04 มิถุนายน 2557 แหล่งข่าว TOT (จะลาออกทันทีโดยจะเซ็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ AIS เช่าใช้คลื่น 2100 ) พร้อมกับได้เตรียมหนังสือลาออกเพื่อให้กรรมการลงนามได้ทันที แต่ยังไม่มีใครตัดสินใจลาออก
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า เดิมบอร์ดมีวาระพิจาณาการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ด้วย พร้อมกับได้เตรียมหนังสือลาออกเพื่อให้กรรมการลงนามได้ทันที แต่ยังไม่มีใครตัดสินใจลาออก
______________________________________
ทีโอที-กสทฯ ขุดโปรเจ็กต์ชง คสช.
"ทีโอที" เล็งชงโครงการวางระบบเคเบิลใต้น้ำเสริมความมั่นคงออนไลน์ให้ประเทศ มูลค่า 5,900 ล้านบาท เสนอ คสช. พร้อมดันบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ต-โครงข่ายอัจฉริยะเสริมธุรกิจรับมือสัมปทานหมด ฟาก กสทฯ เร่งวิเคราะห์ความเสี่ยงก่อนเสนอ คสช. ไฟเขียวให้โดดประมูลคลื่น 1800 MHz
พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ประธานกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดล่าสุด (29 พ.ค.) มอบหมายให้ฝ่ายบริหารพิจารณาโครงการเร่งด่วนที่ต้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติ หลังจากโครงการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินงานได้เพราะไม่มีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ซึ่งบอร์ดเห็นว่าควรเสนอโครงการเกี่ยวกับการวางโครงข่ายพื้นฐาน ได้แก่ โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ, บรอดแบนด์ความเร็วสูง 2 ล้านพอร์ต และโครงการปรับเปลี่ยนโครงข่ายเป็นโครงข่ายอัจฉริยะ (NGN) เพื่อเป็นช่องทางให้ทีโอทีทำธุรกิจต่อไปได้
สำหรับโครงการเคเบิลใต้น้ำ เป็นโครงการสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงด้านอินเทอร์เน็ตให้ประเทศ ใช้เงินลงทุน 5,900 ล้านบาท เพื่อเชื่อมระบบเคเบิลใต้น้ำจาก จ.สงขลา ไปยังระบบเคเบิลใต้น้ำ SJC (Southeast Asia-Japan Cable System) และเชื่อมจาก จ.สตูล ต่อตรงไปยัง AAE-1 (Asia Africa Europe1) ทำให้ทีโอทีมีความจุในการใช้อินเทอร์เน็ตรวมสูงสุด 8,600 Gbps รองรับการใช้งานได้ 10 ปี ช่วยลดค่าเช่าเกตเวย์ได้ปีละหลายพันล้านบาท รวมถึงทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของโลกได้ด้วย โดยจะคืนทุนภายใน 5 ปี 4 เดือน ผลตอบแทนโครงการ 25.5%
ขณะที่โครงการบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ต ใช้เงินลงทุน 32,550 ล้านบาท ใน 4 ปี คืนทุนใน 4 ปี 8 เดือน ผลตอบแทน 25.2% ส่วนโครงการ NGN ( 787,500 พอร์ต) วงเงิน 2,800 ล้านบาท คืนทุนใน 4 ปี 3 เดือน ผลตอบแทน 28.4%
แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า เดิมบอร์ดมีวาระพิจาณาการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ด้วย พร้อมกับได้เตรียมหนังสือลาออกเพื่อให้กรรมการลงนามได้ทันที แต่ยังไม่มีใครตัดสินใจลาออก
ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วนที่ต้องให้ คสช.อนุมัติ คือการเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้น ส.ค.นี้ กับขออนุมัติวงเงินค่าเช่าในโครงการเช่าใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว FTTX มูลค่า 4,000 ล้านบาท ที่ค้างอยู่ในการพิจารณาของสภาพัฒน์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
"กำลังรอให้บอร์ดตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz หรือไม่ ฝ่ายบริหารกำลังวิเคราะห์หาโมเดลที่เหมาะสม ซึ่งบอร์ดจะประชุมในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า แต่ยังไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนบอร์ดก่อนหรือไม่"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401857648
ไม่มีความคิดเห็น: