Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 กันยายน 2555 (เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ดิจิทัลทีวียึดสูตร20-20-60ต้นปีหน้าประมูล36ช่องธุรกิจ // ล่าสุด +คนไทยยังดูภาคพื้นดิน

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ดิจิทัลทีวียึดสูตร20-20-60ต้นปีหน้าประมูล36ช่องธุรกิจ // ล่าสุด +คนไทยยังดูภาคพื้นดิน
ประเด็นหลัก

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.ล่าสุด (24 ก.ย. 2555) เห็นชอบการแบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิทัล (ช่องรายการ) ตามที่คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ให้ความเห็นชอบ โดยแบ่งสัดส่วนช่องรายการดิจิทัลเป็น 2 ระยะ คือก่อนยุติการให้บริการระบบแอนะล็อก จะกำหนดสัดส่วนช่องรายการสำหรับบริการชุมชน 20% สาธารณะ 20% และ 60% สำหรับบริการธุรกิจ เน้นระดับชาติก่อน เพื่อขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล ฃ

ด้านนายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย ประธานสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์บันเทิงไทย กล่าวว่า ผู้ผลิตคอนเทนต์ กำลังประเมินความชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ระบบจะเสถียรและพัฒนาให้บริการอินเตอร์แอ็กทีฟ เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายมีขีดความสามารถในการลงทุนต่างกัน ความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล การยุติการแพร่ภาพ เป้าหมาย set-top-box แต่ละปีเท่าไร มีแผนอุดหนุน set-top-box แต่ละขั้นตอนอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อประเมินจำนวนผู้รับชมได้


ผลการศึกษาของ กสทช.ระบุว่า ปัจจุบันการรับชมโทรทัศนมี 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) หรือฟรีทีวี มี 6 สถานี เข้าถึง 45.8 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ เป็นเคเบิลทีวี 990 สถานี เข้าถึงประชากร 28.7 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ และระบบดาวเทียมมี 200 ช่องรายการ มีประชากรเข้าถึง 25.5 ครัวเรือน



ขณะที่ พรุ่งนี้ (27 ก.ย.) กสท.จะจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือประชาพิจารณ์ ร่างประกาศ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เวลา 08.30–13.00 น. อาคารหอประชุม ชั้น 2 ณ สำนักงาน กสทช. โดยเบื้องต้นจะเรียกเก็บในอัตรา 2% จากรายได้ทั้งหมด จากนั้นจะเริ่มให้ไลเซ่นส์โครงข่ายในระบบดิจิตอล ในเดือน ธ.ค. 2555 โดยล่าสุดอยู่ระหว่างรอสรุปว่าจะใช้วิธีประมูล หรือ บิวตี้ คอนเทสต์ ให้กับผู้ที่สนใจ รวมถึงให้ไลเซ่นส์ช่องรายการสาธารณะ จำนวน 12 ช่องด้วย ก่อนเปิดประมูลช่องรายการธุรกิจเดือน ก.พ. 2556.






___________________________________



"ดิจิทัลทีวี"ยึดสูตร"20-20-60" ต้นปีหน้าประมูล36ช่องธุรกิจ


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.ล่าสุด (24 ก.ย. 2555) เห็นชอบการแบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิทัล (ช่องรายการ) ตามที่คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ให้ความเห็นชอบ โดยแบ่งสัดส่วนช่องรายการดิจิทัลเป็น 2 ระยะ คือก่อนยุติการให้บริการระบบแอนะล็อก จะกำหนดสัดส่วนช่องรายการสำหรับบริการชุมชน 20% สาธารณะ 20% และ 60% สำหรับบริการธุรกิจ เน้นระดับชาติก่อน เพื่อขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล

เมื่อมีคลื่นความถี่ เพียงพอ จึงมีการจัดสรรในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นต่อไป ส่วนระยะที่ 2 เมื่อ กสทช.ยุติการแพร่ภาพในระบบแอนะล็อกในอีก 7-8 ปีข้างหน้า จะปรับสัดส่วนช่องรายการเป็นช่องบริการชุมชน 20% สาธารณะ 30% และธุรกิจ 50%และ กสท.ได้กำหนดกลุ่มช่องรายการระบบดิจิทัลจากช่องทั้งหมด ได้แก่ ช่องรายการที่เป็นข่าวสารสาระ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 10% รายการสำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว 10% โดยแต่ละกลุ่มรายการกำลังพิจารณาว่าจะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายทำช่องรายการ มากกว่า 1 ช่องหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นควรให้ทำได้มากกว่า 1 ช่องใน 1 กลุ่ม

