12 พฤศจิกายน 2555 (แก้ CAT TRUE ผ่านไป135วันแล้ว) DSI ชี้ เอกสารสัญญาซ้อนฉบับจริงถูกทำลายไปแล้ว (ถูกยกเลิกเพราะการเมืองยุคเก่าสั่ง)
ประเด็นหลัก
ล่าสุดดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งผลตรวจสอบประเด็นดังกล่าวไปให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ทราบแล้ว โดยผลการตรวจสอบพบว่าบริษัท กสทฯและกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ เคยทำสัญญาซื้อกิจการกันจริง ดังนั้น การที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ไปทำสัญญาซื้อกิจการกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ภายหลังจึงถือเป็นการทำสัญญาซ้อน
โดยหลักฐานยืนยันการทำสัญญามีทั้งคำให้การของนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท.และเอกสารร่างสัญญาดังกล่าวที่นายจิรายุทธ เคยยื่นให้อัยการตรวจสอบ ส่วนสัญญาฉบับจริงได้รับการชี้แจงว่าถูกทำลายทิ้งไปแล้ว ทั้งนี้ ผลตรวจสอบดังกล่าวจะกระทบทำให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และกลุ่ม ทรูฯ เป็นโมฆะหรือไม่ เบื้องต้น ยังไม่ทราบสามารถให้คำตอบได้ จะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังพบว่าสัญญาระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน ที่ทำขึ้นเพื่อให้ กสท ซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ มูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์สั่งให้ฉีกสัญญาทิ้ง เพื่อเปิดทางให้กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคา 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ว่าสัญญาฉบับดังกล่าวถูกสั่งยกเลิกเพราะการเมือง
______________________________________
รองอธิบดีดีเอสไอชี้ควบรวมทรูมูฟ-ฮัชท์ ทำสัญญาซ้อน
รองอธิบดีดีเอสไอชี้กรณีควบรวม ทรูมูฟ-ฮัชท์ เป็นการทำสัญญาซ้อน รอไอซีทีตัดสินใจแจ้งความดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ
พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ทำหนังสือขอให้ดีเอสไอตรวจสอบเอกสารสัญญาซื้อขายกิจการระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ว่า ล่าสุดดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งผลตรวจสอบประเด็นดังกล่าวไปให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ทราบแล้ว โดยผลการตรวจสอบพบว่าบริษัท กสทฯและกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ เคยทำสัญญาซื้อกิจการกันจริง ดังนั้น การที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ไปทำสัญญาซื้อกิจการกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ภายหลังจึงถือเป็นการทำสัญญาซ้อน
โดยหลักฐานยืนยันการทำสัญญามีทั้งคำให้การของนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท.และเอกสารร่างสัญญาดังกล่าวที่นายจิรายุทธ เคยยื่นให้อัยการตรวจสอบ ส่วนสัญญาฉบับจริงได้รับการชี้แจงว่าถูกทำลายทิ้งไปแล้ว ทั้งนี้ ผลตรวจสอบดังกล่าวจะกระทบทำให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และกลุ่ม ทรูฯ เป็นโมฆะหรือไม่ เบื้องต้น ยังไม่ทราบสามารถให้คำตอบได้ จะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอได้รับการประสานให้ตรวจสอบเพียงประเด็นความมีอยู่จริงของสัญญาระหว่างบริษัท กสทฯกับกลุ่มฮัทช์ฯ ดังนั้น ต้องรอให้รมว.ไอซีทีตัดสินใจว่าจะเข้าแจ้งความให้ดีเอสไอดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ หรือจะนำผลตรวจสอบสัญญาดังกล่าวไปรวมกับคดีที่กระทรวงไอซีทียื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตรวจสอบไปก่อนหน้านี้
รีไร้ท์-โอภาส
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/201
21112/477697/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%
B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0
%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%
E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3
%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%
B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F-
%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B9%
8C-
%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%
8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8
%AD%E0%B8%99.html
__________________________________
ตอผุด! การเมืองแทรก ส่อสัญญา กสท ซื้อฮัทช์ โมฆะ 15พ.ย.นี้
ลุ้น ดีเอเอสไอเผยผลสอบ กสท ทำสัญญาซื้อฮัทช์ วันที่ 15 พ.ย.นี้ หลังความแตก การเมืองแทรกแซงสมัย จิรายุทธ รุ่งศรีทอง นั่งซีอีโอ กสท สมัยนั้น...
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ จะสรุปผลการตรวจสอบว่าเอกสารสัญญาซื้อขายระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และ กลุ่ม บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม ประเทศฮ่องกง เป็นสัญญาที่เคยทำขึ้นจริง ซึ่งจะส่งผลให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่าง กสท และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นโมฆะ ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้
รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังพบว่าสัญญาระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน ที่ทำขึ้นเพื่อให้ กสท ซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ มูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์สั่งให้ฉีกสัญญาทิ้ง เพื่อเปิดทางให้กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคา 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ว่าสัญญาฉบับดังกล่าวถูกสั่งยกเลิกเพราะการเมือง
สำหรับ กระบวนการตรวจสอบของดีเอสไอ คือ สืบหาพยานทั้งหมดว่าสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นและมีอยู่จริง และสอบข้อเท็จจริงว่าเหตุใดเซ็นแล้วจึงถูกยกเลิก ซึ่งการยกเลิกครั้งนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดบ้าง โดย นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ยืนยันว่าได้เซ็นสัญญาซื้อขายระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน เทเลคอม จริง ซึ่งถือเป็นพยานบุคคลที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ดีเอสไอระบุว่า หากพบว่าสัญญาดังกล่าวผิดจริงจะเข้าข่ายผิดกฎหมายฟอกเงินระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่การกระทำผิดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาเกี่ยวข้องจะต้องส่งเรื่องให้ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ส่งฟ้องศาลปกครอง
สำหรับ สัญญาที่ถูกฉีกทิ้ง คือ สัญญาซื้อขายกิจการระหว่าง บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส ในฐานะผู้ขาย และ บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนล กับ กสท ในฐานะผู้ซื้อ ลงวันที่ 31 พ.ค.2553 ซึ่งขณะนั้น นายจิรายุ รุ่งศรีทอง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่.
ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/tech/305441
ล่าสุดดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งผลตรวจสอบประเด็นดังกล่าวไปให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ทราบแล้ว โดยผลการตรวจสอบพบว่าบริษัท กสทฯและกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ เคยทำสัญญาซื้อกิจการกันจริง ดังนั้น การที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ไปทำสัญญาซื้อกิจการกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ภายหลังจึงถือเป็นการทำสัญญาซ้อน
โดยหลักฐานยืนยันการทำสัญญามีทั้งคำให้การของนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท.และเอกสารร่างสัญญาดังกล่าวที่นายจิรายุทธ เคยยื่นให้อัยการตรวจสอบ ส่วนสัญญาฉบับจริงได้รับการชี้แจงว่าถูกทำลายทิ้งไปแล้ว ทั้งนี้ ผลตรวจสอบดังกล่าวจะกระทบทำให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และกลุ่ม ทรูฯ เป็นโมฆะหรือไม่ เบื้องต้น ยังไม่ทราบสามารถให้คำตอบได้ จะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังพบว่าสัญญาระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน ที่ทำขึ้นเพื่อให้ กสท ซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ มูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์สั่งให้ฉีกสัญญาทิ้ง เพื่อเปิดทางให้กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคา 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ว่าสัญญาฉบับดังกล่าวถูกสั่งยกเลิกเพราะการเมือง
______________________________________
รองอธิบดีดีเอสไอชี้ควบรวมทรูมูฟ-ฮัชท์ ทำสัญญาซ้อน
รองอธิบดีดีเอสไอชี้กรณีควบรวม ทรูมูฟ-ฮัชท์ เป็นการทำสัญญาซ้อน รอไอซีทีตัดสินใจแจ้งความดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ
พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ทำหนังสือขอให้ดีเอสไอตรวจสอบเอกสารสัญญาซื้อขายกิจการระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ว่า ล่าสุดดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งผลตรวจสอบประเด็นดังกล่าวไปให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ทราบแล้ว โดยผลการตรวจสอบพบว่าบริษัท กสทฯและกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ เคยทำสัญญาซื้อกิจการกันจริง ดังนั้น การที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ไปทำสัญญาซื้อกิจการกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ภายหลังจึงถือเป็นการทำสัญญาซ้อน
