Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) รายงานพิเศษ : กสทช.กับพันธกิจ3G ลดค่าบริการมือถือลง20 % เกาะเน็ตล้มติดต่อบาก

ประเด็นหลัก


3G ต้องไม่มีปัญหา “สายหลุด”
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ให้ความมั่นใจกับผู้บริโภค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เมื่อระบบ 3G บนคลื่นความถี่ของ กสทช.เปิดให้บริการแล้วจะไม่มีปัญหาสายหลุด สัญญาณอ่อนแน่

เมื่อเทียบกับปัจจุบันพบว่าคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะผ่านมาตรฐานกลางของ กสทช.  แต่ยังต้องปรับปรุง เนื่องจากยังพบว่ามีปัญหาคุณภาพบริการอยู่

ทั้งนี้ เนื่องจากผลการตรวจสอบของกสทช.จากการการใช้รถวิ่งไปตามเส้นทางไป-กลับ ระหว่างสำนักงาน กสทช. ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างเวลา  9.40 – 11.00 น. และ 13.00 – 16.00 น. เมื่อต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่าการโทร.บนโครงข่ายระบบ 2G  ทั้งหมด 75 ครั้ง ปรากฏว่าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ  เอไอเอส และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ไม่มีสายหลุด ส่วน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด พบ สายหลุด 3 ครั้ง ขณะที่ความแรงของสัญญาณ เอไอเอส 96.4%  ดีแทค 99.48% และทรูมูฟ 99.84%

การโทร.บนโครงข่าย 3G (HSPA) ของเอไอเอสโทร.ออก 65 ครั้ง สายหลุด 2 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 95.91% ดีแทคโทร.ออกจำนวน 67 ครั้ง สายหลุด 13 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 96.05%  ทรูมูฟโทร.จำนวน 66 ครั้ง สายหลุด 3 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 99.96% ทีโอที โทร.ออก 76 ครั้ง สายหลุด 6 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 82.57%










__________________________________


รายงานพิเศษ : กสทช.กับพันธกิจ3G ลดค่าบริการมือถือลง20 % เกาะเน็ตล้มติดต่อบาก

การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในประเทศไทยค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า น่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2556 หลัง ศาลปกครองกลาง ไม่รับฟ้อง และจำหน่ายคดีที่ฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ทั้งหมด


โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ 18 จังหวัดจะเปิดให้บริการก่อน จากนั้นจะทยอยเปิดให้ครอบคลุมพื้นที่ 80%ของประเทศ

แม้ว่าจะช้าไปบ้าง หรือตามหลังเพื่อนบ้านอย่างลาว หรือในแง่การแข่งขันทางการค้าใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และเวียดนาม  เปิดใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ไม่ช้ามากเพราะAEC จะเปิดก็ปี 2558โน่น

การเปิด 3G ยังบว่าเป็นอีกความหวังหนึ่งของคนไทยที่จะได้ใช้จากปัจจุบันมีระบบ 3G แต่เป็น3G บนคลื่นความถี่เดิมของ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)หรือเป็นระบบ 3G  อัพเกรดบนโครงข่ายเดิม (3G HSPA) อาจได้ยินเสียงบ่นว่า “เนตล่ม” บ่อยๆ มีความล่าช้าในการดาวน์โหลดข้อมูล

3G ต้องไม่มีปัญหา “สายหลุด”
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ให้ความมั่นใจกับผู้บริโภค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เมื่อระบบ 3G บนคลื่นความถี่ของ กสทช.เปิดให้บริการแล้วจะไม่มีปัญหาสายหลุด สัญญาณอ่อนแน่

เมื่อเทียบกับปัจจุบันพบว่าคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะผ่านมาตรฐานกลางของ กสทช.  แต่ยังต้องปรับปรุง เนื่องจากยังพบว่ามีปัญหาคุณภาพบริการอยู่

ทั้งนี้ เนื่องจากผลการตรวจสอบของกสทช.จากการการใช้รถวิ่งไปตามเส้นทางไป-กลับ ระหว่างสำนักงาน กสทช. ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างเวลา  9.40 – 11.00 น. และ 13.00 – 16.00 น. เมื่อต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่าการโทร.บนโครงข่ายระบบ 2G  ทั้งหมด 75 ครั้ง ปรากฏว่าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ  เอไอเอส และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ไม่มีสายหลุด ส่วน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด พบ สายหลุด 3 ครั้ง ขณะที่ความแรงของสัญญาณ เอไอเอส 96.4%  ดีแทค 99.48% และทรูมูฟ 99.84%

การโทร.บนโครงข่าย 3G (HSPA) ของเอไอเอสโทร.ออก 65 ครั้ง สายหลุด 2 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 95.91% ดีแทคโทร.ออกจำนวน 67 ครั้ง สายหลุด 13 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 96.05%  ทรูมูฟโทร.จำนวน 66 ครั้ง สายหลุด 3 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 99.96% ทีโอที โทร.ออก 76 ครั้ง สายหลุด 6 ครั้ง ความแรงสัญญาณ 82.57%





ยันค่ามือถือ3Gต้องต่ำลง
ในส่วนค่าบริการ3G นั้น ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายประสานเสียงคล้ายกันว่า ค่าบริการต้องไม่แพงเพราะผู้ชนะประมูล 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น (บริษัทของเอไอเอส) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด (เครือดีแทค)และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (เครือทรู) เสนอราคาค่าคลื่นรวมกันอยู่ที่ 41,625 ล้านบาท ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าผลการศึกษาของ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาไว้ว่า ราคาที่เหมาะสมควรอยู่ที่  57,960 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม น่ายินดีว่า กสทช. ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนชัดเจนในในการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน  โดย  พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน คณะกรรมการกิจการโทคมนาคม(กทค.) ยืนยันจะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 – 20 ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน โดยผู้ชนะประมูลจะต้องรับเงื่อนไขดังกล่าวก่อนให้บริการได้

ขณะที่ฐากร  อธิบายเพิ่มเติมว่า หาก กสทช. จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3G ให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน แล้ว จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยรวมทั้งประเทศได้รับประโยชน์จากการมีค่าบริการที่ถูกลง

             
โดยผลประโยชน์ดังกล่าว หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 15% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4,571.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 54,855 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 822,825 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี(อายุใบอนุญาต 15ปี) แต่หากอัตราราคาค่าบริการลดลง 20% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 6,095.2 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 73,142.6 ล้านบาทต่อปี และประมาณ 1,097,145 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ผลประโยชน์จากการใช้บริการ 3G จากอัตราค่าบริการที่ลดลงได้พิจารณาอ้างอิงจากราคาค่าบริการ 3G ในปัจจุบันในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน
           
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ วิเชียร เมฆตระการ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส เคยให้สัมภาษณ์ว่า การคิดค่าบริการ3Gทั้งบริการเสียง และข้อมูล จะเป็นเท่าไหร่นั้น ต้องดูสภาพการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย
         
ส่วนของคุณภาพสัญญาณนั้น  เมื่อมีการสร้างเน็ตเวิร์ก(โครงข่าย)ใหม่แล้วจะช่วยคลี่คลายปัญหาการใช้อินเตอร์เนตบนโทรศัพท์มือถือ  แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่การใช้งานแต่ละจุดว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใด ในส่วนของ เอไอเอส ที่มีบริษัท เอดับบลิวเอ็น ให้บริการ3G นั้น จะพยายามขยายเน็ตเวิร์กให้ครอบคลุมทุกจุดการใช้งานของลูกค้า และนำบริการที่ดีที่สุดมาให้ลูกค้า
         
ด้าน ชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริการกลุ่มลูกค้า บริษัทดีแทค กล่าวว่าบริษัทพร้อมปฏิบัติตาม กสทช. อย่างปัจจุบันเรามีแพ็กเกจอินเตอร์เนตแบบเหมาจ่าย ที่ราคา 199-299 บาท อยู่แล้ว พร้อมเชื่อว่าในแง่ของคุณภาพจากความแออัดของสัญญาณ เมื่อมี 3G ก็น่าจะดีขึ้น
           
3G เป็นอีกความหวังหนึ่งของคนไทยอีกหลายๆ คนที่จะได้ใช้ ในปีหน้า หรือของนักธุรกิจที่ต้องการใช้รองรับการสื่อสารทางการค้ารองรับ การเปิดAEC ในปี 2558 ขณะที่มีข่าวดีจาก ผู้บริหาร กสทช. ที่ให้คำมั่นว่าค่าบริการในระบบใหม่จะต่ำลง แก้ปัญหาเมล์ล่ม “สายติดๆหลุดๆ” ได้

แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/27873

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.