สำหรับจำนวนช่องทีวีดิจิทัลจะกำหนดในสัปดาห์หน้าว่าจะมีกี่ ช่องที่เผยแพร่ด้วยความละเอียดมาตรฐาน (Standard : STD) และช่องรายการที่แพร่ภาพด้วยความละเอียดสูง (HD) ก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลระยะแรกมีคลื่นให้ทำทีวีดิจิทัลเบื้องต้น 5 มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : MUX) หรือโครงข่ายส่งสัญญาณ เพียงพอทำช่อง Standard ได้ 60 ช่อง และต้องวิเคราะห์ด้วยว่าจะทำ STD หรือ HD กี่ช่อง ถ้า HD เยอะ ช่อง STD จะลดลง ปกติ HD เพิ่ม 1 ช่อง ทำให้ช่อง STD หายไป 3-4 ช่อง

ดังนั้น จาก MUX ที่มีปัจจุบัน หากเป็นช่อง STD ทั้งหมด สัดส่วนช่องรายการจะมีช่องธุรกิจ 36 ช่อง ซึ่งต้องจัดสรรด้วยการประมูลในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2556 ขณะที่ช่องบริการชุมชน และบริการสาธารณะมีอย่างละ 12 ช่อง เริ่มออกภายในสิ้นปีนี้ ส่วนใบอนุญาตช่องบริการชุมชนต้องรอให้โครงข่ายดิจิทัลครอบคลุมโดยการจัดสรร ช่องรายการทั้ง 2 ประเภทใช้วิธีบิวตี้คอนเทสต์ และอาจมีข้อกำหนดเรื่องการอุดหนุนกล่องรับสัญญาณให้ผู้บริโภคด้วย แต่ยังไม่ได้กำหนดราคาตั้งต้นการประมูล หรือราคาใบอนุญาตแต่ละประเภท ขณะที่ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายเริ่มเดือน ธ.ค.นี้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต

โครง ข่ายได้สิทธิ์ให้ทดลองออกอากาศชั่วคราวก่อนมีการให้ใบอนุญาตช่องรายการ ดังนั้น ในสิ้นปีจะเริ่มเห็นรายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพระบบดิจิทัล (ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทุกประเภทอายุ 15 ปี)

สำหรับหลักเกณฑ์การจัดสรร คลื่นและการอนุญาตใช้คลื่น ภายในสัปดาห์หน้าจะนำร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรด้วยการประมูลและบิ วตี้คอนเทสต์ให้บอร์ด กสท.พิจารณา ก่อนเสนอบอร์ด กสทช.วันที่ 10 ต.ค.นี้ พร้อมร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้ บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

ขณะ ที่การรับฟังความเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช.เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล 4 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศแผนเปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล, ร่างประกาศมาตรฐานเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล, ร่างประกาศมาตรฐานเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิ ทัล และแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลนั้น ผู้ประกอบการเห็นตรงกันว่า กสทช.ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในแผนการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลให้เอกชนได้ ทั้งเห็นว่าควรจำกัดอุปสรรคของเทคโนโลยี โดยกำหนดมาตรฐานการล็อกสัญญาณของประเทศ เพื่อให้ 1 กล่องรับสัญญาณรับชมได้ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ทีวีดิจิทัล รวมถึงกำหนดมาตรฐานราคากลางกล่องด้วย

ด้านนายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย ประธานสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์บันเทิงไทย กล่าวว่า ผู้ผลิตคอนเทนต์ กำลังประเมินความชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ระบบจะเสถียรและพัฒนาให้บริการอินเตอร์แอ็กทีฟ เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายมีขีดความสามารถในการลงทุนต่างกัน ความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล การยุติการแพร่ภาพ เป้าหมาย set-top-box แต่ละปีเท่าไร มีแผนอุดหนุน set-top-box แต่ละขั้นตอนอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อประเมินจำนวนผู้รับชมได้

