Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ตุลาคม 2555 ข่าวค่ำ!! cybercityclub ไอที 2 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 08 / 10 / 2555 By So Magawn ( โส มกร )

ข่าวค่ำ!! cybercityclub ไอที 2 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 08 / 10 / 2555 By So Magawn ( โส มกร )



1.... สถิติใหม่ในประเทศไทย !!! ความเร็วสูงสุด 150 Mbps กับ 4G DTAC คลื่น 1800 ( บริเวณสยามสแควร์และอาคารจัตุรัส )
2.... ( กสทช. ต้องแสดงความคิดเห็นได้แล้ว ) !!! อีกไม่นานเวลาเล่น INTERNET กฎใหม่คลิกทุกครั้งต้องจ่ายตังค์

สถิติใหม่ในประเทศไทย !!! ความเร็วสูงสุด 150 Mbps กับ 4G DTAC คลื่น 1800 ( บริเวณสยามสแควร์และอาคารจัตุรัส )

ประเด็นหลัก

นาย ประเทศ ตันกุรานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “เราได้เริ่มการทดสอบเครือข่ายการสื่อสารเทคโนโลยี 4จี บนคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ในเขตกรุงเทพฯ บริเวณสยามสแควร์และอาคารจัตุรัสจามจุรี หลังได้รับความเห็นชอบจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 โดยผลการทดสอบที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจมาก”

http://www.ryt9.com/s/iq05/1504777
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/4601-dtac-4-150-mbps
_________________________________

( กสทช. ต้องแสดงความคิดเห็นได้แล้ว ) !!! อีกไม่นานเวลาเล่น INTERNET กฎใหม่คลิกทุกครั้งต้องจ่ายตังค์

ประเด็นหลัก

น.ส.ดวง ทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวถึงเนื้อหาของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ตกลงให้มีการ แก้ไข ว่า เกือบ 2 ปีของการแก้ไขเนื้อหา พบว่ามี 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย อิหร่าน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งมีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่แก้ไข ซึ่งประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลยังไม่แสดงท่าทีต่อประเด็นดังกล่าว

น.ส.ดวง ทิพย์ ยกตัวอย่างขอบเขตสนธิสัญญาที่แก้ไข ว่า หนึ่งในเรื่องที่แก้ไขเนื้อหา คือการใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส (ไอพี แอดเดรส) ซึ่งระบุว่าประเทศสมาชิกต้องหาวิธีใดวิธีหนึ่งในการคิดค่าบริการจากผู้ให้ บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุก ครั้ง และเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยเก็บเงินทั้งจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของ โทรศัพท์มือถือ

“ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเนื้อหาสนธิสัญญานี้ คือ เมื่อไหร่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปยังเนื้อหา หรือข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้งานจะถูกเก็บค่าบริการ ซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่โปรโมตสินค้าและห้องพักทางอินเทอร์ เน็ตเพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาซึ่งต้องจ่ายค่าบริการจากการนำเสนอข้อมูลบนเว็บ ไซต์ ขณะที่นักเรียน นักศึกษาก็ต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหา”

http://www.dailynews.co.th/technology/159461


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.