12 กุมภาพันธ์ 2556 (เจาะดูรายเจ้าNETทั่วไทยร้อยละ80) AIS เร็วได้ ต้องร่วมมือใช้โครงสร้างเน็ตเวิร์กร่วมกัน // TRUE ตอนนี้ 20%ของประชากรทั้งหมด // DTAC และ CAT 3G ช่วยได้ // TOT จะลงทุนในเมืองเท่านั้น //
ประเด็นหลัก
อีก วิธีที่ไปได้เร็ว คือ การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน หรือ "อินฟราสตรักเจอร์แชริ่ง" นำเสาส่งสัญญาณ หรือสายไฟเบอร์ออปติกมาแบ่งกันใช้ตามข้อตกลงระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่ง "กสท โทรคมนาคม" และ "ทีโอที" รับบทโต้โผ รวมถึงการตั้ง "ทาวเวอร์โค คอมปานี" ที่กระทรวงไอซีทีพยายามผลักดันเช่นกัน
"กิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย บมจ. กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า การใช้โครงข่ายร่วมกันเป็นสิ่งที่พยายามทำมาตลอด แต่ถ้าให้ทำต่อโดยไม่มีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุนก็คงไม่ไหว ถ้าให้ลากไฟเบอร์ออปติกคนเดียวแล้วแบ่งให้เอกชนใช้คงไม่คุ้มค่า แต่อีกวิธีที่จะทำให้เป้าหมายที่กระทรวงไอซีทีตั้งไว้ใกล้ความจริงคือ การมาของ 2.1GHz
"เป้าหมายที่ 80% ใน 5 ปี ลำบาก แต่เราจะเดินหน้าลากสายให้มากขึ้น เพื่อให้ใช้ร่วมกับเอกชน ถ้ามี 3G ปีนี้ การใช้งานของประชาชนจะเพิ่มขึ้นมาก การมีอินเทอร์เน็ตใช้ผ่านมือถือดีสำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล"
ฝั่ง "รังสรรค์ จันทร์นฤกุล" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ปัจจุบันการแชร์อุปกรณ์ไม่ใช่มีแค่เอไอเอสที่ร่วมมือด้วย แต่มีรายอื่น ๆ อีก เพราะทีโอทีเป็นหนึ่งในผู้วางโครงข่ายรายใหญ่ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของวง การโทรคมนาคม ที่มีทั้งเสาส่งสัญญาณ และท่อร้อยสายไฟเบอร์ออปติก แต่ถ้าให้คุ้มกับการลงทุน ทีโอทีจะเป็นแค่คนที่ทำโครงข่ายไปถึงหัวเมืองใหญ่มากกว่า เมื่อลงไปในหมู่บ้านจะเป็นฝั่งโอเปอเรเตอร์ทำกันเอง เพื่อให้เกิดความทั่วถึงสำหรับกรณีมือถือ
"อินฟราสตรักเจอร์แชริ่งจำ เป็นมากในการทำให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไปตามเป้าหมายไอซีที ถ้าไม่มีคนมาร่วมมือ การใช้ระบบ 3G เพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้แทบเป็นไปไม่ได้ บางทีอาจไม่ถึงตัวที่กำหนดไว้เรื่องการครอบคลุมของโครงข่าย 3G ที่ต้องมากกว่า 50% ใน 2 ปีแรก การจับมือกันจึงจำเป็น"
ตัวเลข 80% ย่อมมีความเป็นได้มาก นอกจากนี้ เครื่องราคาถูกลงควรจะมีมากขึ้นด้วย ทั้งโน้ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟน ทำให้ปัญหาเรื่องไม่สามารถเข้าถึงดีไวซ์ได้เริ่มลดลง นอกจากนี้ราคาแพ็กเกจบริการเมื่อก่อนยังสูงอยู่ แม้วันนี้จะไม่ปรับลงมาเท่าไรนัก แต่การทำให้ความเร็วเพิ่มมากขึ้นก็ถือเป็นการช่วยผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย
แล้วในมุมโอเปอเรเตอร์คิดเห็นอย่างไร
"ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนวางแผนระบบเครือข่ายและบริการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า หาก 3G ครอบคลุมทั่วประเทศไทยเร็วเท่าไร โอกาสที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น เพราะการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ ห่างไกล โดยเฉพาะบริเวณที่สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปไม่ถึงท่องโลกออนไลน์ได้ แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น การเริ่มต้นใช้โครงสร้างเน็ตเวิร์กร่วมกันเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าไม่มีการจับมือ โอกาสที่จะขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรในประเทศตามเป้าหมายย่อมเป็นไปได้ยาก
"นนท์ อิงคุทานนท์" ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เป้าหมายของกระทรวงไอซีทีเป็นไปได้แน่นอน เมื่อคำนวณตัวเลข 80% เป็นประชากรประมาณ 50 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้ปัจจุบันมี 4.3 ล้านครัวเรือน และแต่ละบ้านมีผู้ใช้ 2 คน สำหรับฟิกซ์ไลน์ในบ้านก็มีคนใช้เกือบ 10 ล้านคนแล้ว รวมไวไฟฮอตสปอตกว่า 2 แสนจุดทั่วประเทศ แต่ละจุดใช้รวมกันประมาณ 30 คน ก็มีกว่า 6 ล้านแล้ว เมื่อนำสองตัวมารวมกันก็ได้ 16 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งหมด
"นฤพล รัตนสมาหาร" ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า ก่อนประมูลคลื่น 2.1 GHz จะเริ่มต้น หลายฝ่ายมองเป็นเรื่องยากหากจะทำให้คนครึ่งหนึ่งของประเทศใช้บรอดแบนด์ แต่เมื่อมีคลื่นใหม่ไปให้บริการ 3G พร้อมกับการเข้ามา
กระตุ้นของกระทรวงไอซีที เชื่อว่าอาจสำเร็จก่อนกำหนดด้วยซ้ำไป แต่ไม่ควรเร่งเกินไป ซึ่งการใช้โครงข่ายร่วมกันเป็นอีกปัจจัยที่จำเป็น
___________________________
ปูพรมบรอดแบนด์ทั่วประเทศ อีกไกลแค่ไหนถึงจะใกล้ 80%
การ ใช้งานบรอดแบนด์ในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง ทั้งจากความต้องการในการใช้งาน และการผลักดันตลาดโดยการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ ซึ่งแต่ละรายไม่ว่าจะเป็นทรูออนไลน์, 3 บีบี หรือทีโอที เป็นต้น ต่างเดินหน้าขยับขยายบริการอย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะเป็นการเร่งเพิ่มพื้นที่การให้บริการ, การปรับราคาลง และเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างฐานลูกค้า แต่ถึงกระนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในบ้านเราก็ยังเตาะแตะอยู่ที่ 20 กว่า% ของจำนวนประชากรเท่านั้น
ขณะที่นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ตั้งเป้าขับเคลื่อน
"สมาร์ท ไทยแลนด์" โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้สนับสนุนให้ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอด แบนด์ถึง 80% ของประชากร ภายใน 5 ปี และ 95% ภายใน 10 ปี สาระสำคัญของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ คือ กำหนดให้บรอดแบนด์เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นเดียวกับน้ำ ไฟฟ้า และถนนหนทางที่ต้องมีอย่างเพียงพอ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้บริการที่หลากหลายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม กัน
ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสแข่งขันอย่างเสมอภาคในอัตราค่าบริการ เหมาะสม มีการให้บริการ 24x7 ระดับคุณภาพเชื่อถือได้ 99.99% ในปี 2558 พร้อมมีนโยบายให้บรอดแบนด์ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข บริการของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงรักษาความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ฝั่ง กระทรวงไอซีทีวางโครงข่ายพื้นฐานไปบ้างแล้ว โดย "เมธินี เทพมณี" ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า เป้าหมายคือให้คนไทยตระหนักรู้ถึงการใช้อินเทอร์เน็ต และใช้อย่างมีประโยชน์ได้ เมื่อ 4 ปีก่อนมีผู้ที่เรียนรู้การใช้เพียง 12% น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้นำในอาเซียนด้วยกัน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีกว่า 50% หากนับประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปในบ้านเรามีถึง 62 ล้านคน จาก 65 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแค่ 16.6 ล้านคน หรือ 25% เท่านั้น
การชักจูงผู้คนอีกกว่า 45 ล้านคนไม่ง่าย แต่หากช่วยกันกระตุ้นตลาดเข้าไปให้ความรู้ก็น่าจะทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้
อีก วิธีที่ไปได้เร็ว คือ การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน หรือ "อินฟราสตรักเจอร์แชริ่ง" นำเสาส่งสัญญาณ หรือสายไฟเบอร์ออปติกมาแบ่งกันใช้ตามข้อตกลงระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่ง "กสท โทรคมนาคม" และ "ทีโอที" รับบทโต้โผ รวมถึงการตั้ง "ทาวเวอร์โค คอมปานี" ที่กระทรวงไอซีทีพยายามผลักดันเช่นกัน
"กิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย บมจ. กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า การใช้โครงข่ายร่วมกันเป็นสิ่งที่พยายามทำมาตลอด แต่ถ้าให้ทำต่อโดยไม่มีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุนก็คงไม่ไหว ถ้าให้ลากไฟเบอร์ออปติกคนเดียวแล้วแบ่งให้เอกชนใช้คงไม่คุ้มค่า แต่อีกวิธีที่จะทำให้เป้าหมายที่กระทรวงไอซีทีตั้งไว้ใกล้ความจริงคือ การมาของ 2.1GHz
"เป้าหมายที่ 80% ใน 5 ปี ลำบาก แต่เราจะเดินหน้าลากสายให้มากขึ้น เพื่อให้ใช้ร่วมกับเอกชน ถ้ามี 3G ปีนี้ การใช้งานของประชาชนจะเพิ่มขึ้นมาก การมีอินเทอร์เน็ตใช้ผ่านมือถือดีสำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล"
ฝั่ง "รังสรรค์ จันทร์นฤกุล" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ปัจจุบันการแชร์อุปกรณ์ไม่ใช่มีแค่เอไอเอสที่ร่วมมือด้วย แต่มีรายอื่น ๆ อีก เพราะทีโอทีเป็นหนึ่งในผู้วางโครงข่ายรายใหญ่ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของวง การโทรคมนาคม ที่มีทั้งเสาส่งสัญญาณ และท่อร้อยสายไฟเบอร์ออปติก แต่ถ้าให้คุ้มกับการลงทุน ทีโอทีจะเป็นแค่คนที่ทำโครงข่ายไปถึงหัวเมืองใหญ่มากกว่า เมื่อลงไปในหมู่บ้านจะเป็นฝั่งโอเปอเรเตอร์ทำกันเอง เพื่อให้เกิดความทั่วถึงสำหรับกรณีมือถือ
"อินฟราสตรักเจอร์แชริ่งจำ เป็นมากในการทำให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไปตามเป้าหมายไอซีที ถ้าไม่มีคนมาร่วมมือ การใช้ระบบ 3G เพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้แทบเป็นไปไม่ได้ บางทีอาจไม่ถึงตัวที่กำหนดไว้เรื่องการครอบคลุมของโครงข่าย 3G ที่ต้องมากกว่า 50% ใน 2 ปีแรก การจับมือกันจึงจำเป็น"
ตัวเลข 80% ย่อมมีความเป็นได้มาก นอกจากนี้ เครื่องราคาถูกลงควรจะมีมากขึ้นด้วย ทั้งโน้ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟน ทำให้ปัญหาเรื่องไม่สามารถเข้าถึงดีไวซ์ได้เริ่มลดลง นอกจากนี้ราคาแพ็กเกจบริการเมื่อก่อนยังสูงอยู่ แม้วันนี้จะไม่ปรับลงมาเท่าไรนัก แต่การทำให้ความเร็วเพิ่มมากขึ้นก็ถือเป็นการช่วยผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย
แล้วในมุมโอเปอเรเตอร์คิดเห็นอย่างไร
"ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนวางแผนระบบเครือข่ายและบริการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า หาก 3G ครอบคลุมทั่วประเทศไทยเร็วเท่าไร โอกาสที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น เพราะการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ ห่างไกล โดยเฉพาะบริเวณที่สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปไม่ถึงท่องโลกออนไลน์ได้ แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น การเริ่มต้นใช้โครงสร้างเน็ตเวิร์กร่วมกันเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าไม่มีการจับมือ โอกาสที่จะขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรในประเทศตามเป้าหมายย่อมเป็นไปได้ยาก
"50% เป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ใช้อินฟราสตรักเจอร์แชริ่ง เราอยากได้ราคาเหมาะสม การซ่อมบำรุงดี ไม่มีเอกชนอยากสร้างหรอก รวมถึงเรื่องท่อร้อยสายด้วย อยากเช่าใช้มาก กรณีทาวเวอร์โค ถ้าภาครัฐทำไม่ทันเราก็ทำเองได้ แต่ท่อร้อยสายทำไม่ได้เลยจริง ๆ"
เมื่อทุกอย่างลงตัว เวลาที่เหลือไม่มากนี้จะเพียงพอต่อการกระจายโครงข่ายให้ครอบคลุมการใช้อิน เทอร์เน็ตของผู้บริโภคได้ถึง 85% แน่นอน จากการสร้างโครงข่ายโดยหน่วยงานภาครัฐและผู้ให้บริการต่าง ๆ ถ้าให้เปรียบเทียบคือหน่วยงานรัฐช่วยกระจายโครงข่ายแบบมีสาย และผู้ให้บริการเร่งกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายครอบคลุมพื้นที่ห่าง ไกล
"นนท์ อิงคุทานนท์" ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เป้าหมายของกระทรวงไอซีทีเป็นไปได้แน่นอน เมื่อคำนวณตัวเลข 80% เป็นประชากรประมาณ 50 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้ปัจจุบันมี 4.3 ล้านครัวเรือน และแต่ละบ้านมีผู้ใช้ 2 คน สำหรับฟิกซ์ไลน์ในบ้านก็มีคนใช้เกือบ 10 ล้านคนแล้ว รวมไวไฟฮอตสปอตกว่า 2 แสนจุดทั่วประเทศ แต่ละจุดใช้รวมกันประมาณ 30 คน ก็มีกว่า 6 ล้านแล้ว เมื่อนำสองตัวมารวมกันก็ได้ 16 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งหมด
ทุก ๆ ปีผู้ใช้จะเพิ่มขึ้น 20% เมื่อถึงปีที่กำหนดก็จะมีเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เมื่อดูตามโรงเรียนต่าง ๆ กว่า 3 หมื่นแห่งมีบริการไวไฟในโรงเรียน รองรับการใช้งานสูงสุดได้ 100 คน จะมีผู้ใช้ที่เป็นนักเรียนกว่า 10 ล้านคน
ที่ สำคัญเมื่อคลื่น 2.1 GHz เปิดใช้เต็มระบบ การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ผลักดันให้เป้าหมายที่กระทรวงไอซีทีตั้งไว้เป็นไปได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า
"นฤพล รัตนสมาหาร" ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า ก่อนประมูลคลื่น 2.1 GHz จะเริ่มต้น หลายฝ่ายมองเป็นเรื่องยากหากจะทำให้คนครึ่งหนึ่งของประเทศใช้บรอดแบนด์ แต่เมื่อมีคลื่นใหม่ไปให้บริการ 3G พร้อมกับการเข้ามา
กระตุ้นของกระทรวงไอซีที เชื่อว่าอาจสำเร็จก่อนกำหนดด้วยซ้ำไป แต่ไม่ควรเร่งเกินไป ซึ่งการใช้โครงข่ายร่วมกันเป็นอีกปัจจัยที่จำเป็น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1360676854&grpid=&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: