26 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(บทความ) ลดค่าบริการ...คุมเข้มเรื่องคุณภาพ... พันธสัญญาของ กสทชท่ามกลางเสียงสะท้อนต้านและหนุนประมูล3จี.
ประเด็นหลัก
เป็นบทความ กสทช. เอง ผลิตเอง
อย่างไรก็ตาม อธิการบดี สจล.ยังได้ฝากข้อคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันขบคิดด้วยว่า เราไม่ควรมองแต่เรื่องของเงินประมูล แต่ควรมองในเรื่องการขยายเครือข่าย Network เป็นหลักไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บสูง เพื่อให้เอกชนมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายให้มากที่สุดได้เป็นแสนล้านยิ่งดี ถึงเวลานั้น กสทช.และรัฐจะได้ประโยชน์กลับมามากกว่าเงินกินเปล่านี้
“หากทั้ง?3 ค่ายมีการแข่งขันสมบูรณ์ แค่ลูกค้าผู้ใช้บริการแต่ละรายมี 20 ล้านคน ใช้บริการวันละ 20 บาท/คน ก็มีเงินสะพัด 400 ล้านบาท/วัน แล้ว กสทช.จะได้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ 6.5% ของรายได้สุทธิ รัฐเองก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% รวมแล้ว 13.5% ของรายได้แล้ว แทนที่จะรีบถอนขนห่าน สุดท้ายหาก กสทช.ไม่สามารถผลักดัน 3จี ได้สำเร็จ ในวันนี้ไม่เพียงประเทศไทยจะชวดบริการ 3จี ไปเท่านั้น แม้แต่มือถือระบบ 4จี และ 5จี ก็คงไม่มีโอกาสเกิดเช่นกัน”....
นั่นเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลและข้อคิดของสองนักวิชาการที่มีต่อการเกิดขึ้นของ 3จี ในบ้านเรา...
________________________________________________
รายงานพิเศษ : ลดค่าบริการ...คุมเข้มเรื่องคุณภาพ... พันธสัญญาของ กสทช..... ท่ามกลางเสียงสะท้อน...ต้านและหนุน...ประมูล3จี.....
แม้ว่าการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อออกใบอนุญาต 3 จีของ “คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)” ใน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.จะจบไปแล้วในขั้นตอนของกระบวนการประมูล แต่ควันหลงจากเรื่องนี้ก็ยังไม่จางหาย เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น จากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการประมูลครั้งนี้...ทำให้สังคมเกิดความสงสัยและสับสนในข้อมูลของแต่ละฝ่าย...
แต่ในเมื่อสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย เมื่อเกิดความสงสัยก็ถูกต้องแล้วที่ต้องพูดคุยและแสดงข้อเท็จจริงออกมา ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าข้อมูลของแต่ละคนนั้นเท็จจริงแค่ไหน ใครมีอติ ใครบริสุทธิ์ใจ...ซึ่งสุดท้ายสังคมก็ตัดสินใจเองได้....
ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูล...ตอนนี้พูดได้ไม่ผิดว่า...ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)...เป็นแกนอยู่ในฝากฝั่งนี้...ซึ่งสังคมได้รับรู้รับฟังเสียงสะท้อนจาก ดร.สมเกียรติผ่านสื่อต่างๆ มาพอสมควร...ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะดร.สมเกียรติมักจะเป็นคนที่สื่อมวลชนขอความเห็นในประเด็นต่างๆ เสมอมา...
โดยสรุปคือ...ดร.สมเกียรติ..บอกว่าการประมูลครั้งนี้ราคาต่ำเกินไป...เอกชนที่เข้าร่วมประมูล ไม่ค่อยจะแข่งกันเสนอราคาเท่าที่ควรจะเป็น...อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ และประชาชน และก็ยังไม่เห็นว่าผู้บริโภคจะถูกคุ้มครองหรือไม่ในเรื่องการคิดค่าบริการที่สมเหตุสมผล...ทั้งๆ ที่เอกชนได้ไลเซ่นส์ไปในราคาต่ำมากคือเฉลี่ยแล้ว ปีละ 1,000 ล้านบาท....
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีเสียงสะท้อนอีกฝากหนึ่งจากคนที่เห็นต่างจากทีดีอาร์ไอ...ซึ่งในเมื่อเราบอกว่าเราเป็นสังคมประชาธิปไตย...ก็ควรต้องฟังเสียงสะท้อนนี้ด้วย...
ศาสตราจารย์ถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งได้แสดงความเห็นที่ต่างออกไป....โดยระบุว่า คลื่น 3จี ที่มีนักวิชาการนำไปเปรียบเทียบว่า กสทช. ได้เงินประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8% จากราคาประมูลตั้งต้นเท่านั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด ประเทศเพื่อนบ้านนำมาใช้เป็นสิบปีแล้ว และขณะนี้คลื่นดังกล่าวกำลังล้าสมัย ทั่วโลกเริ่มไปสู่เทคโนโลยีใหม่ Long Term Evolution : LTE หรือเทคโนโลยี 4จี กันแล้ว
ทั้งนี้ ที่หลายฝ่ายมองว่า คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ให้บริการ 3จี เป็นคลื่นที่มีมูลค่าสูงนั้น เป็นการมองตลาดโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง และสภาพตลาด เพราะในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558?หรือ 3 ปีจากนี้เทคโนโลยีใหม่ LTEหรือ 4จี จะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มมุ่งไปสู่คลื่นใหม่?4จี กันแล้ว
ดังนั้นคลื่น 3จี ที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ตนจึงไม่แปลกใจที่เหตุใดค่ายมือถือต่างๆ ถึงไม่อยากเสนอ และถ้ากสทช.กำหนดราคาสูงกว่า 4,500 ล้านบาทต่อหนึ่งสลอต (5 MHz) ก็เชื่อแน่ว่าบริษัทไม่เข้าร่วมประมูลด้วยแน่เพราะแพงเกินไป เนื่องจากเทคโนโลยี คลื่น 3จี นั้นกำลังล้าสมัย
“ที่ว่าคลื่น 3จี ควรมีมูลค่าที่เหมาะสมที่ 6,400 ล้านบาทนั้น ถ้าเป็นเมื่อ 8-10 ปีก่อนอาจใช่ แต่ขณะนี้มันไม่ใช่แล้ว คลื่นที่สามารถนำไปแสวงหาประโยชน์ได้แค่ 3-4 ปี จากนี้ย่อมไม่คุ้มที่จะทุ่มเม็ดเงินเป็นพันล้านไปช่วงชิงมา ตลาด 3จี นี้หากไม่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปีก็มีแต่เจ๊งเท่านั้น ยิ่งโอกาสที่จะในแสวงหากำไรจากการประกอบการไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเดิมนั้นเก็บค่าบริการเสียง (Voice) ได้ถึงนาทีละ 9 บาท แต่วันนี้คิดค่าบริการได้เพียง 0.99 บาทเท่านั้น ดังนั้น ราคาคลื่น 3จี วันนี้ราคาลดเหลือแค่ 30% เท่านั้นเอง”
อย่างไรก็ตาม อธิการบดี สจล.ยังได้ฝากข้อคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันขบคิดด้วยว่า เราไม่ควรมองแต่เรื่องของเงินประมูล แต่ควรมองในเรื่องการขยายเครือข่าย Network เป็นหลักไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บสูง เพื่อให้เอกชนมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายให้มากที่สุดได้เป็นแสนล้านยิ่งดี ถึงเวลานั้น กสทช.และรัฐจะได้ประโยชน์กลับมามากกว่าเงินกินเปล่านี้
“หากทั้ง?3 ค่ายมีการแข่งขันสมบูรณ์ แค่ลูกค้าผู้ใช้บริการแต่ละรายมี 20 ล้านคน ใช้บริการวันละ 20 บาท/คน ก็มีเงินสะพัด 400 ล้านบาท/วัน แล้ว กสทช.จะได้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ 6.5% ของรายได้สุทธิ รัฐเองก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% รวมแล้ว 13.5% ของรายได้แล้ว แทนที่จะรีบถอนขนห่าน สุดท้ายหาก กสทช.ไม่สามารถผลักดัน 3จี ได้สำเร็จ ในวันนี้ไม่เพียงประเทศไทยจะชวดบริการ 3จี ไปเท่านั้น แม้แต่มือถือระบบ 4จี และ 5จี ก็คงไม่มีโอกาสเกิดเช่นกัน”....
นั่นเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลและข้อคิดของสองนักวิชาการที่มีต่อการเกิดขึ้นของ 3จี ในบ้านเรา...
ส่วนอีกประเด็น...ว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับ และเป็นเรื่องเห็นๆ เรื่องใกล้ๆ ตัวของประชาชน...ก็คือราคาค่าบริการ หรือคุณภาพของบริการที่จะได้รับ...ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบเอามาเป็นเหตุของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลครั้งนี้...
ทั้งที่จริงๆ แล้ว...กสทช.ก็ออกมาย้ำหลายครั้งหลายหนแล้วว่า...กสทช.ไม่เคยที่จะละเลยประเด็นเหล่านี้เลย...
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)....กล่าวย้ำอีกครั้งเพื่อให้ความมั่นใจกับผู้บริโภค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เมื่อระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ของ กสทช.เปิดให้บริการแล้วจะไม่มีปัญหาสายหลุด สัญญาณอ่อน แน่นอน....
ส่วนค่าบริการ 3จี นั้น กสทช. ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนชัดเจนในการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยืนยันจะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3จี บนย่านความถี่ 2.1 GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่า 15—20% ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน โดยผู้ชนะประมูลจะต้องรับเงื่อนไขดังกล่าวก่อนให้บริการได้
ขณะที่นายฐากร อธิบายเพิ่มเติมว่า หาก กสทช. จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3จี ให้ลดลงไม่น้อยกว่า 15% ของอัตราค่าบริการในปัจจุบันแล้ว จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี โดยรวมทั้งประเทศได้รับประโยชน์จากการมีค่าบริการที่ถูกลง
โดยผลประโยชน์ดังกล่าว หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 15% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4,571.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 54,855 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 822,825 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี (อายุใบอนุญาต 15 ปี) แต่หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 20%จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 6,095.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ?73,142.6 ล้านบาทต่อปี และประมาณ 1,097,145 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ผลประโยชน์จากการใช้บริการ 3จี?จากอัตราค่าบริการที่ลดลงได้พิจารณาอ้างอิงจากราคาค่าบริการ?3จี ในปัจจุบันในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน
ในส่วนภาคเอกชนนั้น...ไม่ได้ให้ความเห็นอะไรที่ชัดเจนต่อกรณีเรื่องค่าบริการ หรือคุณภาพของบริการ...ทั้งเอไอเอส ดีแทค หรือแม้แต่ทรูเองก็ตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้...แต่นั้นก็เข้าใจได้ว่าเอกชนจะแสดงท่าทีหรือแบไต๋อะไรมากไม่ได้ เพราะเกรงว่าคู่แข่งทางการค้าจะจับทางได้
แต่หน้าที่หลักในเรื่องนี้ก็ต้องฝากความหวังไว้ที่ผู้กำกับดูแล อย่าง กสทช....ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาก็รับปากและยืนยันกับสังคมมาหลายครั้ง...ว่าจะทำให้ประชาชนไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน...และซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้วจากกรณีปรับเงินดีแทค 10 ล้านบาท กรณีที่ทำเครือข่ายล่มหลายครั้งหลายหน....
อนันตเดช พงษ์พันธุ์
http://www.ryt9.com/s/nnd/1516723
เป็นบทความ กสทช. เอง ผลิตเอง
อย่างไรก็ตาม อธิการบดี สจล.ยังได้ฝากข้อคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันขบคิดด้วยว่า เราไม่ควรมองแต่เรื่องของเงินประมูล แต่ควรมองในเรื่องการขยายเครือข่าย Network เป็นหลักไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บสูง เพื่อให้เอกชนมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายให้มากที่สุดได้เป็นแสนล้านยิ่งดี ถึงเวลานั้น กสทช.และรัฐจะได้ประโยชน์กลับมามากกว่าเงินกินเปล่านี้
“หากทั้ง?3 ค่ายมีการแข่งขันสมบูรณ์ แค่ลูกค้าผู้ใช้บริการแต่ละรายมี 20 ล้านคน ใช้บริการวันละ 20 บาท/คน ก็มีเงินสะพัด 400 ล้านบาท/วัน แล้ว กสทช.จะได้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ 6.5% ของรายได้สุทธิ รัฐเองก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% รวมแล้ว 13.5% ของรายได้แล้ว แทนที่จะรีบถอนขนห่าน สุดท้ายหาก กสทช.ไม่สามารถผลักดัน 3จี ได้สำเร็จ ในวันนี้ไม่เพียงประเทศไทยจะชวดบริการ 3จี ไปเท่านั้น แม้แต่มือถือระบบ 4จี และ 5จี ก็คงไม่มีโอกาสเกิดเช่นกัน”....
นั่นเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลและข้อคิดของสองนักวิชาการที่มีต่อการเกิดขึ้นของ 3จี ในบ้านเรา...
________________________________________________
รายงานพิเศษ : ลดค่าบริการ...คุมเข้มเรื่องคุณภาพ... พันธสัญญาของ กสทช..... ท่ามกลางเสียงสะท้อน...ต้านและหนุน...ประมูล3จี.....
แม้ว่าการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อออกใบอนุญาต 3 จีของ “คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)” ใน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.จะจบไปแล้วในขั้นตอนของกระบวนการประมูล แต่ควันหลงจากเรื่องนี้ก็ยังไม่จางหาย เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น จากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการประมูลครั้งนี้...ทำให้สังคมเกิดความสงสัยและสับสนในข้อมูลของแต่ละฝ่าย...
แต่ในเมื่อสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย เมื่อเกิดความสงสัยก็ถูกต้องแล้วที่ต้องพูดคุยและแสดงข้อเท็จจริงออกมา ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าข้อมูลของแต่ละคนนั้นเท็จจริงแค่ไหน ใครมีอติ ใครบริสุทธิ์ใจ...ซึ่งสุดท้ายสังคมก็ตัดสินใจเองได้....
ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูล...ตอนนี้พูดได้ไม่ผิดว่า...ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)...เป็นแกนอยู่ในฝากฝั่งนี้...ซึ่งสังคมได้รับรู้รับฟังเสียงสะท้อนจาก ดร.สมเกียรติผ่านสื่อต่างๆ มาพอสมควร...ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะดร.สมเกียรติมักจะเป็นคนที่สื่อมวลชนขอความเห็นในประเด็นต่างๆ เสมอมา...
โดยสรุปคือ...ดร.สมเกียรติ..บอกว่าการประมูลครั้งนี้ราคาต่ำเกินไป...เอกชนที่เข้าร่วมประมูล ไม่ค่อยจะแข่งกันเสนอราคาเท่าที่ควรจะเป็น...อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ และประชาชน และก็ยังไม่เห็นว่าผู้บริโภคจะถูกคุ้มครองหรือไม่ในเรื่องการคิดค่าบริการที่สมเหตุสมผล...ทั้งๆ ที่เอกชนได้ไลเซ่นส์ไปในราคาต่ำมากคือเฉลี่ยแล้ว ปีละ 1,000 ล้านบาท....
