Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 ตุลาคม 2555 (คลิกทุกครั้งต้องจ่ายเงิน) ICT-กสทช. ร่วมกำหนดท่าที ต่อท่าทีการแก้ไขสนธิสัญญา

ประเด็นหลัก

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ ของกระทรวงไอซีที จะไปประชุมร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงานกสทช.) เพื่อกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ และรู้เท่าทันถึงผลดีและผลเสียของข้อเสนอที่แก้ไขในสนธิสัญญาดังกล่าว
 
“การกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อข้อแก้ไขในสนธิสัญญาดังกล่าว กระทรวงไอซีทีได้ประสานงานกับสำนักงาน กสทช. และได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการในส่วนของประเทศไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมไอทียู รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดดังกล่าวขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าการตัดสินใจแสดงท่าทีใด ๆ ของคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมประชุมไอทียูจะคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับภาคโทรคมนาคมและไอซีทีของไทยเป็นสำคัญ”





____________________________


“ไอซีที-กสทช.” ร่วมกำหนดท่าที “คลิกทุกครั้งต้องจ่ายเงิน!”


… “คลิกทุกครั้งต้องจ่ายเงิน” เป็นประเด็นที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเนื้อหาของสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรือ อินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น (Internet Telecommunication Regulation : ITR) กฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีการตกลงให้แก้ไขเนื้อหาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และปลายเดือน ธ.ค. 2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศ จะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคมซึ่งไอทียูจัดขึ้นที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
 
เนื่องจากเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขจาก 15 ข้อ มี 6 ข้อที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ 1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต 2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด 3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม 4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต 5. คุณภาพบริการ และ 6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย
 
และประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ การใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส (ไอพี แอดเดรส) ซึ่งระบุว่าประเทศสมาชิกต้องหาวิธีใดวิธีหนึ่งในการคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง และเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยเก็บเงินทั้งจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีแนวคิดการเก็บเงินแบบคลิกทุกครั้งต้องจ่ายเงิน (pay per click)
 
โดยระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 ถือเป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่ถ้าประเทศสมาชิกเห็นด้วย 100% ก็จะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2555 ดังนั้นประเทศไทยต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และหากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญาก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศที่เป็นสมาชิกไอทียู
 
นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ ของกระทรวงไอซีที จะไปประชุมร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงานกสทช.) เพื่อกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ และรู้เท่าทันถึงผลดีและผลเสียของข้อเสนอที่แก้ไขในสนธิสัญญาดังกล่าว
 
“การกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อข้อแก้ไขในสนธิสัญญาดังกล่าว กระทรวงไอซีทีได้ประสานงานกับสำนักงาน กสทช. และได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการในส่วนของประเทศไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมไอทียู รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดดังกล่าวขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าการตัดสินใจแสดงท่าทีใด ๆ ของคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมประชุมไอทียูจะคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับภาคโทรคมนาคมและไอซีทีของไทยเป็นสำคัญ”
                   
สำหรับผู้ที่จะลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว จะต้องเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงไอซีที ขณะที่ กสทช. มีหน้าที่เป็นผู้เดินทางไปร่วมเจรจาต่อรอง
   
ความคืบหน้าของกระทรวงไอซีทีต่อท่าทีการแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าว “พุธ@สุดพิเศษ” จะติดตามมารายงานให้ทราบต่อไป.

น้ำเพชร จันทา
@phetchan

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/162513

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.