5 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) ศรัณย์AISชัดเจน4Gต้อง1800(มีเวลาเพียง2-3ปีเท่านั้น!! เจษฎาชี้ทำให้ต้นทุนต่อ Mbps ลดลง
ประเด็นหลัก
"ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์" เลขานุการรองประธาน กสทช. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กล่าวว่า ค่ายมือถือแต่ละรายต้องการชิงความเป็นผู้นำ และสร้างอิมเมจก่อนคู่แข่งจึงมีการนำบริการ 4G มาสร้าง
การนำคลื่น 2.1 GHz มาให้บริการ 4G เทคโนโลยี LTE ปัจจุบัน มีเพียงประเทศญี่ปุ่นเปิดให้บริการแล้ว โดยเทรนด์ของทั่วโลกในขณะนี้นิยมเปิดบริการ LTE บนคลื่น 1800 MHz จากข้อมูลล่าสุด ณ เดือน ม.ค. 2556 ของ GSA-Global Mobile Suppliers Association พบว่า มี 58 ประเทศเปิดให้บริการ LTE บนคลื่น 1800 MHz อาทิ สหรัฐราชอาณาจักร ฮ่องกง สิงคโปร์ เยอรมนี จากเดิมนิยมใช้คลื่น 2.6 GHz ส่วนหนึ่งมาจากคลื่น 1800 MHz ในยุโรปเริ่มไม่มีผู้ใช้งาน เนื่องจากการสิ้นสุดใบอนุญาตใช้คลื่น รวมถึงการชี้นำเทรนด์โดยผู้ผลิตแฮนด์เซตยอดนิยม "แอปเปิล" ที่มีไอโฟน 5 รองรับ LTE บนคลื่น 1800 MHz
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 MHz ในหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า อาทิ ในการประมูลที่เบลเยียม หรือเกาหลีใต้
แม้การให้บริการ 4G บนคลื่น 2.1 GHz จะยังมีต้นทุนสูงกว่าคลื่น 1800 MHz ที่พร้อมทั้งด้านอุปกรณ์โครงข่ายและแฮนด์เซตมากกว่า แต่มีหลายประเทศเริ่มหันมาใช้โมเดล 4G ของญี่ปุ่นมากขึ้น
การให้บริการ 4G หัวใจสำคัญ คือ โมบายบรอดแบนด์ ทำให้ต้นทุนต่อ Mbps ลดลง แต่ได้ประสิทธิภาพเรื่องความเร็วที่ดีกว่า 3G อย่างน้อย 3-4 เท่า รวมถึงมีศักยภาพในการรองรับผู้ใช้แต่ละสถานีฐานมากขึ้นด้วย จึงเหมาะกับการนำมาใช้รองรับความต้องการใช้ดาต้าที่มากขึ้น
ดังนั้น หากมีบริการ 4G บนคลื่น 2.1 GHz จริงก็จะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มขึ้น มีทั้ง 2G, 3G และ 4G
2.1 GHz เหมาะทำ 3G มากกว่า
ด้าน "ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวางแผนและพัฒนาเครือข่าย บมจ.แอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ในแง่การลงทุนควรเลือกทำ 4G บนคลื่นความถี่ที่มีเครื่องลูกข่ายรองรับมากที่สุด ปัจจุบันระบบ 4G เทคโนโลยี LTE ไม่มีคลื่นความถี่มาตรฐาน ต่างจาก 3G ที่ใช้ 2.1 GHz เป็นความถี่มาตรฐานทั่วโลก
ดังนั้น ย่านความถี่ที่นิยมนำมาให้บริการ LTE จึงเป็นย่านที่มีความถี่กว้าง ๆ อย่าง 1800 MHz หรือ 2.6 GHz เพราะ LTE ต้องใช้แถบความถี่กว้างจึงจะให้บริการด้วยความเร็วสูงได้ หรือไม่ก็เป็นย่านความถี่ต่ำ เช่น 700 MHz หรือ 850 MHz เพราะสามารถส่งสัญญาณได้ไกล อาจมีกรณีพิเศษคือย่าน 2.1 GHz ที่ญี่ปุ่นใช้ทำ 4G เพราะจัดสรรความถี่ไม่เหมือนประเทศอื่น
สำหรับประเทศไทยย่านความถี่ที่เหมาะสมทำ LTE คือ 1800 MHz เพราะมีแถบความถี่กว้าง 75 MHz ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 2.1 GHz, 2.3 GHz และ 2.6 GHz ส่วนย่าน850/900 MHz มีแถบความถี่ไม่กว้างพอที่จะใช้ LTE ได้เต็มที่ ขณะที่ 700 MHz ยังทับกับการใช้ในกิจการโทรทัศน์
"4G-LTE ทำได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อมีแถบความถี่ 20 MHz ถ้าได้รับจัดสรรมาไม่ถึง ความเร็วจะช้าลงกลายเป็นทุกค่ายความเร็วต่ำหมด ถ้าใช้คลื่นความถี่สูงเกินไปก็ต้องลงสถานีฐานจำนวนมาก"
"ศรัณย์" ย้ำว่า คลื่น 2.1 GHz ที่แต่ละรายเพิ่งได้รับจัดสรรมา 15 MHz เพียงพอใช้งานได้คล่องตัวใน 2-3 ปีแรกเท่านั้น จากนั้นความเร็วของบริการดาต้าจะช้าลงเพราะความต้องการใช้ที่เติบโตก้าวกระโดด เมื่อถึงเวลานั้นต้องมี 4G มาช่วยแบ่งเบา หมายถึงต้องสร้างเครือข่าย และประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ดังนั้น ปีหน้าจึงเหมาะสมประมูลคลื่นเพื่อนำมาทำ 4G
____________________________________
จุดพลุประมูล 1800 MHz ถึงเวลาเมืองไทยเขย่งก้าวสู่ 4G ?
เพิ่งเคาะใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ใบอนุญาต 3G" ไปไม่นาน แต่วันนี้กระแสการให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE กลับร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นำโดยค่ายมือถือ
น้องเล็ก "ทรูมูฟ เอช" ประเดิมก่อนด้วยการนำคลื่น 2.1 GHz มาทดลองให้บริการ 4G บนเทคโนโลยี LTE โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในเดือน เม.ย.ที่จะถึงนี้ หากแต่พื้นที่บริการจะกระจุกตัวอยู่กลางเมืองในพื้นที่ที่มีการใช้งานดาต้าหนาแน่น
ในแง่จำนวนลูกค้าเป้าหมายยังไม่มาก เพราะข้อจำกัดเรื่องเครื่องลูกข่ายที่มีเพียงไม่กี่รุ่น ขณะที่โครงข่ายการให้บริการก็ยังอยู่ในพื้นที่จำกัด
การเปิดตัว 4G ของ "ทรูมฟ เอช" จึงเปรียบได้กับการชิงซีนความเป็นผู้นำเทคโนโลยี ที่นำมาโชว์ให้ดูก่อนเป็นการถ่ายทอดสดระบบ HD ผ่าน 4G ออกอากาศช่อง TNN 24 ทั้งการสตรีมมิ่ง ดาวน์โหลด อัพโหลด และรับชมวิดีโอคุณภาพระดับ HD
ไลเซนส์เปิดกว้างเทคโนโลยี
"ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์" เลขานุการรองประธาน กสทช. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กล่าวว่า ค่ายมือถือแต่ละรายต้องการชิงความเป็นผู้นำ และสร้างอิมเมจก่อนคู่แข่งจึงมีการนำบริการ 4G มาสร้าง
กิมมิกและสีสันการตลาด แต่กว่าจะเห็นการใช้งานจริงน่าจะเป็นอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพราะไม่ใช่แค่การสื่อสารรูปแบบเดิม ๆ ระหว่างคนกับคน แต่เป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ (Machine to Machine) เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่บนโมบายแพลตฟอร์ม ซึ่งใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1 GHz ของ กสทช.ไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปให้บริการเฉพาะ 3G เท่านั้น แม้คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า ใบอนุญาต 3G ดังนั้น หากผู้ให้บริการรายใดพร้อมก็เปิดให้บริการได้ทันที
การนำคลื่น 2.1 GHz มาให้บริการ 4G เทคโนโลยี LTE ปัจจุบัน มีเพียงประเทศญี่ปุ่นเปิดให้บริการแล้ว โดยเทรนด์ของทั่วโลกในขณะนี้นิยมเปิดบริการ LTE บนคลื่น 1800 MHz จากข้อมูลล่าสุด ณ เดือน ม.ค. 2556 ของ GSA-Global Mobile Suppliers Association พบว่า มี 58 ประเทศเปิดให้บริการ LTE บนคลื่น 1800 MHz อาทิ สหรัฐราชอาณาจักร ฮ่องกง สิงคโปร์ เยอรมนี จากเดิมนิยมใช้คลื่น 2.6 GHz ส่วนหนึ่งมาจากคลื่น 1800 MHz ในยุโรปเริ่มไม่มีผู้ใช้งาน เนื่องจากการสิ้นสุดใบอนุญาตใช้คลื่น รวมถึงการชี้นำเทรนด์โดยผู้ผลิตแฮนด์เซตยอดนิยม "แอปเปิล" ที่มีไอโฟน 5 รองรับ LTE บนคลื่น 1800 MHz
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 MHz ในหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า อาทิ ในการประมูลที่เบลเยียม หรือเกาหลีใต้
แม้การให้บริการ 4G บนคลื่น 2.1 GHz จะยังมีต้นทุนสูงกว่าคลื่น 1800 MHz ที่พร้อมทั้งด้านอุปกรณ์โครงข่ายและแฮนด์เซตมากกว่า แต่มีหลายประเทศเริ่มหันมาใช้โมเดล 4G ของญี่ปุ่นมากขึ้น
การให้บริการ 4G หัวใจสำคัญ คือ โมบายบรอดแบนด์ ทำให้ต้นทุนต่อ Mbps ลดลง แต่ได้ประสิทธิภาพเรื่องความเร็วที่ดีกว่า 3G อย่างน้อย 3-4 เท่า รวมถึงมีศักยภาพในการรองรับผู้ใช้แต่ละสถานีฐานมากขึ้นด้วย จึงเหมาะกับการนำมาใช้รองรับความต้องการใช้ดาต้าที่มากขึ้น
ดังนั้น หากมีบริการ 4G บนคลื่น 2.1 GHz จริงก็จะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มขึ้น มีทั้ง 2G, 3G และ 4G
2.1 GHz เหมาะทำ 3G มากกว่า
ด้าน "ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวางแผนและพัฒนาเครือข่าย บมจ.แอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ในแง่การลงทุนควรเลือกทำ 4G บนคลื่นความถี่ที่มีเครื่องลูกข่ายรองรับมากที่สุด ปัจจุบันระบบ 4G เทคโนโลยี LTE ไม่มีคลื่นความถี่มาตรฐาน ต่างจาก 3G ที่ใช้ 2.1 GHz เป็นความถี่มาตรฐานทั่วโลก
ดังนั้น ย่านความถี่ที่นิยมนำมาให้บริการ LTE จึงเป็นย่านที่มีความถี่กว้าง ๆ อย่าง 1800 MHz หรือ 2.6 GHz เพราะ LTE ต้องใช้แถบความถี่กว้างจึงจะให้บริการด้วยความเร็วสูงได้ หรือไม่ก็เป็นย่านความถี่ต่ำ เช่น 700 MHz หรือ 850 MHz เพราะสามารถส่งสัญญาณได้ไกล อาจมีกรณีพิเศษคือย่าน 2.1 GHz ที่ญี่ปุ่นใช้ทำ 4G เพราะจัดสรรความถี่ไม่เหมือนประเทศอื่น
สำหรับประเทศไทยย่านความถี่ที่เหมาะสมทำ LTE คือ 1800 MHz เพราะมีแถบความถี่กว้าง 75 MHz ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 2.1 GHz, 2.3 GHz และ 2.6 GHz ส่วนย่าน850/900 MHz มีแถบความถี่ไม่กว้างพอที่จะใช้ LTE ได้เต็มที่ ขณะที่ 700 MHz ยังทับกับการใช้ในกิจการโทรทัศน์
"4G-LTE ทำได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อมีแถบความถี่ 20 MHz ถ้าได้รับจัดสรรมาไม่ถึง ความเร็วจะช้าลงกลายเป็นทุกค่ายความเร็วต่ำหมด ถ้าใช้คลื่นความถี่สูงเกินไปก็ต้องลงสถานีฐานจำนวนมาก"
"ศรัณย์" ย้ำว่า คลื่น 2.1 GHz ที่แต่ละรายเพิ่งได้รับจัดสรรมา 15 MHz เพียงพอใช้งานได้คล่องตัวใน 2-3 ปีแรกเท่านั้น จากนั้นความเร็วของบริการดาต้าจะช้าลงเพราะความต้องการใช้ที่เติบโตก้าวกระโดด เมื่อถึงเวลานั้นต้องมี 4G มาช่วยแบ่งเบา หมายถึงต้องสร้างเครือข่าย และประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ดังนั้น ปีหน้าจึงเหมาะสมประมูลคลื่นเพื่อนำมาทำ 4G
ลุ้นต่อประมูลคลื่น 1800 MHz
ขณะที่ความคืบหน้าของการบริหารคลื่น 1800 MHz ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปแม้จะใกล้ถึงวันที่สัมปทานของ ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน หรือดีพีซี สิ้นสุดลงเดือน ก.ย. 2556 ที่จะถึงนี้แล้ว "ดีพีซี" คงไม่เท่าไร ลูกค้าแค่หยิบมือเดียว แต่ "ทรูมูฟ"ปาเข้าไปกว่า 17 ล้านราย
"พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุว่า ในที่ประชุม กทค.ล่าสุด (20 ก.พ. 2556) เห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเตรียมการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz โดยจะมีกรรมการ กทค.ทั้ง 5 คนร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะอนุกรรมการ
นอกจากนี้ ยังจะประสานกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในการจัดตั้งหลักเกณฑ์การประมูล การประเมินมูลค่าคลื่น และราคาตั้งต้นการประมูล โดยภายใต้คณะอนุกรรมการจะตั้งคณะทำงานเพื่อการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการประมูลคลื่น คณะทำงานเยียวยาผลกระทบอันเกิดจากการสิ้นสุดสัมปทานด้วย
เบื้องต้นบอร์ด กทค.เห็นชอบตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม DIGITAL PCN (Personal Communication Network) 1800 MHz ที่กำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดสัมปทานที่ 1 ปี จากนั้นจะนำคลื่น 1800 MHz มาประมูล ดังนั้น คาดว่าหากไม่มีอุปสรรคอะไรการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz จะเกิดขึ้นในราวปลายปีหน้า
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362458739&grpid=09&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: