16 กุมภาพันธ์ 2555 (ต่อ) กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G //ล่อTOTต้องยอมสมัครใจ40ส่วนที่เหลือ24จะออกใบอนุญาตเชิงพาณิชย์ทำWIMAXได้
(ต่อ) กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G //ล่อTOTต้องยอมสมัครใจ40ส่วนที่เหลือ24จะออกใบอนุญาตเชิงพาณิชย์ทำWIMAXได้
ต้นเหตุของข่าว....
กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G // DTACขยับแถมความถี่1800ด่วน // TOT 2300ไม่ได้ใช้ต้องคืนมา/MCOT 2600 ตั้งกรรมการคืนคลื่น
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=14-02-2012&group=7&gblog=199
ประเด็นหลัก
ทั้ง นี้ หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมายัง กสทช.จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ ทีโอทียังคงเหลือคลื่นอีก 24 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทีโอทีถือว่าได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิในคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นโดยไม่ต้องประมูล อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช.กำลังตกลงกับทีโอที คือทีโอทีจะได้สิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น แต่หากทีโอทียอมคืนคลื่นมายัง กสทช.ก็จะออกใบอนุญาตใหม่ สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ อาทิ บริการบรอดแบนด์ หรือบริการไว-แม็กซ์ ซึ่งจะทำให้ทีโอทีขยายการให้บริการได้ “ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า แต่ตามสิทธิเก่าแก่ที่ได้รับจะใช้เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา เพื่อที่ กสทช.ก็จะได้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่นได้”
__________________________________________________________
กสทช.ยืมมือไอซีทีจี้ทีโอทีคืนคลื่น2.3กิกะเฮิรตซ์
กสทช.เล็งตั้งคณะกรรมการร่วมไอซีที เรียกคืนคลื่น 2.3 จากทีโอที หวังได้ผลดีกว่าทำเอง ชี้ขณะนี้ทีโอทีกอดคลื่นแถบกว้างที่สุดในประเทศ
แต่ กลับให้บริการเพียงตู้สาธารณะเท่านั้น เผยเงื่อนไขหากยอมคืนคลื่นโดยดี กสทช.พร้อมออกไลเซ่นใหม่ให้ทำบรอดแบนด์ - 4จีได้ทันที ไม่ต้องเข้าประมูลเหมือนเอกชน
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า กสทช.มีแผนตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ศึกษาความเป็นไปและเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) จาก บมจ.ทีโอที ที่ถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์อยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดย กสทช.หวังว่า จะเรียกคืนคลื่นความถี่ได้ 40 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่น) ให้บริการ 4จี (แอลทีอี) จำนวน 2 ใบ
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้หารือรายละเอียดเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการกับ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที และคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีในวันที่ กสทช.อนุญาตให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดทดสอบ 4จีทั้งย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ และย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี เพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ของประชากร และเมื่อประเทศไทยมีคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ 4จีก็น่าจะนำมาให้บริการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เขาระบุ หากการตั้งคณะกรรมการร่วมกับไอซีทีเสร็จ จะหารือรายละเอียด ว่า หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมา และทีโอทีเหลือ 24 เมกะเฮิรตซ์สำหรับให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ทีโอทีจะได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นที่ยังต้องแข่งประมูลใบอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช. กำลังตกลงกับทีโอที คือ ปัจจุบันทีโอทีได้สิทธิบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ซึ่งทีโอทีได้ใช้คลื่นย่านดังกล่าวสำหรับบริการโทรศัพท์ตู้สาธารณะในพื้นที่ ห่างไกล แต่หากยอมคืนคลื่น กสทช. จะออกใบอนุญาตใหม่สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ เช่น บริการบรอดแบนด์ หรือไว-แม็กซ์
"ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า กับจำนวนที่ถือครองอยู่ ซึ่งตามสิทธิเก่าแก่ที่เขาได้รับคือได้คลื่น 2.3 ไปเพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา และ กสทช. จะออกไลเซ่นอนุญาตให้ทีโอทีใช้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่น"
ส่วน คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องเจรจากับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้คืนคลื่น หรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่บริษัททรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราว ก.ย. 2556 เนื่องจากคลื่นของทั้งคู่ ต่างมีแถบความถี่แคบรายละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4จี โดยคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง
"ดีแทคถือครองสิทธิใช้งานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราว 50 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่ามีแถบความถี่กว้างมาก หากยอมแบ่งคลื่นบางส่วนที่ติดกับทรูมูฟ และดีพีซี กสทช. จะมีแถบคลื่นความถี่กว้างพอจะเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่ 1 - 2 ใบ ไม่ใช่ต้องปล่อยคลื่นทิ้งเสียเปล่าไปจนกว่าสัมปทานดีแทคจะหมดอายุปี 2561 ซึ่งเท่าที่เจรจาอยู่มีสัญญาณที่ดีว่า อาจจะประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นนี้ได้ปลายปี 2557 หรือต้นปี 2558"
ขณะ ที่การประชุมบอร์ด กสทช.วันนี้ (15 ก.พ.) บอร์ด กทค.จะเสนอตั้งคณะอนุกรรมการตีความมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2554 ทำหน้าที่ตีความบทบัญญัติมาตรา 46 (2) ที่ระบุว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง
คณะอนุกรรมการจะศึกษารายละเอียดสัญญา โครงการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3จีเอชเอสพีเอระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจะพยายามให้ได้ข้อสรุปการทำสัญญาดังกล่าวขัดต่อมาตรา 46 หรือไม่
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120215/436
210/%A1%CA%B7%AA.%C2%D7%C1%C1%D7%CD%E4%CD%A
B%D5%B7%D5%A8%D5%E9%B7%D5%E2%CD%B7%D5%A4%D7
%B9%A4%C5%D7%E8%B92.3%A1%D4%A1%D0%E0%CE%D4%
C3%B5%AB%EC.html
__________________________________________________________________________
กสทช.รุกคืบยึดคลื่นทีโอที-ดีแทค หลังพบตุนไว้เพียบแต่ไม่ต่างจาก "ไก่ได้พลอย"
Pic_238503
กสทช.รุด ถกกระทรวงไอซีทีเร่งจัดระเบียบการใช้คลื่นความถี่ให้คุ้มค่า จ่อรุกคืบเรียกคืนคลื่นมือถือจาก ทีโอที–ดีแทค หลังพบถูกซุกไว้ไม่ใช้งานอยู่อีกอื้อ เผยทีโอทีตุนคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ไว้ตรึม แต่กลับนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เตรียมรุกคืบขอคลื่นมาเปิดบริการ 4 จี
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า จากการหารือเบื้องต้นกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อร่วมกันศึกษา การใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน โดยเฉพาะการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อนำมาจัดสรรใหม่นั้น พบว่าในปัจจุบันทีโอทีถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ไว้จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ โดย กสทช.คาดหวังว่าจะสามารถเรียกคืนคลื่นความถี่จากทีโอทีได้จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่น) ให้บริการ 4 จี (แอลทีอี) จำนวน 2 ใบ
“ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการกับ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีในเบื้องต้นแล้ว เพราะคลื่นย่านดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกิจการให้บริการอินเตอร์ เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงได้ ซึ่งเทคโนโลยี 4 จี หรือแอลทีอีนั้น เหมาะที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมากกว่าการโทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร”
ทั้ง นี้ หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมายัง กสทช.จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ ทีโอทียังคงเหลือคลื่นอีก 24 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทีโอทีถือว่าได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิในคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นโดยไม่ต้องประมูล อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช.กำลังตกลงกับทีโอที คือทีโอทีจะได้สิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น แต่หากทีโอทียอมคืนคลื่นมายัง กสทช.ก็จะออกใบอนุญาตใหม่ สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ อาทิ บริการบรอดแบนด์ หรือบริการไว-แม็กซ์ ซึ่งจะทำให้ทีโอทีขยายการให้บริการได้ “ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า แต่ตามสิทธิเก่าแก่ที่ได้รับจะใช้เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา เพื่อที่ กสทช.ก็จะได้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่นได้”
ในส่วน คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น ต้องเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพื่อให้คืนคลื่นหรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่ บริษัททรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราว ก.ย.2556 เนื่องจากคลื่นของทั้ง 2 บริษัทมีแถบความถี่แคบเพียง 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4 จีได้ และมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง
ทั้งนี้ ดีแทคถือครองสิทธิใช้งานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราว 50 เมกะเฮิรตซ์ แต่ไม่ได้ใช้งานทั้งหมด หากยอมแบ่งคลื่นให้บางส่วนที่ติดกับทรูมูฟและดีพีซีทาง กสทช.ก็จะมีแถบคลื่นความถี่ที่กว้างพอจะเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่ได้
1-2 ใบ ไม่ใช่ต้องปล่อยคลื่น 1800 ไร้ประโยชน์ไปจนกว่าสัมปทานดีแทคจะหมดอายุในปี 2561 และจากการเจรจาเบื้องต้นกับดีแทค มีสัญญาณที่ดีว่าอาจจะมีการประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นนี้ได้ในประมาณปลายปี 2557 หรือต้นปี 2558.
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/238503
ต้นเหตุของข่าว....
กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G // DTACขยับแถมความถี่1800ด่วน // TOT 2300ไม่ได้ใช้ต้องคืนมา/MCOT 2600 ตั้งกรรมการคืนคลื่น
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=14-02-2012&group=7&gblog=199
ประเด็นหลัก
ทั้ง นี้ หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมายัง กสทช.จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ ทีโอทียังคงเหลือคลื่นอีก 24 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทีโอทีถือว่าได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิในคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นโดยไม่ต้องประมูล อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช.กำลังตกลงกับทีโอที คือทีโอทีจะได้สิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น แต่หากทีโอทียอมคืนคลื่นมายัง กสทช.ก็จะออกใบอนุญาตใหม่ สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ อาทิ บริการบรอดแบนด์ หรือบริการไว-แม็กซ์ ซึ่งจะทำให้ทีโอทีขยายการให้บริการได้ “ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า แต่ตามสิทธิเก่าแก่ที่ได้รับจะใช้เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา เพื่อที่ กสทช.ก็จะได้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่นได้”
__________________________________________________________
กสทช.ยืมมือไอซีทีจี้ทีโอทีคืนคลื่น2.3กิกะเฮิรตซ์
กสทช.เล็งตั้งคณะกรรมการร่วมไอซีที เรียกคืนคลื่น 2.3 จากทีโอที หวังได้ผลดีกว่าทำเอง ชี้ขณะนี้ทีโอทีกอดคลื่นแถบกว้างที่สุดในประเทศ
แต่ กลับให้บริการเพียงตู้สาธารณะเท่านั้น เผยเงื่อนไขหากยอมคืนคลื่นโดยดี กสทช.พร้อมออกไลเซ่นใหม่ให้ทำบรอดแบนด์ - 4จีได้ทันที ไม่ต้องเข้าประมูลเหมือนเอกชน
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า กสทช.มีแผนตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ศึกษาความเป็นไปและเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) จาก บมจ.ทีโอที ที่ถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์อยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดย กสทช.หวังว่า จะเรียกคืนคลื่นความถี่ได้ 40 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่น) ให้บริการ 4จี (แอลทีอี) จำนวน 2 ใบ
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้หารือรายละเอียดเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการกับ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที และคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีในวันที่ กสทช.อนุญาตให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดทดสอบ 4จีทั้งย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ และย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี เพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ของประชากร และเมื่อประเทศไทยมีคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ 4จีก็น่าจะนำมาให้บริการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เขาระบุ หากการตั้งคณะกรรมการร่วมกับไอซีทีเสร็จ จะหารือรายละเอียด ว่า หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมา และทีโอทีเหลือ 24 เมกะเฮิรตซ์สำหรับให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ทีโอทีจะได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นที่ยังต้องแข่งประมูลใบอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช. กำลังตกลงกับทีโอที คือ ปัจจุบันทีโอทีได้สิทธิบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ซึ่งทีโอทีได้ใช้คลื่นย่านดังกล่าวสำหรับบริการโทรศัพท์ตู้สาธารณะในพื้นที่ ห่างไกล แต่หากยอมคืนคลื่น กสทช. จะออกใบอนุญาตใหม่สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ เช่น บริการบรอดแบนด์ หรือไว-แม็กซ์
"ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า กับจำนวนที่ถือครองอยู่ ซึ่งตามสิทธิเก่าแก่ที่เขาได้รับคือได้คลื่น 2.3 ไปเพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา และ กสทช. จะออกไลเซ่นอนุญาตให้ทีโอทีใช้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่น"
ส่วน คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องเจรจากับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้คืนคลื่น หรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่บริษัททรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราว ก.ย. 2556 เนื่องจากคลื่นของทั้งคู่ ต่างมีแถบความถี่แคบรายละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4จี โดยคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง
"ดีแทคถือครองสิทธิใช้งานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราว 50 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่ามีแถบความถี่กว้างมาก หากยอมแบ่งคลื่นบางส่วนที่ติดกับทรูมูฟ และดีพีซี กสทช. จะมีแถบคลื่นความถี่กว้างพอจะเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่ 1 - 2 ใบ ไม่ใช่ต้องปล่อยคลื่นทิ้งเสียเปล่าไปจนกว่าสัมปทานดีแทคจะหมดอายุปี 2561 ซึ่งเท่าที่เจรจาอยู่มีสัญญาณที่ดีว่า อาจจะประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นนี้ได้ปลายปี 2557 หรือต้นปี 2558"
ขณะ ที่การประชุมบอร์ด กสทช.วันนี้ (15 ก.พ.) บอร์ด กทค.จะเสนอตั้งคณะอนุกรรมการตีความมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2554 ทำหน้าที่ตีความบทบัญญัติมาตรา 46 (2) ที่ระบุว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง
คณะอนุกรรมการจะศึกษารายละเอียดสัญญา โครงการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3จีเอชเอสพีเอระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจะพยายามให้ได้ข้อสรุปการทำสัญญาดังกล่าวขัดต่อมาตรา 46 หรือไม่
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120215/436
210/%A1%CA%B7%AA.%C2%D7%C1%C1%D7%CD%E4%CD%A
B%D5%B7%D5%A8%D5%E9%B7%D5%E2%CD%B7%D5%A4%D7
%B9%A4%C5%D7%E8%B92.3%A1%D4%A1%D0%E0%CE%D4%
C3%B5%AB%EC.html
__________________________________________________________________________
กสทช.รุกคืบยึดคลื่นทีโอที-ดีแทค หลังพบตุนไว้เพียบแต่ไม่ต่างจาก "ไก่ได้พลอย"
Pic_238503
กสทช.รุด ถกกระทรวงไอซีทีเร่งจัดระเบียบการใช้คลื่นความถี่ให้คุ้มค่า จ่อรุกคืบเรียกคืนคลื่นมือถือจาก ทีโอที–ดีแทค หลังพบถูกซุกไว้ไม่ใช้งานอยู่อีกอื้อ เผยทีโอทีตุนคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ไว้ตรึม แต่กลับนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เตรียมรุกคืบขอคลื่นมาเปิดบริการ 4 จี
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า จากการหารือเบื้องต้นกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อร่วมกันศึกษา การใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน โดยเฉพาะการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อนำมาจัดสรรใหม่นั้น พบว่าในปัจจุบันทีโอทีถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ไว้จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ โดย กสทช.คาดหวังว่าจะสามารถเรียกคืนคลื่นความถี่จากทีโอทีได้จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่น) ให้บริการ 4 จี (แอลทีอี) จำนวน 2 ใบ
“ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการกับ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีในเบื้องต้นแล้ว เพราะคลื่นย่านดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกิจการให้บริการอินเตอร์ เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงได้ ซึ่งเทคโนโลยี 4 จี หรือแอลทีอีนั้น เหมาะที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมากกว่าการโทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร”
ทั้ง นี้ หากทีโอทียอมคืนคลื่นด้วยความสมัครใจมายัง กสทช.จำนวน 40 เมกะเฮิรตซ์ ทีโอทียังคงเหลือคลื่นอีก 24 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทีโอทีถือว่าได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เพราะได้สิทธิในคลื่น 2.3 ก่อนผู้ประกอบการรายอื่นโดยไม่ต้องประมูล อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ กสทช.กำลังตกลงกับทีโอที คือทีโอทีจะได้สิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น แต่หากทีโอทียอมคืนคลื่นมายัง กสทช.ก็จะออกใบอนุญาตใหม่ สำหรับประกอบกิจการประเภทอื่นในเชิงพาณิชย์ อาทิ บริการบรอดแบนด์ หรือบริการไว-แม็กซ์ ซึ่งจะทำให้ทีโอทีขยายการให้บริการได้ “ยอมรับว่าทีโอทีใช้คลื่นไม่คุ้มค่า แต่ตามสิทธิเก่าแก่ที่ได้รับจะใช้เพื่อบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้ธุรกิจตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีแต่จะถดถอยลง ดังนั้น ทีโอทีก็ควรจะคืนคลื่นมา เพื่อที่ กสทช.ก็จะได้นำคลื่นไปใช้งานหรือให้บริการในรูปแบบอื่นได้”
ในส่วน คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น ต้องเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพื่อให้คืนคลื่นหรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่ บริษัททรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราว ก.ย.2556 เนื่องจากคลื่นของทั้ง 2 บริษัทมีแถบความถี่แคบเพียง 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4 จีได้ และมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง
ทั้งนี้ ดีแทคถือครองสิทธิใช้งานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราว 50 เมกะเฮิรตซ์ แต่ไม่ได้ใช้งานทั้งหมด หากยอมแบ่งคลื่นให้บางส่วนที่ติดกับทรูมูฟและดีพีซีทาง กสทช.ก็จะมีแถบคลื่นความถี่ที่กว้างพอจะเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่ได้
1-2 ใบ ไม่ใช่ต้องปล่อยคลื่น 1800 ไร้ประโยชน์ไปจนกว่าสัมปทานดีแทคจะหมดอายุในปี 2561 และจากการเจรจาเบื้องต้นกับดีแทค มีสัญญาณที่ดีว่าอาจจะมีการประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นนี้ได้ในประมาณปลายปี 2557 หรือต้นปี 2558.
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/238503
ไม่มีความคิดเห็น: