Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 ธันวาคม 2555 (เกาะติดเล่นเน็ตทุกคลิ๊กเสียงเสียตังค์)ไทยตั้งข้อสงวนไว้ ไม่แก้ไขปรับปรุงผูกมัดไทย (ไม่ตามจีน รัสเซีย ตะวันออกกลาง)

ประเด็นหลัก

“ แม้ประเทศไทยจะมีท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะให้ขยายคำจำกัดความของโทรคมนาคม รวมไปถึง ICT และอินเทอร์เน็ต แต่ก็มีหลายประเทศ  เช่น จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง ประสงค์จะให้รวมประเด็นเรื่อง ICT และอินเทอร์เน็ตเข้าไปในคำจำกัดความของโทรคมนาคม เพื่อให้หลักเกณฑ์กำกับดูแลรวมเรื่อง ICT และอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากไม่สามารถคัดค้านในประเด็นนี้ได้  ผมก็จะเสนอให้ประเทศไทยตั้งข้อสงวนไว้ เพื่อไม่ให้การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวผูกมัดประเทศไทย  จึงขอยืนยันว่าในการเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าประชุมระดับโลกในครั้งนี้ จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องประโยชน์ของประเทศชาติ และทำให้ผลการประชุมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทยมากที่สุด” ดร. สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย


_________________________________________

กสทช.ป้องประโยชน์ชาติค้านรวมICTและอินเตอร์เน็ตเข้ากับโทรคมนาคม

“สุทธิพล”แนะ ICT ตั้งข้อสงวนหากผลการประชุม WCIT-12 นำเอาคำจำกัดความโทรคมนาคม ร่วมกับ “ ไอซีที-อินเทอร์เน็ต”

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม World Conference on International Telecommunications 2012 (WCIT-12) พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุม WCIT-12  ณ เมือง ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2555 โดยได้เข้าประชุมกับคณะกรรมการพิจารณาร่าง International Telecommunications Regulations (ITRs) (Committee 5) ซึ่งเป็นการประชุมกลุ่มย่อยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นการพิจารณาร่าง ITRs ซึ่งกำลังถูกจับตามองจากคนทั่วโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในขณะนี้ว่าจะมีทิศทางออกมาเช่นใด ก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมใหญ่พิจารณาและนำไปสู่ข้อสรุปของที่ประชุมใหญ่ในวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคมนี้

ทั้งนี้ ดร.สุทธิพล ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหารือทวิภาคีกับนาย Terry D. Kramer  เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐ และคณะผู้แทน    ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงความมั่นคงของสหรัฐ โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันว่าไม่ต้องการให้นำเอาคำจำกัดความของ Telecommunications รวมเข้ากับ ICT และ Internet  เนื่องจาก ITRs เป็นกฎ กติกาในระดับโลก และการรวมเอา ICT และ internet เข้าไว้ในคำจำกัดความของโทรคมนาคมจะเป็นการขัดต่อหลักของประชาธิปไตย หลักเสรีภาพในการสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูล  รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องกับรัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลของแต่ละประเทศในการออกกฎกติกาตามพันธกรณี   ในการนี้ฝ่ายสหรัฐได้แสดงความยินดีและชื่นชมต่อความสำเร็จของไทยในการจัดการประมูล 3G จนสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ โดยออกใบอนุญาตฯ ได้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย และทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของไทยมีความพร้อมในการแข่งขันในเวทีสากล

“ แม้ประเทศไทยจะมีท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะให้ขยายคำจำกัดความของโทรคมนาคม รวมไปถึง ICT และอินเทอร์เน็ต แต่ก็มีหลายประเทศ  เช่น จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง ประสงค์จะให้รวมประเด็นเรื่อง ICT และอินเทอร์เน็ตเข้าไปในคำจำกัดความของโทรคมนาคม เพื่อให้หลักเกณฑ์กำกับดูแลรวมเรื่อง ICT และอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากไม่สามารถคัดค้านในประเด็นนี้ได้  ผมก็จะเสนอให้ประเทศไทยตั้งข้อสงวนไว้ เพื่อไม่ให้การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวผูกมัดประเทศไทย  จึงขอยืนยันว่าในการเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าประชุมระดับโลกในครั้งนี้ จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องประโยชน์ของประเทศชาติ และทำให้ผลการประชุมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวไทยมากที่สุด” ดร. สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

           อนึ่งการจัดประชุม WCIT-12 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงข้อกำหนด ITRs ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 1988 ทำให้การประชุมในครั้งนี้อยู่ในความสนใจของคนทั่วโลก และประเด็นที่ถูกจับตามองก็คือการวมเอา ICT และ internet เข้าไว้ในคำจำกัดความของโทรคมนาคม โดยทั่วไปแล้ว การตัดสินใจของ ITU จะเป็นการตัดสินใจโดยใช้ฉันทามติ อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้มีความเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งหากไม่สามารถหาฉันทามติได้อาจจะต้องมีการลงมติ ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกจะมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง โดยจะมีการลงมติกันในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์


ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=158764:ict&catid=176:20
09-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.