Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มิถุนายน 2557 นศูนย์ตรวจสอบเนื้อหา กสทช. แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบโดยระบบซอฟต์แวร์ และขั้นตอนที่ 2 คือ การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ เก็บฐานข้อมูลเวลานาน 2 เดือน


ประเด็นหลัก

สำหรับกระบวนการตรวจสอบของกสทช. แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบโดยระบบซอฟต์แวร์ และขั้นตอนที่ 2 คือ การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำหน้าที่ มอนิเตอร์ สปอตโฆษณา และเนื้อหารายการ ซึ่งการมอนิเตอร์จะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ วินาทีต่อวินาที ใช้เทคโนโลยีเทียบเคียงเสียงเรียกว่าออดิโอ ฟิงเกอร์พริ้นต์ ( Audio Finger Print )

ส่งผลให้สามารถรายงานการออกอากาศโฆษณา เนื้อหาที่กำหนดให้ตรวจสอบ ออกอากาศที่ช่องใด รายการใด ช่วงเวลาใด จำนวนการออกอากาศเท่าไหร่ รวมถึงจัดเก็บเนื้อหาโฆษณา เนื้อหารายการ ไฟล์เสียงออกอากาศย้อนหลังได้

ทั้งนี้ระบบจะเก็บฐานข้อมูลโฆษณา (ดาต้าเบส) ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ เป็นเวลานาน 2 เดือน



______________________________________


?ดูการทำงานศูนย์ตรวจสอบเนื้อหา กสทช.?
เมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ลุกมาตั้ง “ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมาย”


เมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ลุกมาตั้ง “ ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหา วิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมาย ” เพื่อมอนิเตอร์ช่องรายการทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชน

ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ สำนักงานกสทช.จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งความหวัง ที่จะช่วยมอนิเตอร์ จับตา ผู้ที่กระทำความผิด และละเมิดตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช. )

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า ล่าสุดศูนย์มอนิเตอร์ได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ไป120 เว็บไซต์ เนื่องตรวจสอบเนื้อหาที่กระทำผิดและร้ายแรง ตอนนี้กสทช.มีอำนาจเต็มที่ จากปกติที่เมื่อพบเนื้อหากระทำผิดต้องส่งเรื่องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) และอย.จึงจะขอหมายศาลเพื่อจับกุมได้ แต่ขณะนี้เมื่อพบ กสทช.สามารถขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้ทันที ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า กสทช. ทำเต็มที่

ศูนย์ตรวจสอบดังกล่าว ปกติจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ 7คน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้น เป็น 15 คน ในการมอนิเตอร์หลักคือ การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เนื้อหาที่หมิ่นประมาท ปลุกปั่น ยั่วยุ ร้ายแรง รวมถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต และได้ดำเนินการมอนิเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับกระบวนการตรวจสอบของกสทช. แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบโดยระบบซอฟต์แวร์ และขั้นตอนที่ 2 คือ การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำหน้าที่ มอนิเตอร์ สปอตโฆษณา และเนื้อหารายการ ซึ่งการมอนิเตอร์จะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ วินาทีต่อวินาที ใช้เทคโนโลยีเทียบเคียงเสียงเรียกว่าออดิโอ ฟิงเกอร์พริ้นต์ ( Audio Finger Print )

ส่งผลให้สามารถรายงานการออกอากาศโฆษณา เนื้อหาที่กำหนดให้ตรวจสอบ ออกอากาศที่ช่องใด รายการใด ช่วงเวลาใด จำนวนการออกอากาศเท่าไหร่ รวมถึงจัดเก็บเนื้อหาโฆษณา เนื้อหารายการ ไฟล์เสียงออกอากาศย้อนหลังได้

ทั้งนี้ระบบจะเก็บฐานข้อมูลโฆษณา (ดาต้าเบส) ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ เป็นเวลานาน 2 เดือน

เบื้องต้นสามารถตรวจสอบได้ครอบคลุม 40 ช่องรายการ สำหรับฟรีทีวี ดาวเทียม และเคเบิล ส่วนอีก 40 ช่อง จะตรวจสอบรายการของสถานีวิทยุชุมชนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กสทช. 6,000 แห่ง และไม่ได้ลงทะเบียนกับ กสทช. อีก 2,000 แห่ง และในอนาคตจะเพิ่มขีดความสามารถได้ประมาณ 200 ช่อง ในขณะเดียวกันยังรวมมอนิเตอร์เนื้อหาของอินเทอร์เน็ตอีกทางหนึ่งด้วย

และในปี2558 เตรียมจะขยายการมอนิเตอร์ให้ได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประสานให้กสทช.ภูมิภาค นำรถวิ่งตรวจสอบอีกช่องทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีช่องรายการทีวีดาวเทียมที่ถูกระงับไม่ให้ออกอากาศทั้งหมด 14 ช่องรายการภายใต้คำสั่ง คสช. คือ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มวี 5 สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมดีเอ็นเอ็น สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟร์แชนแนล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูกาย

สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี สถานีดาวเทียมฮอตทีวี สถานีโทรทัศน์ว๊อยซ์ทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเร็สคิ้ว และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูประเทศ (คปท.) นอกจากนี้ยังรวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต

เห็นได้ว่า ศูนย์ตรวจสอบดังกล่าว สามารถช่วยจำกัดเนื้อหาที่รุนแรงไม่ให้ขยายไปวงกว้างได้มากทีเดียว

สุรัสวดี สิทธิยศ        

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/241752/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.