โดยหลักฐานยืนยันการทำสัญญามีทั้งคำให้การของนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท.และเอกสารร่างสัญญาดังกล่าวที่นายจิรายุทธ เคยยื่นให้อัยการตรวจสอบ ส่วนสัญญาฉบับจริงได้รับการชี้แจงว่าถูกทำลายทิ้งไปแล้ว ทั้งนี้ ผลตรวจสอบดังกล่าวจะกระทบทำให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และกลุ่ม ทรูฯ เป็นโมฆะหรือไม่ เบื้องต้น ยังไม่ทราบสามารถให้คำตอบได้ จะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอได้รับการประสานให้ตรวจสอบเพียงประเด็นความมีอยู่จริงของสัญญาระหว่างบริษัท กสทฯกับกลุ่มฮัทช์ฯ ดังนั้น ต้องรอให้รมว.ไอซีทีตัดสินใจว่าจะเข้าแจ้งความให้ดีเอสไอดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ หรือจะนำผลตรวจสอบสัญญาดังกล่าวไปรวมกับคดีที่กระทรวงไอซีทียื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตรวจสอบไปก่อนหน้านี้
รีไร้ท์-โอภาส
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/201
21112/477697/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%
B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0
%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%
E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3
%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%
B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F-
%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B9%
8C-
%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%
8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8
%AD%E0%B8%99.html
__________________________________
ตอผุด! การเมืองแทรก ส่อสัญญา กสท ซื้อฮัทช์ โมฆะ 15พ.ย.นี้
ลุ้น ดีเอเอสไอเผยผลสอบ กสท ทำสัญญาซื้อฮัทช์ วันที่ 15 พ.ย.นี้ หลังความแตก การเมืองแทรกแซงสมัย จิรายุทธ รุ่งศรีทอง นั่งซีอีโอ กสท สมัยนั้น...
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ จะสรุปผลการตรวจสอบว่าเอกสารสัญญาซื้อขายระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และ กลุ่ม บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม ประเทศฮ่องกง เป็นสัญญาที่เคยทำขึ้นจริง ซึ่งจะส่งผลให้สัญญาการให้บริการ 3 จี ระหว่าง กสท และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นโมฆะ ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้
รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังพบว่าสัญญาระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน ที่ทำขึ้นเพื่อให้ กสท ซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ มูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์สั่งให้ฉีกสัญญาทิ้ง เพื่อเปิดทางให้กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการฮัทช์แทนในราคา 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ว่าสัญญาฉบับดังกล่าวถูกสั่งยกเลิกเพราะการเมือง
สำหรับ กระบวนการตรวจสอบของดีเอสไอ คือ สืบหาพยานทั้งหมดว่าสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นและมีอยู่จริง และสอบข้อเท็จจริงว่าเหตุใดเซ็นแล้วจึงถูกยกเลิก ซึ่งการยกเลิกครั้งนี้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดบ้าง โดย นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ยืนยันว่าได้เซ็นสัญญาซื้อขายระหว่าง กสท และ ฮัทชิสัน เทเลคอม จริง ซึ่งถือเป็นพยานบุคคลที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ดีเอสไอระบุว่า หากพบว่าสัญญาดังกล่าวผิดจริงจะเข้าข่ายผิดกฎหมายฟอกเงินระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่การกระทำผิดที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาเกี่ยวข้องจะต้องส่งเรื่องให้ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ส่งฟ้องศาลปกครอง
สำหรับ สัญญาที่ถูกฉีกทิ้ง คือ สัญญาซื้อขายกิจการระหว่าง บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส ในฐานะผู้ขาย และ บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนล กับ กสท ในฐานะผู้ซื้อ ลงวันที่ 31 พ.ค.2553 ซึ่งขณะนั้น นายจิรายุ รุ่งศรีทอง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่.
ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/tech/305441
ไม่มีความคิดเห็น: