Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 กรกฎาคม 2555 กสทช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างไกล่เกลี่ย ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ สร้างกติการ่วมกัน

กสทช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างไกล่เกลี่ย ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ สร้างกติการ่วมกัน


ประเด็นหลัก

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การนำเอาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม มีข้อดี คือ 1.สะดวก เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ไม่มีแบบพิธีมาก นัก ค่อนข้างยืดหยุ่นและเป็นมิตรกันมากกว่าการพิจารณาคดีในศาล 2. รวดเร็ว เนื่องจากการไกล่เกลี่ยใช้เวลาในการดำเนินการไม่นานนักก็สามารถที่จะทราบได้ ว่าคู่กรณีตกลงกันได้หรือไม่ หากตกลงได้ก็จะทำให้ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปได้โดยเร็ว ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ คู่กรณียังสามารถใช้สิทธิของตนทางศาลได้ตามกฎหมาย 3.ประหยัด เนื่องจากการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย เป็นการเพิ่มทางเลือกให้คู่กรณีมากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากไกล่เกลี่ยสำเร็จจะทำให้ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายของคู่กรณี และค่าใช้จ่ายของสำนักงาน กสทช. อีกทั้ง การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นการลดขั้นตอน และกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามปกติในการระงับข้อพิพาท 4.เพิ่มอำนาจการต่อรองให้คู่กรณีฝ่ายของผู้บริโภค ซึ่งหากปล่อยให้เจรจาตกลงกันเองจะได้ข้อยุติยาก หรือคู่กรณีฝ่ายผู้บริโภคจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากเป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองต่ำกว่าคู่กรณีฝ่ายผู้ประกอบกิจการ โทรคมนาคม

5. รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่กรณี เนื่องจากคู่กรณีสามารถตกลงระงับ ข้อพิพาทกันได้จะทำให้ลดข้อขัดแย้งโต้เถียงกัน ตลอดจนปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจนเสร็จ โดยไม่กลายเป็นชนวนลุกลามไปสู่ข้อพิพาท ที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย 6. สร้างความพึงพอใจให้แก่คู่กรณี เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นวิธีการที่ใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองและหลัก จิตวิทยา รวมทั้งหลักกฎหมายเพื่อโน้มน้าวให้คู่กรณีลดหย่อนผ่อนปรนให้แก่กันโดยไม่มี การชี้ขาดดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล จึงไม่เกิดความรู้สึกว่ามีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ อันทำให้เกิดความรู้สึกเสียหน้าหรือเสียศักดิ์ศรีจึงเป็นที่พอใจของคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย 7.รักษาชื่อเสียงและความลับทางธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินการเป็นความลับ พยานหลักฐานที่นำเสนอในชั้นไกล่เกลี่ยไม่อาจนำเปิดเผยได้ เว้นแต่คู่กรณีจะยินยอม ทำให้คู่กรณีรักษาความลับหรือชื่อเสียงทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นมิให้แพร่ หลายออกไป อันจะก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้ 8.สร้างความสงบให้แก่ผู้ร้องเรียน เนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ทำให้คู่กรณีที่ทะเลาะ ไม่พูดกันหันหน้ามาเจรจากันได้ เป็นการลดความตึงเครียดระหว่างคู่กรณี 9. ลดปริมาณข้อร้องเรียนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. หรือ กสทช. รวมทั้งคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล และ 10. การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่ทำให้กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนตามปกติเสียไป เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึ่งที่เพิ่มเติม เข้ามา ไม่เป็นการบังคับคู่กรณีให้ต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย คู่กรณีอาจเลือกใช้หรือไม่ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยก็ได้ ซึ่งแม้แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ก็สนับสนุนให้ใช้การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทโดยใช้กลไกทางเลือกที่รวมถึงวิธีการ ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางด้วย รวมทั้งในคดีแพ่ง และพาณิชย์และคดีอาญาประเภทความผิดที่ยอมความได้





___________________________________________

กสทช. เปิดเวทีรับฟังความเห็นร่างไกล่เกลี่ย หวังสร้างกติการ่วม

กสทช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างไกล่เกลี่ย ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ สร้างกติการ่วมกัน หร้อมเสนอ 10 ข้อดี...

นาย สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้าน โทรคมนาคม กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดทำร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และผู้ร้องเรียน พ.ศ. ... จนนำมาสู่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะวานนี้ (25 ก.ค.) ว่า จากการที่กฎหมายกำหนดให้ กสทช.ต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคร้องเรียนผู้ประกอบการเกี่ยว กับการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการด้านโทรคมนาคมเป็นจำนวนมาก โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ บอร์ด กทค. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอความเห็นมายังบอร์ด กทค. แต่ด้วยปริมาณของเรื่องร้องเรียนมีจำนวนมาก ทำให้การพิจารณาเป็นลักษณะคอขวด จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย เพื่อบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนให้เกิดความรวดเร็วมีประสิทธิภาพต่อผู้ บริโภค

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การนำเอาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม มีข้อดี คือ 1.สะดวก เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ไม่มีแบบพิธีมาก นัก ค่อนข้างยืดหยุ่นและเป็นมิตรกันมากกว่าการพิจารณาคดีในศาล 2. รวดเร็ว เนื่องจากการไกล่เกลี่ยใช้เวลาในการดำเนินการไม่นานนักก็สามารถที่จะทราบได้ ว่าคู่กรณีตกลงกันได้หรือไม่ หากตกลงได้ก็จะทำให้ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปได้โดยเร็ว ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ คู่กรณียังสามารถใช้สิทธิของตนทางศาลได้ตามกฎหมาย 3.ประหยัด เนื่องจากการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย เป็นการเพิ่มทางเลือกให้คู่กรณีมากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากไกล่เกลี่ยสำเร็จจะทำให้ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายของคู่กรณี และค่าใช้จ่ายของสำนักงาน กสทช. อีกทั้ง การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นการลดขั้นตอน และกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามปกติในการระงับข้อพิพาท 4.เพิ่มอำนาจการต่อรองให้คู่กรณีฝ่ายของผู้บริโภค ซึ่งหากปล่อยให้เจรจาตกลงกันเองจะได้ข้อยุติยาก หรือคู่กรณีฝ่ายผู้บริโภคจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากเป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองต่ำกว่าคู่กรณีฝ่ายผู้ประกอบกิจการ โทรคมนาคม

5. รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่กรณี เนื่องจากคู่กรณีสามารถตกลงระงับ ข้อพิพาทกันได้จะทำให้ลดข้อขัดแย้งโต้เถียงกัน ตลอดจนปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจนเสร็จ โดยไม่กลายเป็นชนวนลุกลามไปสู่ข้อพิพาท ที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย 6. สร้างความพึงพอใจให้แก่คู่กรณี เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นวิธีการที่ใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองและหลัก จิตวิทยา รวมทั้งหลักกฎหมายเพื่อโน้มน้าวให้คู่กรณีลดหย่อนผ่อนปรนให้แก่กันโดยไม่มี การชี้ขาดดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล จึงไม่เกิดความรู้สึกว่ามีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ อันทำให้เกิดความรู้สึกเสียหน้าหรือเสียศักดิ์ศรีจึงเป็นที่พอใจของคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย 7.รักษาชื่อเสียงและความลับทางธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินการเป็นความลับ พยานหลักฐานที่นำเสนอในชั้นไกล่เกลี่ยไม่อาจนำเปิดเผยได้ เว้นแต่คู่กรณีจะยินยอม ทำให้คู่กรณีรักษาความลับหรือชื่อเสียงทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นมิให้แพร่ หลายออกไป อันจะก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้ 8.สร้างความสงบให้แก่ผู้ร้องเรียน เนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ทำให้คู่กรณีที่ทะเลาะ ไม่พูดกันหันหน้ามาเจรจากันได้ เป็นการลดความตึงเครียดระหว่างคู่กรณี 9. ลดปริมาณข้อร้องเรียนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. หรือ กสทช. รวมทั้งคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล และ 10. การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่ทำให้กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนตามปกติเสียไป เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึ่งที่เพิ่มเติม เข้ามา ไม่เป็นการบังคับคู่กรณีให้ต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย คู่กรณีอาจเลือกใช้หรือไม่ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยก็ได้ ซึ่งแม้แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ก็สนับสนุนให้ใช้การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทโดยใช้กลไกทางเลือกที่รวมถึงวิธีการ ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางด้วย รวมทั้งในคดีแพ่ง และพาณิชย์และคดีอาญาประเภทความผิดที่ยอมความได้

แม้จะนำคดีดังกล่าว ไปฟ้องร้องต่อศาล กฎหมายก็ยังเปิดช่องให้สามารถนำคดีดังกล่าวเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยโดยความ สมัครใจของคู่ความเพื่อทำให้การระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หากกสทช.ไม่นำกลไกทางเลือกมาช่วยในการระงับข้อพิพาททั้งๆ ที่มีโอกาสแล้ว ก็อาจจะถูกมองว่าไม่บริหารจัดการข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็ว และทำให้คู่กรณีขาดโอกาสที่จะใช้กลไกไกล่เกลี่ยเป็นทางเลือกอันมี ประสิทธิภาพที่จะช่วยในการระงับข้อพิพาท

สำหรับบรรยากาศในการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะครั้งนี้ ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นไปด้วยดี ในการสร้าง กฎ กติกา ร่วมกัน โดยสำนักงาน กสทช.จะนำความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายจากเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปรวมกับช่องทางการ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะทางเว็บไซต์ เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ก่อนจัดทำร่างประกาศฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ที่ สุด.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/279075

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 26 ก.ค. 55 21:11:28

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.