Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ตุลาคม 2555 ( แท็บเล็ต เด็ก มัธยมศึกษาปีที่ 1 จะเกิดขึ้นอีกแล้ว !!! ) ซึ่งจะจัดซื้อในภาคเรียนที่ 2 ปี 2555 พร้อมครูและเน็ต

( แท็บเล็ต เด็ก มัธยมศึกษาปีที่ 1 จะเกิดขึ้นอีกแล้ว !!! ) ซึ่งจะจัดซื้อในภาคเรียนที่ 2 ปี 2555 พร้อมครูและเน็ต


ประเด็นหลัก

ภายหลังการหารือนายสุชาติเปิดเผย ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตสำหรับเด็กชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 ซึ่งจะจัดซื้อเพิ่มเติมต้นปี 2556 และการจัดซื้อสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งจะจัดซื้อในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555? โดยในส่วนของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ที่ประชุมมีมติจะเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่จัดซื้อระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ จีทูจี มาเป็นการเปิดประมูลหรือจัดทำอีอ็อคชั่นภายในประเทศ โดยจะเปิดโอกาสให้บริษัททั่วไปทั้งของไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประมูลอย่าง เท่าเทียม เพราะการประมูลครั้งนี้เป็นการจัดซื้อในจำนวนมาก ดังนั้น อาจต้องเปิดประมูล 3 — 4 ครั้ง โดยขณะนี้ให้ฝ่ายประมูลไปหาวิธีการว่าในการเปิดประมูลจัดซื้อแต่ละล็อตจะ ซื้อล็อตละกี่เครื่อง ?รวมถึงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตสำหรับครูที่ใช้ในห้องเรียนโดยจะมีสเป็คที่ สูงกว่าเครื่องที่แจกนักเรียนด้วย



_______________________________

เปลี่ยนวิธีจัดซื้อแท็บเล็ตล็อตใหม่ใช้อีอ๊อคชั่น


เมื่อ วันที่ 5 ตุลาคม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตพกพาต่อ 1 นักเรียน ?มีนายสุชาติ ?ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน และมีน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ (ไอซีที) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เข้าร่วม

ภายหลังการหารือนายสุชาติเปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตสำหรับเด็กชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 ซึ่งจะจัดซื้อเพิ่มเติมต้นปี 2556 และการจัดซื้อสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งจะจัดซื้อในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555? โดยในส่วนของวิธีการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ที่ประชุมมีมติจะเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่จัดซื้อระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ จีทูจี มาเป็นการเปิดประมูลหรือจัดทำอีอ็อคชั่นภายในประเทศ โดยจะเปิดโอกาสให้บริษัททั่วไปทั้งของไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประมูลอย่าง เท่าเทียม เพราะการประมูลครั้งนี้เป็นการจัดซื้อในจำนวนมาก ดังนั้น อาจต้องเปิดประมูล 3 — 4 ครั้ง โดยขณะนี้ให้ฝ่ายประมูลไปหาวิธีการว่าในการเปิดประมูลจัดซื้อแต่ละล็อตจะ ซื้อล็อตละกี่เครื่อง ?รวมถึงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตสำหรับครูที่ใช้ในห้องเรียนโดยจะมีสเป็คที่ สูงกว่าเครื่องที่แจกนักเรียนด้วย

“เหตุที่เปลี่ยนจากจัดซื้อจาก ประเทศจีนแบบจีทูจี มาจัดซื้อในประเทศเพราะเห็นว่า จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟแวร์และฮาร์ทแวร์ของไทย และยังจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขั้นกันทั้งบริษัทในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจมวลรวม หรือ จีดีพี ของประเทศไทยได้ และเชื่อว่าในอนาคตในประเทศไทยจะมีการผลิตแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น ด้วย”ศ.ดร.สุชาติ กล่าว

ด้านน.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า ภายในปีการศึกษา 2556 ทุกโรงเรียนในทุกสังกัดจะได้รับบริการระบบอินเตอร์เน็ตที่ครบถ้วน โดยขณะนี้ไอซีทีดำเนินการไปแล้ว 24% ของโรงเรียนทั่วประเทศ ขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่เหลือมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพียงแต่ความเร็วไม่มากทำให้ไม่สามารถใช้งานแท็บเล็ตระบบออนไลน์ได้ทีละหลาย เครื่อง ทั้งนี้ มองการเปิดประมูลอีอ็อคชัน ว่าจะช่วยจัดซื้อให้ได้แท็บเล็ตให้ได้ราคาถูก และมีคุณภาพตามที่กำหนด แต่สำหรับรายละเอียดสเป็คเครื่องที่จะจัดซื้อชุดใหม่นั้น ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะที่ประชุมวันนี้หารือเพียงนโยบายการจัดซื้อเท่านั้น แต่ก็คาดว่าการประชุมคณะกรรมการฯครั้งหน้าจะมีความชัดเจนเรื่องแนวทางการจัด ซื้อมากขึ้น

ขณะที่นายชินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้แท็บเล็ตล็อตที่ 2 กว่า 400,000 เครื่องอยู่ในกระบวนการตรวจรับของไอซีที โดยยังถือว่าเป็นไปตามกำหนดเวลาที่จะต้องจัดส่งไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ภายในกลางเดือนตุลาคม นอกจากนั้น ในปีการศึกษาหน้าจะจัดซื่อเครื่องแท็บเล็ตล็อตใหม่สำหรับชั้นป. 1 จำนวน 558,077 เครื่องวงเงินงบประมาณ 1,563 ล้านบาท ส่วนชั้นม. 1 จำนวน 637,751 เครื่องงบประมาณ 1,918 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเข้าระบบอินเตอร์เน็ตภายหลังมีการดำเนินการกว่า 4 เดือนที่ผ่านมา พบมีความถี่ของการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน มิ.ย.นั้น ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ปล่อยคาราวานแท็บเล็ตไปยังเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อกระจายต่อไปยังโรงเรียน พบว่า มีการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อเครื่องจำนวน 1,400 ครั้ง เดือน และเพิ่มมากขึ้นในเดือนต่อ ๆ มา คือ เดือน ก.ค.เข้าใช้จำนวน 14,228 ครั้ง เดือน ส.ค. เข้าใช้ 107,000 ครั้งและ ล่าสุดเดือน ก.ย.เข้าใช้งานสูงถึง 460,000 ครั้ง

“จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่านักเรียนมีความสนใจ เข้าใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนปัญหาต่างๆที่พบจากตัวเครื่องยังมีไม่มาก ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีเพียง 0.05 % ซึ่งเป็นจำนวนที่ยอมรับได้ และเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามในส่วนที่รับผิดชอบ ก็จะรับเอาปัญหาเหล่านี้มาเป็นมาตรการเสริม ในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีก” นายชินภัทร กล่าว

http://www.ryt9.com/s/nnd/1503520


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.