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีเสียงสะท้อนอีกฝากหนึ่งจากคนที่เห็นต่างจากทีดีอาร์ไอ...ซึ่งในเมื่อเราบอกว่าเราเป็นสังคมประชาธิปไตย...ก็ควรต้องฟังเสียงสะท้อนนี้ด้วย...
ศาสตราจารย์ถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งได้แสดงความเห็นที่ต่างออกไป....โดยระบุว่า คลื่น 3จี ที่มีนักวิชาการนำไปเปรียบเทียบว่า กสทช. ได้เงินประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8% จากราคาประมูลตั้งต้นเท่านั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด ประเทศเพื่อนบ้านนำมาใช้เป็นสิบปีแล้ว และขณะนี้คลื่นดังกล่าวกำลังล้าสมัย ทั่วโลกเริ่มไปสู่เทคโนโลยีใหม่ Long Term Evolution : LTE หรือเทคโนโลยี 4จี กันแล้ว
ทั้งนี้ ที่หลายฝ่ายมองว่า คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ให้บริการ 3จี เป็นคลื่นที่มีมูลค่าสูงนั้น เป็นการมองตลาดโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง และสภาพตลาด เพราะในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558?หรือ 3 ปีจากนี้เทคโนโลยีใหม่ LTEหรือ 4จี จะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มมุ่งไปสู่คลื่นใหม่?4จี กันแล้ว
ดังนั้นคลื่น 3จี ที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ตนจึงไม่แปลกใจที่เหตุใดค่ายมือถือต่างๆ ถึงไม่อยากเสนอ และถ้ากสทช.กำหนดราคาสูงกว่า 4,500 ล้านบาทต่อหนึ่งสลอต (5 MHz) ก็เชื่อแน่ว่าบริษัทไม่เข้าร่วมประมูลด้วยแน่เพราะแพงเกินไป เนื่องจากเทคโนโลยี คลื่น 3จี นั้นกำลังล้าสมัย
“ที่ว่าคลื่น 3จี ควรมีมูลค่าที่เหมาะสมที่ 6,400 ล้านบาทนั้น ถ้าเป็นเมื่อ 8-10 ปีก่อนอาจใช่ แต่ขณะนี้มันไม่ใช่แล้ว คลื่นที่สามารถนำไปแสวงหาประโยชน์ได้แค่ 3-4 ปี จากนี้ย่อมไม่คุ้มที่จะทุ่มเม็ดเงินเป็นพันล้านไปช่วงชิงมา ตลาด 3จี นี้หากไม่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปีก็มีแต่เจ๊งเท่านั้น ยิ่งโอกาสที่จะในแสวงหากำไรจากการประกอบการไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเดิมนั้นเก็บค่าบริการเสียง (Voice) ได้ถึงนาทีละ 9 บาท แต่วันนี้คิดค่าบริการได้เพียง 0.99 บาทเท่านั้น ดังนั้น ราคาคลื่น 3จี วันนี้ราคาลดเหลือแค่ 30% เท่านั้นเอง”
อย่างไรก็ตาม อธิการบดี สจล.ยังได้ฝากข้อคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันขบคิดด้วยว่า เราไม่ควรมองแต่เรื่องของเงินประมูล แต่ควรมองในเรื่องการขยายเครือข่าย Network เป็นหลักไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บสูง เพื่อให้เอกชนมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายให้มากที่สุดได้เป็นแสนล้านยิ่งดี ถึงเวลานั้น กสทช.และรัฐจะได้ประโยชน์กลับมามากกว่าเงินกินเปล่านี้
“หากทั้ง?3 ค่ายมีการแข่งขันสมบูรณ์ แค่ลูกค้าผู้ใช้บริการแต่ละรายมี 20 ล้านคน ใช้บริการวันละ 20 บาท/คน ก็มีเงินสะพัด 400 ล้านบาท/วัน แล้ว กสทช.จะได้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ 6.5% ของรายได้สุทธิ รัฐเองก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% รวมแล้ว 13.5% ของรายได้แล้ว แทนที่จะรีบถอนขนห่าน สุดท้ายหาก กสทช.ไม่สามารถผลักดัน 3จี ได้สำเร็จ ในวันนี้ไม่เพียงประเทศไทยจะชวดบริการ 3จี ไปเท่านั้น แม้แต่มือถือระบบ 4จี และ 5จี ก็คงไม่มีโอกาสเกิดเช่นกัน”....