"การสนับสนุนผู้ ประกอบการช่วงแรกที่มีผู้ชมรายการน้อย ไม่ดึงดูดงบฯโฆษณาได้ แต่ลงทุนเยอะ รัฐจะอุดหนุนอะไรหรือไม่ กสทช.ต้องทำให้เอกชนเห็นประโยชน์ของการลงทุนทีวีดิจิทัลไม่เช่นนั้นจะเหมือน ไต้หวันที่ไปทำทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวีกันหมด เพราะง่าย เร็ว และถูกกว่า"

ผล การศึกษาของ กสทช.ระบุว่า ปัจจุบันการรับชมโทรทัศนมี 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) หรือฟรีทีวี มี 6 สถานี เข้าถึง 45.8 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ เป็นเคเบิลทีวี 990 สถานี เข้าถึงประชากร 28.7 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ และระบบดาวเทียมมี 200 ช่องรายการ มีประชากรเข้าถึง 25.5 ครัวเรือน

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1348633597&grpid=&catid=06&subcatid=0600ชาติธุรกิจ


__________________________________


กสทช.เล็งจัดลำดับหมายเลขช่องทีวี รับยุคดิจิตอล

กสท.เตรียม ล้างระบบลำดับเลขหมายช่องทีวี ฟรีทีวีโดนด้วย พร้อมจัดระเบียบใหม่ ขณะที่ห้ามผู้ประกอบการเก็บค่าบริการเรียงช่อง รับยุคดิจิตอล...

เมื่อ วันที่ 26 ก.ย. นายพสุ ศรีหิรัญ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและ โทรทัศน์ ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวในโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน ประจำปี 2555 ครั้งที่ 1 โดยกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เรื่อง ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ว่า ขณะนี้ กสท.เตรียมกำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศจากอะนาล็อกสู่ระบบ ดิจิตอล ห้ามผู้ที่ได้รับใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์ เก็บค่าบริการเรียงช่องรายการ ที่ทำให้ผู้ผลิตรายการที่จ่าค่าธรรมเนียมพิเศษสามารถผูกขาดเลขช่องเดิมได้

ทั้ง นี้ เงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ที่กำหนดให้ผู้ได้รับไลเซ่นส์โครงข่ายที่รวบรวมช่องรายการ (Multiplexer) ต้องจัดสรรเลขช่องตามที่ กสท.กำหนดใหม่ คือ 60 ช่อง และห้ามเก็บค่าบริการเรียงช่องอีก ส่งผลให้ฟรีทีวีปัจจุบัน ไม่ได้เลขช่องเดิม ขณะที่แนวทางการจัดเรียงช่องรายการใหม่นั้น จะจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ โดยเลขช่องต้นๆ จะเป็นช่องรายการสาธารณะตามด้วยช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวแล้วจึงเป็นช่องรายการธุรกิจ โดย กสท.ได้กำหนดสัดส่วนช่องรายการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องชุมชน 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 36 ช่อง



รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ และจัดการทรัพยากร กระจายเสียง และโทรทัศน์ กสท. กล่าวต่อว่า หลังจากร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ และหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา เดือน ต.ค.2555 จึงจะเปิดให้ไลเซ่นส์กับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ คือ ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี

ขณะที่ พรุ่งนี้ (27 ก.ย.) กสท.จะจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือประชาพิจารณ์ ร่างประกาศ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เวลา 08.30–13.00 น. อาคารหอประชุม ชั้น 2 ณ สำนักงาน กสทช. โดยเบื้องต้นจะเรียกเก็บในอัตรา 2% จากรายได้ทั้งหมด จากนั้นจะเริ่มให้ไลเซ่นส์โครงข่ายในระบบดิจิตอล ในเดือน ธ.ค. 2555 โดยล่าสุดอยู่ระหว่างรอสรุปว่าจะใช้วิธีประมูล หรือ บิวตี้ คอนเทสต์ ให้กับผู้ที่สนใจ รวมถึงให้ไลเซ่นส์ช่องรายการสาธารณะ จำนวน 12 ช่องด้วย ก่อนเปิดประมูลช่องรายการธุรกิจเดือน ก.พ. 2556.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/293980

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.