Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) ดร.เสรี , TRUE และ DTAC ไม่เห็นด้วยกรณี N+1 อาจทำให้การประมูลล่ม AIS แนะไม่ครบเพิ่มราคาขั้นต้นรอบต่อไป


ประเด็นหลัก


ด้าน ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการ กล่าวว่า การประมูลไม่มีการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และใบอนุญาตมีเวลาถึง 19 ปี ทำให้เกิดการผูกขาด ทั้งเอื้อเอกชนมากไป ทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการชำระค่าบริการที่สูงสิ่งที่ผู้เข้าร่วม แสดงความคิดเห็นเป็นกังวลที่สุดน่าจะเป็นกรณี N+1 ทั้งหมดเกรงว่าอาจทำให้การประมูลครั้งนี้ล่ม

ธัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การใช้กฎ N+1 เป็นเรื่องแปลก เพราะการประมูลครั้งก่อนไม่มีกฎนี้ กสทช.ยืนยันว่า การประมูลครั้งก่อนดีแล้ว ดังนั้น ไม่มีกฎนี้น่าจะทำได้ การใช้กฎนี้ยังขัดต่อวัตถุประสงค์ของ กสทช.ที่บอกว่าเทคโนโลยีต้องมาก่อน แต่นี่เน้นให้เกิดการแข่งขันสูง และหารายได้เข้ารัฐเกิน

ด้าน วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาผู้เข้าประมูลไม่ครบตามกฎ เสนอให้ใช้วิธีขยายระยะเวลาการเข้าประมูลออกไปอีก 30 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้รายใหม่เสนอตัวเข้ามาประมูล แต่ถ้ายังไม่มีเข้ามาอีก ก็อาจขยับราคาตั้งต้นขึ้น แล้วดำเนินการประมูลต่อทันที

ฟากตัวแทนจากดีแทคกล่าวว่า การใช้กฎ N+1 อาจทำให้การประมูลล่าช้าออกจึงควรแก้ไขเพื่อให้ประมูลไม่ล่มทุกฝ่ายยังมอง ว่า ราคาตั้งต้นสูงเกินไป



ถัดจากนี้ ยังมีการแก้ไขอะไรบ้าง คงต้องขึ้นอยู่กับ "กสทช." ซึ่งหากดูจากประวัติศาสตร์การประชาพิจารณ์ในอดีตเป็นตัวตั้ง แนวรบชิงคลื่นใหม่คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเชื่อว่าไม่ดุเดือดเลือดพล่านสุดขีด ก็อาจอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เพราะไลเซนส์ที่มีไม่พอสำหรับทุกคน











______________________________________


ชิงดำคลื่น 1800 MHz ลุ้นประมูล 2 ไลเซนส์ใต้กฎ N+1


คืบไปอีกขั้นสำหรับกระบวนการประมูลคลื่น 1800 MHz โดย "กสทช." ในขั้นตอนการจัดประชาพิจารณ์ หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1710-1722.5 MHz/1805-1817.5 MHz และ 1748-1785/1805-1880 MHz และแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 1710-1785 MHz/1895-1880 MHz เมื่อ 28 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ความจุคลื่น 25 MHz แบ่ง 2 ใบอนุญาต ใบละ 12.5 MHz ราคาตั้งต้น 11,600 ล้านบาท เสนอเพิ่มครั้งละ 5% (580 ล้านบาท)

มีรูปแบบเหมือนการประมูลคลื่น 2100 MHz เกือบทั้งหมด ยกเว้นต้องมีผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต (3 รายขึ้นไป) เรียกว่าใช้หลัก N+1 มีอายุใบอนุญาต 19 ปี และผู้ชนะต้องขยายโครงข่ายครอบคลุม 40% ของประชากรในปีแรก

ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า หลังทำประชาพิจารณ์แล้ว จะนำข้อเสนอไปหารือกับคณะทำงาน และส่งให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณา เพื่อให้ กสทช.ลงความเห็นกลาง มิ.ย.นี้ และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเดือน ก.ค.คาดว่าจะประมูลได้ ส.ค.

สำหรับเวทีประชาพิจารณ์ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ๆ คือขนาดคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต, วิธีอนุญาต (การประมูล) และราคาขั้นต่ำ

นฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า จำนวนคลื่น 12.5 MHz ต่อใบอนุญาต ไม่สมเหตุผลต่อการนำมาประมูลนัก เพราะ 4G LTE ควรมีความจุคลื่น 10 MHz ขึ้นไป แต่ประมูลครั้งนี้มีเศษ 2.5 MHz ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อการประมูล ทำให้ราคาสูงขึ้นจึงควรนำ 5 MHz ที่เหลือ เมื่อรวมกันสองใบอนุญาตแล้วเก็บไว้ประมูลอีกครั้ง

วาที เปาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การแบ่งใบอนุญาตเป็น 12.5 MHz/ใบ อาจทำให้มีบางรายถือครองคลื่นมากกว่าเดิม กสทช.ควรกำหนดเพดานการถือครองคลื่นแต่ละราย เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยในเบื้องต้นอาจใช้คลื่นความถี่สูง และต่ำเป็นตัวแบ่งลิมิตการถือครอง

ด้าน ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการ กล่าวว่า การประมูลไม่มีการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และใบอนุญาตมีเวลาถึง 19 ปี ทำให้เกิดการผูกขาด ทั้งเอื้อเอกชนมากไป ทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการชำระค่าบริการที่สูงสิ่งที่ผู้เข้าร่วม แสดงความคิดเห็นเป็นกังวลที่สุดน่าจะเป็นกรณี N+1 ทั้งหมดเกรงว่าอาจทำให้การประมูลครั้งนี้ล่ม

ธัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การใช้กฎ N+1 เป็นเรื่องแปลก เพราะการประมูลครั้งก่อนไม่มีกฎนี้ กสทช.ยืนยันว่า การประมูลครั้งก่อนดีแล้ว ดังนั้น ไม่มีกฎนี้น่าจะทำได้ การใช้กฎนี้ยังขัดต่อวัตถุประสงค์ของ กสทช.ที่บอกว่าเทคโนโลยีต้องมาก่อน แต่นี่เน้นให้เกิดการแข่งขันสูง และหารายได้เข้ารัฐเกิน

ด้าน วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาผู้เข้าประมูลไม่ครบตามกฎ เสนอให้ใช้วิธีขยายระยะเวลาการเข้าประมูลออกไปอีก 30 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้รายใหม่เสนอตัวเข้ามาประมูล แต่ถ้ายังไม่มีเข้ามาอีก ก็อาจขยับราคาตั้งต้นขึ้น แล้วดำเนินการประมูลต่อทันที

ฟากตัวแทนจากดีแทคกล่าวว่า การใช้กฎ N+1 อาจทำให้การประมูลล่าช้าออกจึงควรแก้ไขเพื่อให้ประมูลไม่ล่มทุกฝ่ายยังมอง ว่า ราคาตั้งต้นสูงเกินไป

นฤพนธ์ จากดีแทค กล่าวว่า ขั้นต้น 11,600 ล้านบาท ทำให้โอเปอเรเตอร์ต้นทุนสูงส่งผลต่อค่าบริการ ที่สำคัญ เมื่อคำนวณโดยใช้หลักการเดียวกับ กสทช.ได้ราคาขั้นต้นเพียง 4,670 ล้านบาท/12.2 MHz ถ้าใช้ตัวแปรค่าใช้งาน/เดือน/หัว (ARPU) จะได้ที่ 7,780 ล้านบาท ทั้งสองราคานี้ต่างเป็นราคาสูงสุดทั้งนั้น กสทช.จึงควรลดราคาลงมา รวมถึงเปิดเผยแผนคลื่นความถี่ให้ชัดเจนกว่านี้ เพื่อให้โอเปอเรเตอร์สามารถวางแผนลงทุนได้อย่างแม่นยำ

ส่วนการชำระเงิน ตัวแทนจาก "ทรู" ต้องการให้มีการแบ่งจ่ายเป็นงวด เช่น 25% ของราคาทั้งหมด จ่าย 4 ครั้ง จากเดิมชำระเป็นขั้นบันได เพราะปีนี้จะมีการประมูลต่อเนื่องกัน 2 ครั้ง คือเดือน ส.ค. และปลายปีกับคลื่น 900 MHz ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากพอสมควร

ถัดจากนี้ ยังมีการแก้ไขอะไรบ้าง คงต้องขึ้นอยู่กับ "กสทช." ซึ่งหากดูจากประวัติศาสตร์การประชาพิจารณ์ในอดีตเป็นตัวตั้ง แนวรบชิงคลื่นใหม่คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเชื่อว่าไม่ดุเดือดเลือดพล่านสุดขีด ก็อาจอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เพราะไลเซนส์ที่มีไม่พอสำหรับทุกคน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401799380

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.