Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร)(เกาะติดประมูล4G) CAT TOT เปิดเกมรุก กสทช.!! จัดทำโรดแมปคลื่นความถี่ทั้งหมดเสนอให้ คสช.พิจารณา แจงความถี่ทั้งหมด


ประเด็นหลัก

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายชัดเจนว่า ต้องการให้รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมทั้ง 2 แห่ง คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที สามารถเลี้ยงตัวเองต่อไปได้ โดยเตรียมแก้กฎหมายใน 2 ประเด็น คือ มาตรา 84 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ไม่ต้องให้ทีโอทีและ กสทฯ นำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับ กสทช.

นอกจากนี้ จะต้องแก้ไขกฎหมาย กสทช.ที่กำหนดให้คลื่นความถี่ต้องประมูลเท่านั้น ทำให้|ทีโอทีและ กสทฯ ซึ่งมีสิทธิในคลื่นความถี่ที่ยังไม่หมดสัมปทานและคลื่นที่หมดสัมปทานแล้ว แต่ยังมีสิทธิในการบริหารต่ออีก 2 ปี จะต้องใช้งบประมาณในการประมูลคลื่นแข่งกับเอกชน ในขณะที่ไม่มีรายได้เข้ามา

ทั้งนี้ วันที่ 3 ก.ค. กสทช.เรียกบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอทีเข้าหารือและแจกแจงการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อจัดทำโรดแมปคลื่นความถี่ทั้งหมดเสนอให้ คสช.พิจารณา








______________________________________

คสช.คืนชีพ"กสทฯ-ทีโอที"


คสช.ต่อลมหายใจ กสทฯ-ทีโอที สั่งวางโรดแมปคลื่นความถี่ เตรียมแก้กฎหมายไม่ต้องนำส่งรายได้สัมปทาน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายชัดเจนว่า ต้องการให้รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมทั้ง 2 แห่ง คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที สามารถเลี้ยงตัวเองต่อไปได้ โดยเตรียมแก้กฎหมายใน 2 ประเด็น คือ มาตรา 84 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ไม่ต้องให้ทีโอทีและ กสทฯ นำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับ กสทช.

นอกจากนี้ จะต้องแก้ไขกฎหมาย กสทช.ที่กำหนดให้คลื่นความถี่ต้องประมูลเท่านั้น ทำให้|ทีโอทีและ กสทฯ ซึ่งมีสิทธิในคลื่นความถี่ที่ยังไม่หมดสัมปทานและคลื่นที่หมดสัมปทานแล้ว แต่ยังมีสิทธิในการบริหารต่ออีก 2 ปี จะต้องใช้งบประมาณในการประมูลคลื่นแข่งกับเอกชน ในขณะที่ไม่มีรายได้เข้ามา

ทั้งนี้ วันที่ 3 ก.ค. กสทช.เรียกบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอทีเข้าหารือและแจกแจงการถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อจัดทำโรดแมปคลื่นความถี่ทั้งหมดเสนอให้ คสช.พิจารณา

ปัจจุบันทีโอทีถือครองคลื่นความถี่ ได้แก่ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 17.5 เมกะเฮิรตซ์ กำลังจะสิ้นสุดสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ในปี 2558 แต่ กสทช.เตรียมนำมาเปิดประมูลตามแผนเดิมในเดือน พ.ย. และคลื่นความถี่ 2.3-2.4 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ โดยทีโอทีได้เคยเสนอขอถือครองคลื่นต่อไปโดยไม่ต้องเปิดประมูล

ขณะที่ กสทฯ มีคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 75 เมกะเฮิรตซ์ โดย 25 เมกะเฮิรตซ์ หมดสัมปทานแล้วและกำลังจะเปิดประมูล และอีก 25 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นที่ยังไม่ถูกใช้งาน ซึ่งกสทช.เตรียมนำมาประมูลเช่นกัน โดย กสทฯ ได้เสนอ 2 แนวทางไปยัง คสช. คือ หากประมูล ขอให้ กสทฯ เข้าร่วมประมูลด้วย แต่หากไม่ประมูล กสทฯ ควรมีสิทธิในคลื่นดังกล่าวต่อไปโดยไม่ต้องส่งคืนไปให้ กสทช.

ก่อนหน้านี้ กสทช.พยายามผลักดันต่อ คสช.ขอให้เดินหน้าประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนที่ร่างประกาศคุ้มครองซิมดับจะสิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 2557เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานจำนวน4 ล้านราย ต้องประสบปัญหาซิมดับ


http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/304525/คสช-คืนชีพกสทฯ-ทีโอที

______________________________________

นัด "ทีโอที-กสท" ถกก่อนประมูล 4 จี


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.ค. กสทช.ได้เชิญผู้บริหารระดับสูง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มาหารือถึงการเปิดประมูล 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิตรซ์ และ 900 เมกะเฮิตรซ์ และนำข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อีกครั้งในสัปดาห์หน้า เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของ คสช.ว่า จะเดินหน้าประมูล 4 จีหรือไม่

ทั้งนี้เนื่องจากทีโอทีและกสท ได้เสนอความเห็นไปยัง คสช.ขอให้ยกเลิกบทเฉพาะกาล มาตรา 84 ของ พ.ร.บ. กสทช. ที่ให้นำเงินรายได้จากสัญญาสัมปทานส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินทั้งหมดด้วย และยังมีอีกหลายๆประเด็นที่ทีโอทีและกสท ไม่เห็นด้วย เช่น กสท เสนอให้นำคลื่น 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ยังไม่มีการใช้งานใดๆ มาใช้งาน เช่นเดียวกับทีโอที ก็เสนอให้นำคลื่น 2.3-2.4 จำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานได้ด้วยเช่นกัน โดยเรื่องประเด็นคลื่นความถี่นั้น เป็นปัญหาที่คาราคาซังกันมานาน จึงจำเป็นต้องหารือกับทีโอที และกสท เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการงานของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมให้ คสช.รับรู้ด้วย

“ปัญหาของทีโอทีและกสท มีหลายประเด็นที่ต้องเคลียร์ ต้องชัดเจน หากเดินหน้าประมูล 4 จีแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไร เรื่องคลื่นความถี่ที่อยู่ในครอบครองแต่ใช้งานไม่ได้ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้วจะเดินหน้าต่อและอยู่รอดได้อย่างไร โดยไม่ขาดทุน รวมถึงการโอนทรัพย์สินจากสัญญาสัมปทานได้รับโอนตามสัญญาหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขที่ชัดเจน โดย คสช.มองภาพรวมของธุรกิจโทรคมนาคมทั้งประเทศ มากกว่า กสทช.เสียอีก ซึ่ง กสทช.ก็ต้องเร่งสร้างความชัดเจนและต้องตอบคำถามสังคมได้ด้วย”.




http://www.thairath.co.th/content/433749

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.