Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งนัดไต่สวนเอกชนทั้ง3 20 พ.ย.//กสทช.(บอร์ดสือสาร)บอกเสียหายวันละวันละ210ลบ.

ประเด็นหลัก


ศาลปกครองกลางมีคำสั่งนัดไต่สวนเอกชน 3 บริษัทที่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G 2.1 GHz วันที่ 20 พ.ย.นี้ ในคดีที่สำนักงานเลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)



โดยศาลกำหนดให้บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ตเวิร์ค จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายแรกในเวลา 10.00 น. ต่อมาเป็นบริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายที่สองในเวลา 13.00 น. และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายสุดท้ายในเวลา 14.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 13 ชั้น 3 อาคารสำนักงานศาลปกครองกลาง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 และ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้ไต่สวน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในฐานะผู้ร้องและ กสทช. ในฐานะผู้ถูกร้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อพิจารณาถึงกรณีที่ผู้ร้องขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชะลอการออกใบอนุญาตดังกล่าวก่อนที่จะมีคำพิพากษา




“ในเรื่องที่ผู้ตรวจอ้างว่าไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมนั้น กสทช.ก็ได้ชี้แจงศาลว่าการจะดูว่าเสรีเป็นธรรมหรือไม่ ไม่สามารถมองเฉพาะเวลาประมูลได้ แต่ต้องดูทั้งระบบ คือคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล ประโยชน์ของผู้เข้าประมูล อีกทั้งก่อนหน้านี้ กสทช.ก็ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ให้กับบริษัททีโอที จำกัด มหาชนไปแล้ว 15 เมกะเฮิรตซ์ตามกฎหมายเก่า ฉะนั้นเมื่อมีผู้ประกอบอีก 3 รายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การใช้คลื่นมีผู้ประกอบการถึง 4 รายที่จะแข่งขันให้บริการกับประชาชน”
     
      นายสุทธิพลกล่าวให้เหตุผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยระงับการออกใบอนุญาต 3จีไว้ก่อนว่าจะเสียหายยิ่งกว่าการประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะครั้งที่แล้วการประมูลยังไม่เกิดขึ้นก็มีความเสียหายวันละ 210.8 ล้านบาทต่อวัน แต่ในครั้งนี้มีการประมูลเกิดขึ้นแล้ว มีการรับรอง เอกชนก็ไปกู้เงินเตรียมลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนก็คาดหวัง ถ้าการออกใบอนุญาตถูกระงับ หรือการประมูลต้องล้มไปเอกชนและประชาชนที่คาดหวังก็อาจฟ้องกลับ กสทช.ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรทาง กสทช.ก็เตรียมแนวทางในการดำเนินการรับมือไว้ทุกด้านแล้ว


















_______________________________

ศาลปกครองไต่สวนคำฟ้อง3จี เสร็จ

ประธานกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เชื่อมั่นการประมูลคลื่น 3จี ที่ผ่านมา โปร่งใส สุจริต หลังเข้าไต่สวนกับศาลปกครองกว่า 4 ชม. กรณีผู้ตรวจการฯฟ้อง กสทช.การจัดประมูลมิชอบ

วันที่ 15 พ.ย. ศาลปกครองกลางไต่สวนคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 8 ราย ที่เกี่ยวข้องในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้อง กสทช.เพื่อขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จี โดยการไต่สวนครั้งนี้ ศาลจะพิจารณาว่าสมควรที่จะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อน มีคำพิพากษาคือสั่งระงับการออกใบอนุญาต 3จีไว้ก่อน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องขอหรือไม่ และจะรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัย


ภายหลังศาลใช้เวลาการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า วันนี้ได้ชี้แจงข้อมูลในทุกประเด็นอย่างครบถ้วน เชื่อมั่นว่า การดำเนินการทุกอย่างของ กทค. มีการตรวจสอบในแง่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ประกอบพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุโทรทัศน์ มาตรา 45 มา อย่างครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าศาลปกครองจะมีผลออกมาอย่างไร กสทช.ก็พร้อมเคารพและปฏิบัติตาม ยังไม่อยากคาดเดา ว่าศาลจะมีคำสั่งให้กระบวนการต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หรือจะให้เดินหน้าต่อไป แต่หากมีคำสั่งให้ดำเนินตามกระบวนการได้ คาดว่า จะออกใบอนุญาตทันกำหนดระยะเวลา 90 วันตามระเบียบข้อบังคับอย่างแน่นอน

เช่นเดียวกับ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ได้ชี้แจงศาลปกครองในทุกประเด็น โดยยืนยันว่า คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นฟ้อง กสทช.ครั้งนี้มิชอบ เนื่องจากก่อนมีมติและยื่นคำฟ้องศาลปกครองไม่ได้เปิดโอกาสให้ กสทช. เข้าชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม จากที่ได้ส่งเอกสารไปชี้แจงแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ขอย้ำว่า การดำเนินการของ กสทช. ทำด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม หากศาลมีคำสั่งชะลอการดำเนินการครั้งนี้ มองว่า จะเกิดความเสียหายมากกว่า การล้มประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/pol/306445

____________________________________



กสทช.ยันประมูล 3จีถูกต้อง ดักคอระงับเสียงถูกฟ้อง-เสียหายวันละ 210 ล้าน



กสทช.แจงออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูลเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม พร้อมยกคดีแดงที่ 80/47 เปรียบเทียบยันมีอำนาจตาม รธน.มาตรา 47 ระบุทีโอทีได้ไปแล้ว 15 เมกะเฮิรตซ์ เผยหากศาลสั่งระงับออกใบอนุญาต เสียหายเกินกว่าวันละ 210 ล้านแน่ แถมสุ่มเสี่ยงโดนเอกชนฟ้องร้องด้วย
     
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 พ.ย.) ภายหลังการไต่สวนคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จี กว่า 4 ชั่วโมง พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช.เชื่อว่าระบบกระบวนการยุติธรรมจะเป็นที่พึ่งของประชาชนและ กสทช. เนื่องจากการดำเนินการของ กสทช.เป็นไปด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยอมรับคำวินิจฉัยที่จะออกมาไม่ว่าจะออกมาในทางใด
     
      ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.กล่าวว่า กสทช.ได้นำผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงรวม 8 ปาก โดยชี้แจงครบทุกประเด็น ว่าในการออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลก็เป็นไปตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมาย ที่ถูกฟ้องเพราะการประมูลไม่ถูกใจคนอื่น ไม่ใช่ไม่ถูกกฎหมาย ส่วนคำฟ้องของผู้ตรวจแผ่นดินก็ฟ้องผิดตัวเพราะสำนักงาน กสทช.ไม่ได้มีอำนาจออกประกาศ หรือรับรองผลประมูล อีกทั้งในคำฟ้องก็ระบุเพียงว่า ประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ชอบ มีการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ แต่ก็ไม่ระบุว่าไม่ชอบอย่างไร ซึ่ง กสทช.ก็ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการที่เห็นว่าควรมีการเดินหน้าในการอใบอนุญาตมาให้กับศาล พร้อมกับยกคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ 80/47 ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกำกับยา ที่มีการระบุว่า กรณีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ศาลปกครองจะไม่เข้าไปก้าวล่วงในการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรที่มีความชำนาญพิเศษจะต้องเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ตรงนี้เมื่อเทียบกับกรณีนี้แล้วถือว่ากสทช.เป็นผู้ที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องกิจการโทรคมนาคม ย่อมรู้ดีว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 47 บัญญัติ
     
      “ในเรื่องที่ผู้ตรวจอ้างว่าไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมนั้น กสทช.ก็ได้ชี้แจงศาลว่าการจะดูว่าเสรีเป็นธรรมหรือไม่ ไม่สามารถมองเฉพาะเวลาประมูลได้ แต่ต้องดูทั้งระบบ คือคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล ประโยชน์ของผู้เข้าประมูล อีกทั้งก่อนหน้านี้ กสทช.ก็ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ให้กับบริษัททีโอที จำกัด มหาชนไปแล้ว 15 เมกะเฮิรตซ์ตามกฎหมายเก่า ฉะนั้นเมื่อมีผู้ประกอบอีก 3 รายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การใช้คลื่นมีผู้ประกอบการถึง 4 รายที่จะแข่งขันให้บริการกับประชาชน”
     
      นายสุทธิพลกล่าวให้เหตุผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยระงับการออกใบอนุญาต 3จีไว้ก่อนว่าจะเสียหายยิ่งกว่าการประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะครั้งที่แล้วการประมูลยังไม่เกิดขึ้นก็มีความเสียหายวันละ 210.8 ล้านบาทต่อวัน แต่ในครั้งนี้มีการประมูลเกิดขึ้นแล้ว มีการรับรอง เอกชนก็ไปกู้เงินเตรียมลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนก็คาดหวัง ถ้าการออกใบอนุญาตถูกระงับ หรือการประมูลต้องล้มไปเอกชนและประชาชนที่คาดหวังก็อาจฟ้องกลับ กสทช.ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรทาง กสทช.ก็เตรียมแนวทางในการดำเนินการรับมือไว้ทุกด้านแล้ว

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000139910&Keyword=%a1%ca%b7

_______________________________


กสทช.ยันประมูล3จีถูกต้อง ชี้ระงับเสียหายวันละ210ล.


      วานนี้ (15 พ.ย.) ศาลปกครองกลางได้ไต่สวนคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี โดยเป็นการไต่สวนฝ่าย กสทช. หลังจากที่เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ศาลได้ไต่สวนฝ่ายผู้ตรวจการแผ่นดินไปแล้ว ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้วศาลจะได้พิจารณาว่า สมควรที่จะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือสั่งระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องขอหรือไม่ และจะรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่
      ทั้งนี้ก่อนการไต่สวน พล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ทาง กทค. เป็นฝ่ายชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการประมูลใบอนุญาต 3 จี ส่วนตัวเชื่อว่าการดำเนินการจัดประมูลครั้งนี้ มีความมุ่งมั่นเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ สร้างความก้าวหน้าให้ภาคประชาชน แต่หากการดำเนินการดังกล่าวต้องชะลอออกไป ก็คิดว่าจะเกิดความเสียหายทำให้ระบบโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพที่ล่าช้ากว่าประเทศอื่น
      ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงข้อมูลในทุกประเด็นโดยเตรียมข้อมูลและเอกสารมาอย่างครบถ้วน เชื่อมั่นว่าการดำเนินการทุกอย่างของ กทค. มีการตรวจสอบในแง่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ประกอบพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุโทรทัศน์ มาตรา 45 มาอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ไม่ว่าศาลปกครองจะมีผลออกมาอย่างไร ก็พร้อมเคารพ และปฏิบัติตาม และยังไม่อยากคาดเดาว่าศาลจะมีคำสั่งให้กระบวนการต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หรือจะให้เดินหน้าต่อไป หากมีคำสั่งให้ดำเนินตามกระบวนการได้ ก็น่าจะออกใบอนุญาตทันกำหนดระยะเวลา 90 วัน ตามระเบียบข้อบังคับอย่างแน่นอน
      ส่วนนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงและให้ความร่วมมือกับศาลปกครองในทุกประเด็น โดยยืนยันว่า คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นฟ้อง กสทช. ครั้งนี้ มิชอบ เนื่องจากก่อนมีมติ และยื่นคำฟ้องศาลปกครองไม่ได้เปิดโอกาสให้ กสทช. เข้าชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ได้ส่งเอกสารไปชี้แจงแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอย้ำว่า การดำเนินการของกสทช. ทำด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากศาลมีคำสั่งชะลอการดำเนินการครั้งนี้ มองว่าจะเกิดความเสียหายมากกว่า การล้มประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างแน่นอน
     
      ** ยันประมูลถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่น
     
      ภายหลังการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง พ.อ. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช. เชื่อว่าระบบกระบวนการยุติธรรม จะเป็นที่พึ่งของประชาชนและกสทช. เนื่องจากการดำเนินการของกสทช. เป็นไปด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยอมรับคำวินิจฉัยที่จะออกมา ไม่ว่าจะออกมาในทางใด
      ด้านนายสุทธิพล กล่าวว่า กสทช.ได้นำผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงรวม 8 ปาก โดยชี้แจงครบทุกประเด็นว่าในการออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการประมูลฯ ก็เป็นไปตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมาย ที่ถูกฟ้องเพราะการประมูลไม่ถูกใจคนอื่น ไม่ใช่ไม่ถูกกฎหมาย ส่วนคำฟ้องของผู้ตรวจแผ่นดิน ก็ฟ้องผิดตัว เพราะสำนักงานกสทช. ไมได้มีอำนาจออกประกาศ หรือรับรองผลประมูล อีกทั้งในคำฟ้อง ก็ระบุเพียงว่า ประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ชอบ มีการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ แต่ก็ไม่ระบุว่า ไม่ชอบอย่างไร ซึ่งกสทช. ก็ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการที่เห็นว่าควรมีการเดินหน้าในการออกใบอนุญาตมาให้กับศาล พร้อมกับยกคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดง ที่ 80 /47 ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกำกับยา ที่มีการระบุว่า กรณีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ศาลปกครองจะไม่เข้าไปก้าวล่วงในการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรที่มีความชำนาญพิเศษ จะต้องเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ตรงนี้เมื่อเทียบกับกรณีนี้แล้ว ถือว่ากสทช. เป็นผู้ที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องกิจการโทรคมนาคม ย่อมรู้ดีว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 47 บัญญัติ
      "ในเรื่องที่ผู้ตรวจอ้างว่าไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมนั้น กสทช. ก็ได้ชี้แจงศาลว่าการจะดูว่าเสรีเป็นธรรมหรือไม่ ไม่สามารถมองเฉพาะเวลาประมูลได้ แต่ต้องดูทั้งระบบ คือคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล ประโยชน์ของผู้เข้าประมูล อีกทั้งก่อนหน้านี้กสทช. ก็ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮริตซ์ ให้กับบริษัททีโอที จำกัด มหาชนไปแล้ว 15 เมกะเฮริตซ์ ตามกฎหมายเก่า ฉะนั้นเมื่อมีผู้ประกอบอีก 3 รายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การใช้คลื่นมีผู้ประกอบการถึง 4 ราย ที่จะแข่งขันให้บริการกับประชาชน"
     
      ** ชี้ระงับ3จี เสียหายวันละกว่า210ล.
     
      นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า ได้ให้เหตุผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อนว่าจะเสียหายยิ่งกว่าการประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะครั้งที่แล้วการประมูลยังไม่เกิดขึ้น ก็มีความเสียหายวันละ 210.8 ล้านบาทต่อวัน แต่ในครั้งนี้มีการประมูลเกิดขึ้นแล้ว มีการรับรอง เอกชนก็ไปกู้เงินเตรียมลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนก็คาดหวัง ถ้าการออกใบอนุญาตถูกระงับ หรือการประมูลต้องล้มไป เอกชนและประชาชนที่คาดหวังก็อาจฟ้องกลับกสทช. ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรทางกสทช. ก็เตรียมแนวทางในการดำเนินการรับมือไว้ทุกด้านแล้ว



ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000139885&Keyword=%a1%ca%b7

______________________________


ศาลปกครองนัดเอกชน 3 รายไต่สวน 20 พ.ย.กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องคดี 3G


ศาลปกครองกลางมีคำสั่งนัดไต่สวนเอกชน 3 บริษัทที่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G 2.1 GHz วันที่ 20 พ.ย.นี้ ในคดีที่สำนักงานเลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)



โดยศาลกำหนดให้บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ตเวิร์ค จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายแรกในเวลา 10.00 น. ต่อมาเป็นบริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ค จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายที่สองในเวลา 13.00 น. และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เข้าชี้แจงเป็นรายสุดท้ายในเวลา 14.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 13 ชั้น 3 อาคารสำนักงานศาลปกครองกลาง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 และ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้ไต่สวน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในฐานะผู้ร้องและ กสทช. ในฐานะผู้ถูกร้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อพิจารณาถึงกรณีที่ผู้ร้องขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชะลอการออกใบอนุญาตดังกล่าวก่อนที่จะมีคำพิพากษา

คดีนี้ ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรการ 47 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรการ 45 ประกอบมาตรา 41 วรรค1 และ วรรค 7 หรือไม่ พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวด้วยการระงับการออกใบอนุญาต 3G

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1532010

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.