25 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เผยสูตรใหม่ 3-7-7-7 คาดปั๊มรายได้ ด้ราว 20,700 ล้านบาท
ประเด็นหลัก
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ “การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ธุรกิจ 24 ช่อง” ของทีมวิจัยต้องกลับไปเริ่มต้นทำงานใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง “สัดส่วนช่องรายการ” ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อการ “ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่” ที่จะนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้น” ในการประมูล “ทีวีดิจิทัล” รายประเภท
ชงราคาสูตรใหม่เดือนเม.ย.นี้
รศ.ดร.ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล ประเภทธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจทีวี” ว่า การศึกษาเปลี่ยนสูตรประมูลทีวีดิจิทัลใหม่ เป็น 3-7-7-7 จากเดิมสูตร 5-5-10-4 มาจากการทดลองทางเทคนิคที่สามารถจัดสรรช่อง HD ได้เพิ่ม และความต้องการของผู้ประกอบกิจการในธุรกิจที่ต้องการดำเนินกิจการทีวีรูปแบบ HD สอดคล้องกับแนวโน้มเทคโนโลยีต่างประเทศในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการประมูลช่องใหม่ ทำให้ทีมวิจัยฯ จะต้องนำปัจจัยสำคัญดังกล่าวมาประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัลธุรกิจทั้ง 24 ช่องใหม่ ซึ่งมูลค่าจะแตกต่างจากการประเมินก่อนหน้า เพื่อนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้นประมูล” คาดว่าจะสรุปผลประเมินมูลค่ารอบใหม่ในราวปลายเดือนมี.ค. หรือ ต้นเดือนเม.ย. นี้
ตามหลักการหลังการประเมินมูลค่าคลื่นฯ รายประเภทช่องรายการ จะนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้น” ประมูล โดยปกติจะมีราคาต่ำกว่าราคาประเมิน ซึ่งเป็นมูลค่าที่คาดหวังว่าจะได้ เพราะในขั้นตอนการประมูลราคาจะเพิ่มขึ้นจากการแข่งขัน จนไปอยู่ที่ระดับราคาประเมิน หรือสูงกว่า หากการแข่งขันมีผู้ประกอบการสนใจจำนวนมาก
เคาะมูลค่าคลื่นฯ 2 หมื่นล้าน
รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า ตามสูตรเก่าประมูล 24 ช่องทีวีดิจิทัล ได้กำหนดเพดานการถือครองช่องรายการสูงสุดไว้ที่ 2 ช่อง จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตต่ำสุด 19 ราย ขณะที่สูตรใหม่กำหนดเพดานถือครอง 3 ช่องรายการ จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตต่ำสุด 14 ราย
จากการศึกษาสูตรเดิม ผู้เชี่ยวชาญทางนิเทศศาสตร์ ประเมินว่าผู้ที่มีศักยภาพประมูลช่อง HD 4 ช่อง จะมี 10 ราย แต่สูตรใหม่เพิ่มเป็นช่อง HD 7 ช่อง จำเป็นต้องมีช่องเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาตั้งต้น “ลดลง” จากเดิม ที่คาดว่าจะอยู่ที่ช่องละ 1,000-3,000 ล้านบาท จะเป็นปัจจัยสำคัญ “เพิ่ม” จำนวนผู้ประกอบการที่สนใจประมูลประเภท SD มีศักยภาพเข้าสู่การประมูลช่อง HD มากขึ้น คาดว่าผู้ประมูลประเภท HD ราว 10-15 ราย
“การคำนวณเพื่อประเมินมูลค่าคลื่นฯ ทีวีดิจิทัลธุรกิจ หากทราบจำนวนผู้เล่นที่จะเข้าประมูล จะทำให้การประเมินมีความแม่นยำสูงสุด ปัจจุบันเชื่อว่ายังมีผู้ประกอบการอีกหลายราย ยังไม่ประกาศตัวจะเข้าประมูล” รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
จากสูตรเดิมคาดว่าราคาประเมินมูลค่าคลื่นรวม 24 ช่อง จะอยู่ที่ราว 20,500 -20,700 ล้านบาท ขณะที่สูตรใหม่โดยใช้หลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ทั่วไปประเมินคลื่นฯ จากจำนวนช่องเท่าเดิม แม้ว่าราคาบางประเภทจะเปลี่ยนแปลง แต่จะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้น เชื่อว่ามูลค่าโดยรวมจะไม่แตกต่างจากสูตรเดิมมากนัก ดังนั้นราคาประเมินมูลค่าสูตรใหม่ จะทำให้มีรายได้ราว 20,700 ล้านบาท เช่นกัน
จากผลการศึกษาของจุฬาฯ นั้น ระบุว่า ส่วนรายได้อื่นๆ เช่น ค่าผลิตรายการ ค่าเช่าสตูดิโอ และรายได้จากการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์แอ็คทีฟ จะเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยหลังจากเปิดสัญญาณออนแอร์ทีวีดิจิทัลแล้วในปี 1-5 สัดส่วนรายได้อื่น คิดเป็น 8% ของรายได้ทั้งหมด ปี 6-10 สัดส่วน 10% และ 12% ในปีที่ 11-15 ของการดำเนินงานทีวีดิจิทัล
หลังจากการประมูลทีวีดิจิทัล จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ไทยหลายด้าน ทั้งด้านข่าวสารที่จะมีจำนวนช่องเพิ่มขึ้น ช่องบันเทิงหลากหลาย รวมทั้งช่องเด็กที่จะมีคอนเทนท์ใหม่ๆ สำหรับเด็กโดยเฉพาะ อีกทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะทำให้เกิดการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เมื่อกลุ่มอาเซียนได้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีทีวีดิจิทัลแล้ว ประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและคอนเทนท์ระหว่างกัน เพราะถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานประการหนึ่ง ที่ภาครัฐ และ กสทช. ต้องสนับสนุนให้เกิด ทีวีดิจิทัล ในประเทศไทย
_________________________________________
เจาะสูตรใหม่ชิง‘ทีวีดิจิทัล’โกยรายได้2หมื่นล.
ทีมวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นฯ “ทีวีดิจิทัล” ธุรกิจ 24 ช่อง เผยสูตรใหม่ 3-7-7-7 ปั๊มรายได้ประมูลรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท
การจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) รวม 48 ช่องในปีนี้ ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในจำนวนดังกล่าวประกอบไปด้วยประเภทสาธารณะ 12 ช่อง ธุรกิจ 24 ช่อง และ ชุมชน 12 ช่อง โดยประเภทสาธารณะ และ ชุมชน กสทช.ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) ในการให้ใบอนุญาต ส่วนประเภทธุรกิจรวม 24 ช่อง จะต้องใช้วิธีการ “ประมูล” ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ “เห็นชอบ” ในการประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา ให้เปลี่ยนแปลงสัดส่วนการประมูลช่องรายการใหม่ ภายใต้สูตร 3-7-7-7 ซึ่งมีสองมาตรฐานช่องรายการ คือ ความคมชัดมาตรฐาน (Standard definition : SD) และความคมชัดสูง (High definition : HD) ประกอบด้วย ช่องเด็ก SD 3 ช่อง ช่องข่าว SD 7 ช่อง ช่องวาไรตี้ SD 7 ช่อง และ ช่องวาไรตี้ HD 7 ช่อง
จากเดิมที่ใช้สูตรประมูล 5-5-10-4 ประกอบด้วย ช่องเด็ก SD 5 ช่อง ช่องข่าว SD 5 ช่อง ช่องวาไรตี้ SD 10 ช่อง และ ช่องวาไรตี้ HD 4 ช่อง
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ “การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ธุรกิจ 24 ช่อง” ของทีมวิจัยต้องกลับไปเริ่มต้นทำงานใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง “สัดส่วนช่องรายการ” ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อการ “ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่” ที่จะนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้น” ในการประมูล “ทีวีดิจิทัล” รายประเภท
ชงราคาสูตรใหม่เดือนเม.ย.นี้
รศ.ดร.ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล ประเภทธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจทีวี” ว่า การศึกษาเปลี่ยนสูตรประมูลทีวีดิจิทัลใหม่ เป็น 3-7-7-7 จากเดิมสูตร 5-5-10-4 มาจากการทดลองทางเทคนิคที่สามารถจัดสรรช่อง HD ได้เพิ่ม และความต้องการของผู้ประกอบกิจการในธุรกิจที่ต้องการดำเนินกิจการทีวีรูปแบบ HD สอดคล้องกับแนวโน้มเทคโนโลยีต่างประเทศในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการประมูลช่องใหม่ ทำให้ทีมวิจัยฯ จะต้องนำปัจจัยสำคัญดังกล่าวมาประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัลธุรกิจทั้ง 24 ช่องใหม่ ซึ่งมูลค่าจะแตกต่างจากการประเมินก่อนหน้า เพื่อนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้นประมูล” คาดว่าจะสรุปผลประเมินมูลค่ารอบใหม่ในราวปลายเดือนมี.ค. หรือ ต้นเดือนเม.ย. นี้
ตามหลักการหลังการประเมินมูลค่าคลื่นฯ รายประเภทช่องรายการ จะนำไปกำหนดเป็น “ราคาตั้งต้น” ประมูล โดยปกติจะมีราคาต่ำกว่าราคาประเมิน ซึ่งเป็นมูลค่าที่คาดหวังว่าจะได้ เพราะในขั้นตอนการประมูลราคาจะเพิ่มขึ้นจากการแข่งขัน จนไปอยู่ที่ระดับราคาประเมิน หรือสูงกว่า หากการแข่งขันมีผู้ประกอบการสนใจจำนวนมาก
เคาะมูลค่าคลื่นฯ 2 หมื่นล้าน
รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า ตามสูตรเก่าประมูล 24 ช่องทีวีดิจิทัล ได้กำหนดเพดานการถือครองช่องรายการสูงสุดไว้ที่ 2 ช่อง จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตต่ำสุด 19 ราย ขณะที่สูตรใหม่กำหนดเพดานถือครอง 3 ช่องรายการ จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตต่ำสุด 14 ราย
จากการศึกษาสูตรเดิม ผู้เชี่ยวชาญทางนิเทศศาสตร์ ประเมินว่าผู้ที่มีศักยภาพประมูลช่อง HD 4 ช่อง จะมี 10 ราย แต่สูตรใหม่เพิ่มเป็นช่อง HD 7 ช่อง จำเป็นต้องมีช่องเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาตั้งต้น “ลดลง” จากเดิม ที่คาดว่าจะอยู่ที่ช่องละ 1,000-3,000 ล้านบาท จะเป็นปัจจัยสำคัญ “เพิ่ม” จำนวนผู้ประกอบการที่สนใจประมูลประเภท SD มีศักยภาพเข้าสู่การประมูลช่อง HD มากขึ้น คาดว่าผู้ประมูลประเภท HD ราว 10-15 ราย
เช่นเดียวกับช่องข่าว SD ที่เพิ่มจาก 5 ช่อง เป็น 7 ช่อง โดยหลักการราคาประมูลและราคาตั้งต้นจะ “ลดลง” เช่นกัน การเพิ่มจำนวนช่องข่าว เนื่องจากประเมินจากผู้ประกอบการช่องข่าว ที่มีความต้องการจำนวนมาก อีกทั้งการเพิ่มจำนวนจะทำให้มี “รายใหม่” เข้าสู่อุตสาหกรรมทีวี ส่งเสริมการสร้างความสมดุลของการนำเสนอเนื้อหาหลากหลาย และทำให้ผู้ชมมีทางเลือกดูข่าวมากขึ้น
ขณะที่ช่องเด็ก SD ที่ลดจำนวนจาก 5 ช่อง เหลือ 3 ช่อง จะเป็นไปตามกลไกตลาดเมื่อจำนวนลดลงราคาตั้งต้นประมูลจะต้องสูงขึ้น จากเดิมที่อาจจะเริ่มต้นที่ช่องละ 100 ล้านบาท
“การคำนวณเพื่อประเมินมูลค่าคลื่นฯ ทีวีดิจิทัลธุรกิจ หากทราบจำนวนผู้เล่นที่จะเข้าประมูล จะทำให้การประเมินมีความแม่นยำสูงสุด ปัจจุบันเชื่อว่ายังมีผู้ประกอบการอีกหลายราย ยังไม่ประกาศตัวจะเข้าประมูล” รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
จากสูตรเดิมคาดว่าราคาประเมินมูลค่าคลื่นรวม 24 ช่อง จะอยู่ที่ราว 20,500 -20,700 ล้านบาท ขณะที่สูตรใหม่โดยใช้หลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ทั่วไปประเมินคลื่นฯ จากจำนวนช่องเท่าเดิม แม้ว่าราคาบางประเภทจะเปลี่ยนแปลง แต่จะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้น เชื่อว่ามูลค่าโดยรวมจะไม่แตกต่างจากสูตรเดิมมากนัก ดังนั้นราคาประเมินมูลค่าสูตรใหม่ จะทำให้มีรายได้ราว 20,700 ล้านบาท เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กรณีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่อาจจะต้องมีการจัดสรรคลื่นใหม่ หรือ ประมูลช่องทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจเพิ่มเติม ทีมวิจัยฯ จะไม่นำปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มาเป็นปัจจัยในการคำนวณมูลค่าคลื่นฯ ในครั้งนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อาจจะ “ไม่เกิด” ขึ้นก็ได้ ดังนั้นหากนำมาร่วมพิจารณาด้วย จะทำให้การประเมินคลาดเคลื่อนได้ และเกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจได้
“ปัจจัยที่แน่นอนในวันนี้ คือ การจัดสรรทีวีดิจิทัล ธุรกิจ 24 ช่อง แม้ว่าอนาคตจะมีจำนวนช่องมากขึ้น หรือมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่เป็นสิ่งที่ยังไม่แน่นอน จึงไม่ควรนำปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าว เข้ามาพิจารณา เพราะมีความเสี่ยงเช่นกัน หากไม่เกิดขึ้น และอาจทำให้ราคาประเมินอาจไม่ถูกต้อง” รศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
อุตฯ ทีวีโตต่อเนื่องปีละ 6%
ในอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ทั่วโลก “เทคโนโลยี” เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการ “รายเก่า” จะได้เปรียบ “รายใหม่” เสมอ เพราะเข้าสู่ตลาดก่อน ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ การสร้างการรับรู้ต่อฐานผู้ชมและตลาด เชื่อว่าในกิจการบรอดแคสต์ซึ่งเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ถือเป็นความเสี่ยงของผู้เข้ามาทีหลัง แม้ในอนาคตอาจจะมีการจัดสรรคลื่นทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม แต่ราคาตั้งต้นประมูล อาจสูงกว่าปัจจุบัน
หากพิจารณาจากกระแสเงินสด และรายได้ที่เกิดขึ้นในกิจการบรอดแคสต์แล้ว ถือว่าผลตอบแทน “ไม่เลว” และเป็นกิจการที่มีอนาคตและเติบโตได้ เพราะต้นทุนส่วนเพิ่มต่ำมาก ขณะที่รายได้จะเพิ่มในอัตราสูง หากพิจารณาจากทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาแหล่งรายได้หลักของธุรกิจทีวี ในช่วง 6-7 ปีย้อนหลัง มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 6% ตามจีดีพีประเทศไทย อีกทั้งยังมีรายได้จาก Non Advertising อื่นๆ มีแนวโน้มเติบโตสูงเช่นกัน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับต่างประเทศ
จากผลการศึกษาของจุฬาฯ นั้น ระบุว่า ส่วนรายได้อื่นๆ เช่น ค่าผลิตรายการ ค่าเช่าสตูดิโอ และรายได้จากการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์แอ็คทีฟ จะเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยหลังจากเปิดสัญญาณออนแอร์ทีวีดิจิทัลแล้วในปี 1-5 สัดส่วนรายได้อื่น คิดเป็น 8% ของรายได้ทั้งหมด ปี 6-10 สัดส่วน 10% และ 12% ในปีที่ 11-15 ของการดำเนินงานทีวีดิจิทัล
หลังจากการประมูลทีวีดิจิทัล จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ไทยหลายด้าน ทั้งด้านข่าวสารที่จะมีจำนวนช่องเพิ่มขึ้น ช่องบันเทิงหลากหลาย รวมทั้งช่องเด็กที่จะมีคอนเทนท์ใหม่ๆ สำหรับเด็กโดยเฉพาะ อีกทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะทำให้เกิดการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เมื่อกลุ่มอาเซียนได้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีทีวีดิจิทัลแล้ว ประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและคอนเทนท์ระหว่างกัน เพราะถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานประการหนึ่ง ที่ภาครัฐ และ กสทช. ต้องสนับสนุนให้เกิด ทีวีดิจิทัล ในประเทศไทย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130325/496792/%E0%A8%D2%D0%CA%D9%B5%C3%E3%C
B%C1%E8%AA%D4%A7%B7%D5%C7%D5%B4%D4%A8%D4%B7%D1%C5%E2%A1%C2%C3%D2%C2%E4%
B4%E92%CB%C1%D7%E8%B9%C5..html
ไม่มีความคิดเห็น: