลึกฉบับบเต็ม!! คลื่นใหม่ dtac 2300 แท้ที่จริงไส้ในทำ 3 Carrier ความเร็วทะลุ 600 Mbps เผยไม่รวม TDD 2300 และ FDD 2100 อย่างแน่นอน



นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เปิดใจในการคุย 2300 insider progrm ซึ่งทาง MAGAWN19 ได้เข้าร่วมสอบถาม ก่อนเปิดให้บริการ TDD 2300 ในวันที่6 มิถุนายน 2561 ซึ่งเปิดเผยเท่าที่ทำได้ เคารพแหล่งข่าวระหว่าง dtac และ @magawn19 ( เป็นช่วงที่ทาง dtac อนุญาตให้เผยแพร่ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างต้องรอวันเปิดตัววันที่ 6 มิถุนายน 2561 ) ดังนั้นทั้งหมดเป็นเรื่องคลื่น TDD แบบเจาะลึก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ในปัจจุบันคนไทยมีการใช้อินเตอร์เน็ตติดถนนเพิ่มสูงขึ้นซึ่งการที่ดีแทคนำเทคโนโลยีที่คลื่น 2300 ระบบ TDD เข้ามาให้บริการนั้นมีข้อดีคือ 1 ความกว้างของ Bandwidth ที่เคยเห็นมีมากกว่า เช่น 2100 และ 1800 มีความกว้างเพียงแค่ 15 MHz จริงๆนั้นคือ 15 × 2 ที่อยู่ขาบนและขาล่าง ทั้งฝั่งอัพโหลดและฝั่งดาวน์โหลดสำหรับระบบ TDD ทาง DTAC ได้รับมาให้บริการมานั้น จำนวน 60 Mbps เป็นการใช้ร่วมกันระหว่างดาวน์โหลดและฝั่งอัพโหลดใช้ร่วมกันอย่างไร สมมุติว่าเปรียบเทียบการแบ่งช่องการจราจร ในอดีตถนนนี้ไม่สามารถปรับแต่งการจราจรได้ เพราะความถี่ของ 3GPP จับไว้อย่างชัดเจนที่ได้กำหนดไว้ว่าฝั่งดาวน์โหลดและฝั่งอัพโหลดต้องอยู่ห่างกันตามที่กำหนด สำหรับคลื่น TDD ได้รับนั้น สามารถจัดแบ่งการจราจรได้อย่างทันทีโดยแบ่งกับที่ time slot จะให้ฝั่งดาวน์โหลดเท่าไรก็ได้ ฝั่งอัพโหลดเท่าไรก็ได้

สามารถจัดสรรขึ้นความถี่ Bandwidth ได้ตามความต้องการซึ่งความดีของระบบ TDD คือ รองรับพฤติกรรมคนไทยในการดาวน์โหลดสิ่งต่างๆในโลกอินเตอร์เน็ตทั้งการค้นหาข้อมูลบน Facebook หรือการใช้งานข้อมูลวิดีโออย่างจริงจังเช่นการสตรีมมิ่งหนังผ่านทาง YouTube ซึ่งสิ่งเหล่านี้ใช้ฝั่งดาวน์โหลดมากกว่าสั่งอัพโหลด ซึ่งทาง FDD ที่มีการตัดแบ่งถนนเท่ากันนั้นมันก็จะมีข้อเสียเปรียบตรงนี้ว่าถนนด้านฝั่งขาขึ้นมีการจราจรหนาแน่น ฝั่งอัพโหลดค่อนข้างกว้างเพราะคนไทยมีการอัพโหลดข้อมูลจะน้อย ถนน download ระหว่างเสาวิทยุมายังสมาร์ทโฟนผู้ใช้จะค่อนข้างหนาแน่นเนื่องจากมีการใช้งานไปถนนมาก ซึ่งถ้าเป็นระบบ TDD ทาง DTAC ก็สามารถแบ่งการจัดสรรขแบ่งช่องจราจรในระบบอินเตอร์เน็ตได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยทาง dtac จะสามารถจัดแบ่ง time slot ได้ดีตามความใช้งาน

2. ฝั่งอัพโหลดและฝั่งดาวน์โหลด อยู่บนความถี่เดียวกันแล้ว เวลาสมาร์ทโฟนของเราส่งสัญญาณคลื่นไปหาเสาวิทยุเสาวิทยุ TDD 2300 ตัวเสาวิทยุ TDD 2300 เองจะมองเห็นว่าคลื่นดังกล่าวผ่านอะไรมาบ้าง แล้วระบบเสาส่งสัญญาณ TDD 2300 จุดนั้นจะปรับจูน ให้ส่งสัญญาณเหมาะสมกับความต้องการในให้บริเวณเสาวิทยุนั้น เนื่องจากเสาวิทยุคลื่น TDD 2300 รับรู้ว่าผ่านอะไรมาบ้างจากข้อมูลบนเสาวิทยุส่งสัญญาณปรับจูนคลื่นใหม่ ซึ่งความสามารถ FDD ทำได้ไม่ดีเท่า เนื่องจากฝั่งสมาร์ทโฟนส่งสัญญาณไปยังเสาวิทยุใช้ความถี่คลื่นความถี่หนึ่งและฝั่งเสาวิทยุส่งสัญญาณไปยังสมาร์ทโฟนใช้อีกหนึ่งคลื่นความถี่ โดยคลื่นความถี่มีระยะห่างอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งข้อมูลความต้องการมายังเสาวิทยุได้อย่างไม่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้องเกิดเทคโนโลยี MIMO ต้องมีค่าส่งวิทยุสูงถึง 32T32R และ 64T64R. ทำให้เราเห็นได้ว่าแผ่นการส่งสัญญาณมีขนาดใหญ่ แล้วทำการ Beamforming แล้วทำการส่งสัญญาณจูนเข้าสู่ระบบในขั้นตอนถัดไป

ซึ่งทางเสาก็จะปรับแต่งคลื่นวิทยุดังกล่าวถัดไป เพื่อให้ได้รับสัญญาณที่แรงที่สุด ซึ่ง FDD จะทำได้ไม่ดีเท่า TDD 3. Call network หรือชุมสาย มีไว้เพื่อตัดแต่งคุณภาพสัญญาณ หากต้องการทำให้ชุมสายมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ต้องซื้อชุมสายใหม่ให้รองรับกับความต้องการหรือขยายตู้ชุมสายไปเรื่อยๆ หากตู้ชุมสายเก่าก็ซื้อใหม่ทันที ซึ่งสิ่งเหล่านี้จากที่เคยเป็นกล่องก็จะเปลี่ยนซอฟต์แวร์ซึ่งทาง DTAC ซื้อเครื่อง Server ธรรมดายี่ห้อไหนก็ได้แล้วเอาซอฟต์แวร์ชุมสายใส่เข้าไปในซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำให้ระบบชุมสายเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์ธรรมดาเครื่องหนึ่ง ถ้าจะขยายความถี่ให้เพิ่มเครื่องก็เพียงนำ Server ดังกล่าวมาติดตั้งเพิ่มในจุดจุดนั้น ข้อดีนั้นทำให้ทาง DTACมีความยืดหยุ่นในการให้บริการเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ทาง DTACสามารถอัพเกรดชุมสายให้รองรับความสามารถ 5G ได้ทันที 4. TDD ยังไม่เคยเปิดให้บริการในประเทศไทยมาก่อน แล้วทำไมไปอยู่ที่ต่างประเทศนั้นระบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากว่าเทคโนโลยีแบบ TDD เป็น เทคโนโลยีที่ใหม่ในอดีตนั้นหากเปรียบเป็นระบบ วอ.(แบบตำรวจที่ชอบใช้กัน) จะมีการแบ่งช่องสัญญาณขาส่งและขารับอย่างชัดเจน สมัย 1G ก็แบ่งช่อง สัญญาณขาส่งและขารับเท่าๆกัน และ 2G 3G ก็แบ่งความถี่ลักษณะนี้ ซึ่งเทคโนโลยีการแบ่งช่องสัญญาณ ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเริ่มเกิดเทคโนโลยีTDD ตัวอย่างเช่นมีผู้ให้บริการรายนี้ตั้งเสาแล้วต้องให้บริการเครื่องลูกข่าย 1000 เครื่อง ถ้าเรานั้นจะต้องแบ่ง time slot ขาดาวน์โหลดและขาอัพโหลดสอง ซึ่งตัวเครื่องต้องเห็นลักษณะการจัดแบ่งเช่นนี้ ในอดีตนั้นอุปกรณ์ต่างๆพัฒนาเรื่องนี้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันระบบที่ TDD ให้บริการถึงประมาณ 60 ประเทศทั้งบนคลื่น 2300 ( Band 40) 2600 ประเทศจีนเป็นหัวหอกที่สำคัญที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีนี้และเทคโนโลยีดังกล่าวเกิดการพัฒนาการใช้เป็นประเทศแรกๆ
เนื่องจากประเทศจีนมีประชากร 1,000,000,000 คนและประเทศจีนก็เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์รายใหญ่ทั้งหัวเว้ยและ ZTE และเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อีกด้วย พอประเทศจีนเริ่มขยับในการใช้งานระบบ TDD ทำให้ เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันทาง DTAC ได้ทำการเทสเครื่องลูกค้าที่มีอยู่ในประเทศไทย หลายยี่ห้อ สำหรับเครื่องที่ขายในศูนย์ให้บริการ DTAC ในขณะนี้ทุกเครื่องรองรับระบบ TDD โดยเฉพาะผู้ที่ใช้โทรศัพท์ iPhone ตั้งแต่รุ่น 5s เป็นต้นไป สามารถใช้งานได้เพียงดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพิ่ม Samsung ตั้งแต่ รุ่น S7 เป็นต้นไป สามารถใช้งานได้

คำถามคำตอบ -โดยปกตินั้นการตั้งเสาสัญญาณวิทยุนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งเสาสัญญาณกระจายสัญญาณออกจากตัวเสา ซึ่งการทำ Beamforming หลักการง่ายง่ายเหมือนกับเอากระจกมาล้อมรอบเสาเอาไว้สัญญาณจากเด้งไปข้างหน้ามันก็จะเด้งมาข้าง หลังจากสัญญาณเด้งมาจากข้างหลังก็จะเด้งไปข้างหน้า ซึ่งการทำแบบ MIMO เหมือนเวลาที่เราโยนหินเป็นยังบ่อน้ำนั้นแล้วเกิดวงแหวนก็จะกระจัดกระจายไป แต่ถ้าเราโยนหินสองก้อนไปพร้อมกันวงที่อยู่ตรงกลางของคลื่นก็จะมีการมาชนกัน เวลาที่เราเห็นวงตรงกลางมันก็จะเกิดการฟอร์มคลื่นใหม่ บางทีสัญญาณจะแรงขึ้นบางที่สัญญานจะอ่อนลง ซึ่งแทนที่จะเราจะทำก็เห็นสองหรือสามเราก็จะทำ 64 ก้อน พร้อมกันแล้วทำให้มันมีความฉลาดเพิ่มเติม ซึ่งถ้าเราต้องการจริงคลื่นไปยังสมาร์ทโฟนให้แรงขึ้นเราก็จะ ส่งสัญญาณไปตรงๆไปยังสมาร์ทโฟนได้อย่างทันทีโดยไม่ต้องวิ่งไปที่อื่น สมาร์ทโฟนอยู่ตรงไหนคลื่นก็จะวิ่งไปตรงนั้น

- FDD จะเอามา CA กับ TDD ไม่ครับ ยังครับ ทางเทคนิคเป็นไปได้และทางDTACก็ทำการเทสเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ในวันเปิดใช้บริการระบบนี้ทาง DTACจะยังไม่ทำการให้บริการการรวมเทคโนโลยี TDD และ FDD เนื่องจากคลื่น 2300 มีชื่อว่า dtac-t หรือ 52047 มีชื่อที่ต่างกัน และที่สำคัญ TDD ของทาง DTAC ให้บริการบน 60 MHz จริงๆแล้วที่เราเห็นว่ามี 60 MHz ภายในแบ่งออกเป็น 3 Carrier (โดยมาตราฐานจริง 1 Carrier มี 20Mbps ) ทางStacy ต้องแบ่งเป็น 3 Carrier ( 20 +20+20 Mbps ) ซึ่งเครื่องสมาร์ทโฟนต้องทำการส่งสัญญาณได้สูงถึง 3 Carrier ก็จะได้ความเร็วสูงได้เต็มประสิทธิภาพ ( Magawn19ได้ เห็นภาพการทดสอบแต่ไม่นำภาพสามารถนำออกมาเผยแพร่ได้ได้ความเร็วอยู่ที่เกิน 500 ถึง 600 Mbps) บางเครื่องไม่สามารถทำ Carrier ได้ก็จะรับได้เพียง 1 Carrier เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้คลื่น 2300 ได้เต็ม 60MHz IPhone รับได้เพียง 2 Carrier เท่านั้น Samsung S9 รับได้เพียง ถึง 3 Carrier ซึ่งรุ่นนี้สามารถรับได้หมด แต่บางรุ่นก็ไม่สามารถทำ 256 QAM ได้ พวกนี้ก็สามารถกำหนดความเร็วในการดาวน์โหลดอัพโหลดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่ดีแทคกำลังจะพูดคือความจุและความกว้างของเครื่องที่ใหญ่กว่าผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งมีถนนรองรับความกว้างในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้บริการจะมีเครื่องสมาร์ทโฟนที่มีความสามารถวิ่งบนถนนขนาดกว้าง ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ - ทุกที่ที่มีคลื่น 2100 จะมี 2300 ตามไปด้วยหรือไม ทาง DTAC จะพยายามเปิดตัวเครื่อง 2300 ให้ครบทุกที่ซึ่งแผนการพัฒนาระบบ 2300 จะเปิดเผยอีกทีในวันที่ 6 มิถุนายน 2561 โดยเบื้องต้นจะไปในที่ที่มีการใช้งานมาก


-คลื่น 2300 เจาะเข้าอาคารได้ไม ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับการทำแผนการพัฒนาเครือข่ายไม่ว่าคลื่นเช่นเดียวกัน 900 เมกะเฮิรตซ์หรือคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ ต้องมีการทำแผนการพัฒนาเครือข่ายให้มีจำนวนมากให้คลื่นสามารถเข้ามาในตึกให้ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่อยากให้เข้าใจมาตรฐานทั่วไปคือคลื่นความถี่สูงขึ้น ก็จะทะลุอาคารได้ลำบาก นี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งทาง Dtac ได้ เตรียมโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความถี่ของการตั้งเสาเพิ่มมากขึ้น ปีที่แล้วได้ทำโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเป็นจำนวน 4000 แห่งและปีนี้ก็ต้องเพิ่มอีก 4000 แห่ง

ซึ่งเสาสัญญาณที่มีความถี่ในการให้บริการสูงขึ้นก็จะแก้ปัญหาการให้บริการคลื่น 2300 ได้ ในปัจจุบันคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์และคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์มีสัดส่วนในการครอบคลุมหรือการกระจายรัศมีของสัญญาณไม่ได้แตกต่างกันมาก เช่น หากเราเห็นเครื่อง 2100 ขึ้นบนหน้าโทรศัพท์มี 3 ขีด แล้วใช้ 2300 ก็จะเจอ 2ขีดครึ่ง ซึ่งการใช้งานคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์หรือ 2300 ที่ไม่หนาแน่นก็จะไม่เกิดการหดตัวของคลื่นความถี่ดังกล่าว


แต่หากพื้นที่ใดมีความหนาแน่นในการใช้งานขึ้นความถี่นั้นก็จะเกิดการกดตัวสูง เช่น มีการใช้งานคลื่นความถี่ 2100หรือ1800 เมกะเฮิรตซ์สูงขึ้นความถี่ดังกล่าวจะทำการหดตัวของรัศมีลงทันที ดังนั้นหากคลื่นความถี่ที่ใช้งานบริเวณนั้นไม่ได้ใช้งานสูงก็มีความสามารถกระจายรัศมีให้ครอบคลุมเกิน 1 กิโลเมตรได้เช่นเดียวกันเพราะคลื่นความถี่นั้นไม่ได้ทำการหดตัว -เครื่องสมาร์ทโฟนจะใช้เครื่อง 2100 หรือ 2300 เมกะเฮิรตซ์ก่อนกัน เราจะดูจากการใช้งานบริเวณนั้นเป็นหลักโดยปกตินั้นคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ มีอัตราส่วนความว่างของการใช้งานเครื่องที่มีจำนวนมากกว่า เนื่องจากมีแบนด์วิดท์ที่กว้างกว่า 2100 เมกะเฮิรตซ์และมีเครื่องจำนวนการใช้งานเครื่อง 2300 เมกะเฮิรตซ์ที่มีจำนวนเฉพาะ ตามหลักการนั้นแน่นอนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ต้องมี ปริมาณการรองรับการให้บริการที่มากกว่า 2100 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นทาง DTACจะให้สมาร์ทโฟนที่สามารถจัดเครื่อง 2300 เมกะเฮิรตซ์ก่อน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งนี้ คลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์จะนำมาช่วยให้บริการในเมืองเป็นส่วนใหญ่และคลื่น 2100 เม็กกะเฮิร์ทจะนำมาให้บริการทั่วประเทศเพื่อให้สัญญาณดีแทคครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นเครื่อง 2100 จึงมีหน้าที่ในการทำให้เครื่องดีแทคครอบคลุมประเทศไทยมากที่สุดและคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์นำมา ช่วยให้บริการความจุของโครงข่ายการใช้งานอินเตอร์เน็ต -กรณี 60 และ 40 DTAC จะมีการแบ่งคลื่นกันอยู่ที่สัดส่วน 60 40 วัดกันที่ความจุของโครงข่ายเป็นหลักสมมุติว่า. ในการให้บริการระบบ TDD แล้วคำนวณความจุโครงข่ายเป็นเท่าไร ซึ่งทางDTACเองมีสิทธิ์ที่จะใช้ความจุอยู่ที่ 60% เมื่อถึงกรณีที่ลูกค้าใช้งานอินเตอร์เน็ตบนเครื่องความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์เต็มอยู่ในระดับ 60% ของโครงข่ายในจุดนั้น
เรามีสิทธิ์ใช้เพียงเท่านั้น 60% ดังนั้นไม่เกี่ยวกับความเร็วในการให้บริการอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.