นั่นเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลและข้อคิดของสองนักวิชาการที่มีต่อการเกิดขึ้นของ 3จี ในบ้านเรา...
ส่วนอีกประเด็น...ว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับ และเป็นเรื่องเห็นๆ เรื่องใกล้ๆ ตัวของประชาชน...ก็คือราคาค่าบริการ หรือคุณภาพของบริการที่จะได้รับ...ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบเอามาเป็นเหตุของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลครั้งนี้...
ทั้งที่จริงๆ แล้ว...กสทช.ก็ออกมาย้ำหลายครั้งหลายหนแล้วว่า...กสทช.ไม่เคยที่จะละเลยประเด็นเหล่านี้เลย...
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)....กล่าวย้ำอีกครั้งเพื่อให้ความมั่นใจกับผู้บริโภค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เมื่อระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ของ กสทช.เปิดให้บริการแล้วจะไม่มีปัญหาสายหลุด สัญญาณอ่อน แน่นอน....
ส่วนค่าบริการ 3จี นั้น กสทช. ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนชัดเจนในการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยืนยันจะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3จี บนย่านความถี่ 2.1 GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่า 15—20% ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน โดยผู้ชนะประมูลจะต้องรับเงื่อนไขดังกล่าวก่อนให้บริการได้
ขณะที่นายฐากร อธิบายเพิ่มเติมว่า หาก กสทช. จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3จี ให้ลดลงไม่น้อยกว่า 15% ของอัตราค่าบริการในปัจจุบันแล้ว จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี โดยรวมทั้งประเทศได้รับประโยชน์จากการมีค่าบริการที่ถูกลง
โดยผลประโยชน์ดังกล่าว หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 15% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4,571.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 54,855 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 822,825 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี (อายุใบอนุญาต 15 ปี) แต่หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 20%จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 6,095.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ?73,142.6 ล้านบาทต่อปี และประมาณ 1,097,145 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ผลประโยชน์จากการใช้บริการ 3จี?จากอัตราค่าบริการที่ลดลงได้พิจารณาอ้างอิงจากราคาค่าบริการ?3จี ในปัจจุบันในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน
ในส่วนภาคเอกชนนั้น...ไม่ได้ให้ความเห็นอะไรที่ชัดเจนต่อกรณีเรื่องค่าบริการ หรือคุณภาพของบริการ...ทั้งเอไอเอส ดีแทค หรือแม้แต่ทรูเองก็ตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้...แต่นั้นก็เข้าใจได้ว่าเอกชนจะแสดงท่าทีหรือแบไต๋อะไรมากไม่ได้ เพราะเกรงว่าคู่แข่งทางการค้าจะจับทางได้
แต่หน้าที่หลักในเรื่องนี้ก็ต้องฝากความหวังไว้ที่ผู้กำกับดูแล อย่าง กสทช....ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาก็รับปากและยืนยันกับสังคมมาหลายครั้ง...ว่าจะทำให้ประชาชนไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน...และซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้วจากกรณีปรับเงินดีแทค 10 ล้านบาท กรณีที่ทำเครือข่ายล่มหลายครั้งหลายหน....
อนันตเดช พงษ์พันธุ์
http://www.ryt9.com/s/nnd/1516723
ไม่มีความคิดเห็น: