Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2555 กสทช. พร้อมออกกฎ 6 ข้อคุณภาพการบริการ หมอประวิทย์ ชี้ลดลงทันที 20-30% ต่อปี

ประเด็นหลัก

   นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว (@TakornNBTC) ถึงความคืบหน้ากรณีการประมูลใบอนุญาต 3G ว่า  วันนี้ กสทช. ได้คุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศชาติแล้ว โดยนำรายได้ที่เกิดจากการประมูล 4.4538.75 หมื่นล้านบาท นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน โดยจะประกาศลดอัตราค่าบริการทั้งระบบเสียงและข้อมูลลงอย่างแน่นอนอย่างน้อย 15-20%  และได้คิดคำนวนจาก 3 ปัจจัย คือ 1.อ้างอิงจากอัตราค่าบริการ 3G ในปัจจุบันของเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน 2. กำหนดให้อัตราค่าบริการในปีที่ 1 ลดลง 10% ปีที่2 ลดลง15% ปีที่ 3 ลดลง 20% 3.นำมูลค่าของอัตราค่าบริการที่ลดลงมาคูณกับจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของผู้ให้บริการ 3Gในช่วงระยะเวลา 3 ปี ภายหลังจากเปิดให้บริการ





น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าอัตราค่าบริการ 3 จีที่เหมาะสมจะต้องไม่เกี่ยวกับที่ว่าประมูลแพงหรือถูก แต่เนื่องจากเปลี่ยนจากระบบสัมปทาน ที่เดิมเสียเงินส่วนแบ่งรายได้ให้ต้องแบ่งกับทีโอที หรือ กสท  แต่พอเป็นระบบใบอนุญาตไม่ต้องเสียตรงนี้  แต่จะเสียแค่ค่าธรรมเนียมทำให้ต้นทุนประจำปีของโอเปอเรเตอร์ค่ายต่างๆลดลงทันที 20-30% ต่อปี พูดง่ายๆว่าถ้าโอเปอเรเตอร์ไม่มีการลดราคา ก็จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นทันที  แต่ถ้ามีโอเปอเรเตอร์ที่เห็นแก่ผู้บริโภคก็จะแบ่งส่วนที่เป็นกำไรมาลดค่าบริการให้กับผู้บริโภค  จึงคาดการณ์ว่าค่าบริการ 3จีจะต้องไม่แพงขึ้นกว่าการให้บริการ3จีในปัจจุบัน  แต่ถ้าแพงขึ้นแสดงว่าบริษัทค้ากำไรเกินควร ก็ต้องจับตาดูตรงนี้ต่อไป  ฉะนั้นค่าบริการต่อให้ประมูลถูกหรือแพง ก็ต้องลดได้ เพราะส่วนแบ่งรายได้ไม่ใช่เรื่องเงินประมูล











____________________________

กสทช.โปรโมชัน 3จีก่อนเกิด

"กสทช." ประกาศจะปรับลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์ 3 จี ทั้งระบบเสียงและข้อมูล 15-20%  ชี้ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้ใช้บริการทั้งหมด  7  หมื่นล้านบาทต่อปี พร้อมออกกฎ 6 ข้อคุณภาพการบริการ

ท้าให้ตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาในการประมูลที่ผ่านมา
   นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว (@TakornNBTC) ถึงความคืบหน้ากรณีการประมูลใบอนุญาต 3G ว่า  วันนี้ กสทช. ได้คุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศชาติแล้ว โดยนำรายได้ที่เกิดจากการประมูล 4.4538.75 หมื่นล้านบาท นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน โดยจะประกาศลดอัตราค่าบริการทั้งระบบเสียงและข้อมูลลงอย่างแน่นอนอย่างน้อย 15-20%  และได้คิดคำนวนจาก 3 ปัจจัย คือ 1.อ้างอิงจากอัตราค่าบริการ 3G ในปัจจุบันของเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน 2. กำหนดให้อัตราค่าบริการในปีที่ 1 ลดลง 10% ปีที่2 ลดลง15% ปีที่ 3 ลดลง 20% 3.นำมูลค่าของอัตราค่าบริการที่ลดลงมาคูณกับจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของผู้ให้บริการ 3Gในช่วงระยะเวลา 3 ปี ภายหลังจากเปิดให้บริการ


   อย่างไรก็ตามหากคิดผลประโยชน์อัตราที่ลดลง 15% จะตกกับประชาชนเฉลี่ยเดือนละ 4.57พัน ล้านบาท หรือ 54.855 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือรวม 15 ปีเป็นเงินทั้งสิ้น 8.22825 แสนล้านบาทและหากคิดในอัตราที่ลดลง 20% ของอัตราค่าบริการปัจจุบัน ผลประโยชน์จะตกกับประชาชนเฉลี่ยเดือนละ 6.09 พันล้านบาท หรือ 7.3143 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือ 15 ปี รวมเป็นเงิน 1.097ล้านล้านบาท

   ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ในขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการพิจารณาออกใบอนุญาต 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยทาง กทค.จะจัดทำเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต หัวข้อ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ประกอบด้วย 1.การกำกับอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ให้ลดลงจากปัจจุบันจำนวน 15-20% ทั้งการบริการทางเสียงและบริการข้อมูล 2. การกำกับดูแลคุณภาพในการให้บริการ ของผู้ได้รับใบอนุญาต 3. การกำกับให้ผู้รับใบอนุญาตได้จัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม  4. กสทช.จะจัดให้มีการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาในการประมูล เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย กสทช.จะจัดตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาตรวจสอบเอกสารการประมูลใบอนุญาต ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมูล การตรวจสอบบริษัทเอกชนทั้ง 3 ราย และบริษัทที่ปรึกษาการประมูล เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เพื่อลดข้อข้องใจของหลายฝ่าย 5. การปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนของประชาชน และ 6. การจัดมีกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ได้รับใบอนุญาตให้เกิดความเป็นธรรม

   น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าอัตราค่าบริการ 3 จีที่เหมาะสมจะต้องไม่เกี่ยวกับที่ว่าประมูลแพงหรือถูก แต่เนื่องจากเปลี่ยนจากระบบสัมปทาน ที่เดิมเสียเงินส่วนแบ่งรายได้ให้ต้องแบ่งกับทีโอที หรือ กสท  แต่พอเป็นระบบใบอนุญาตไม่ต้องเสียตรงนี้  แต่จะเสียแค่ค่าธรรมเนียมทำให้ต้นทุนประจำปีของโอเปอเรเตอร์ค่ายต่างๆลดลงทันที 20-30% ต่อปี พูดง่ายๆว่าถ้าโอเปอเรเตอร์ไม่มีการลดราคา ก็จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นทันที  แต่ถ้ามีโอเปอเรเตอร์ที่เห็นแก่ผู้บริโภคก็จะแบ่งส่วนที่เป็นกำไรมาลดค่าบริการให้กับผู้บริโภค  จึงคาดการณ์ว่าค่าบริการ 3จีจะต้องไม่แพงขึ้นกว่าการให้บริการ3จีในปัจจุบัน  แต่ถ้าแพงขึ้นแสดงว่าบริษัทค้ากำไรเกินควร ก็ต้องจับตาดูตรงนี้ต่อไป  ฉะนั้นค่าบริการต่อให้ประมูลถูกหรือแพง ก็ต้องลดได้ เพราะส่วนแบ่งรายได้ไม่ใช่เรื่องเงินประมูล

   "ยกตัวอย่าง สมมุติว่าต่อปีเอไอเอสหาได้  2 หมื่นล้านบาท ก็ต้องหักให้ทีโอที เช่น หักให้ 30%  แต่บังเอิญครั้งนี้เอไอเอสประมูลได้ถูกต้นทุนยิ่งถูก ฉะนั้นอัตราค่าบริการ 3จี ก็ต้องยิ่งต่ำลงอีก  แต่ที่ผ่านมามีบางคนไปบอกว่ากสทช.ไปกำหนดราคาก่อนไม่ได้ต้องรอให้เอกชนกำหนดราคาก่อนเพราะต้องเอาต้นทุนมาดู  แต่พอถูกถล่มมากๆ กลายเป็นว่าออกมากำหนดราคาได้ทั้งที่ยังไม่รู้ต้นทุนของเอกชน ซึ่งตรงนี้อาจมีการคุยกับเอกชน(โอเปอเรเตอร์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ต้องติดตามว่าค่าบริการลดลงมากน้อยแค่ไหนถ้าเทียบกับราคาค่าบริการ 3จีในปัจจุบัน"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=150072:-3&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.