Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2557 วรรณี.MAAT ระบุ .ทีวีดิจิทัล การเกิดขึ้นทีวี 24 ช่องไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการแจกคูปอง ผู้บริโภคสับสนจำเลขช่องไม่ได้ และการวัดเรตติ้งที่ยังไม่เรียบร้อย

ประเด็นหลัก


ฟาก มุมมอง "วรรณี รัตนพล" ในฐานะนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่า เดอะนิวฟรอนเทียร์ ของมีเดียเอเยนซี่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ทีวีดิจิทัล การเกิดขึ้นทีวี 24 ช่องไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการแจกคูปอง ผู้บริโภคสับสนจำเลขช่องไม่ได้ และการวัดเรตติ้งที่ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่มีเดียเอเยนซี่ต้องปรับตัวด้วยการประเมินสถานการณ์ พิจารณาความพร้อมของแต่ละช่องเองก่อนวางแผนสื่อในช่วงที่เรตติ้งไม่พร้อม 2.การรับสื่อของผู้บริโภคและคอนเทนต์แบบ "มัลติสกรีน" ที่รับชมสื่อหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน ทั้งเสพสื่อโซเชียลมีเดียและทีวีพร้อมกัน อีกทั้งผู้ชมก็ไม่ได้ยึดติดกับการรับชมฟรีทีวีอีกต่อไป แต่เลือกรับชมคอนเทนต์ย้อนหลังผ่านออนไลน์ มีเดียเอเยนซี่ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มผ่านสื่อดิจิทัลที่ครอบคลุมถึงผู้บริโภค กลุ่มนี้ด้วย เพื่อสร้างการวัดผลที่ได้ประสิทธิภาพเข้าถึงผู้ชมกลุ่มนี้







______________________________




"แก้โจทย์" สังคมก้มหน้า สมาคมโฆษณาฯเฟ้น "สูตร" สื่อสารใหม่



ความรวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารกลายเป็นเส้นแบ่งพรมแดนใหม่ระหว่างผู้บริโภค กับนักการตลาดและนักโฆษณาอย่างชัดเจน เมื่อวันนี้ผู้บริโภคเทน้ำหนักความสนใจเกือบทั้งหมดให้แก่อุปกรณ์การสื่อสาร ที่อยู่ตรงหน้า ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเลต เพิ่มดีกรีความยากทางการสื่อสารในการเจาะตรงถึงใจผู้บริโภคอีกระดับหนึ่ง

"อ่อนอุษา ลำเลียงพล" นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวในงานประกวด "Adman Awards & Symposium" หัวข้อ "The New Frontier"ว่า จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จนถึงเครื่องมือการสื่อสารและวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่สร้างช่องทางการ สื่อใหม่ ๆ ทำให้เกิดพื้นที และผู้บริโภคกลุ่มใหม่ วันนี้ผู้บริโภคจึงกลายเป็นผู้กำหนดความท้าทายใหม่ ในอุตสาหกรรมโฆษณา ซึ่งนักโฆษณาเองต้องมองโจทย์ให้ทะลุ เพื่อเข้าถึงใจผู้บริโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อความรวดเร็ว ของเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน ดังนั้นนักการตลาด นักโฆษณา ก็ต้องสร้างอาวุธทางการสื่อสาร เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงผ่านหลากหลายวิธีเพื่อดึงความสนใจของผู้บริโภคคืน มา

"วันนี้เป้าหมายของนักโฆษณาบิดเบี้ยวไป บางครั้งโฆษณาไม่ใช่แค่มาเรียกยอดบนออนไลน์ แต่สินค้ากลับขายไม่ได้ และไม่ตอบโจทย์แบรนด์ แต่นักโฆษณาต้องตระหนักว่าไอเดียโฆษณาต้องสดใหม่ ต้องทำให้แบรนด์ดูดี สินค้าขายได้และเชื่อมโยงกลับมาหาแบรนด์"

ฟาก มุมมอง "วรรณี รัตนพล" ในฐานะนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่า เดอะนิวฟรอนเทียร์ ของมีเดียเอเยนซี่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ทีวีดิจิทัล การเกิดขึ้นทีวี 24 ช่องไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการแจกคูปอง ผู้บริโภคสับสนจำเลขช่องไม่ได้ และการวัดเรตติ้งที่ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่มีเดียเอเยนซี่ต้องปรับตัวด้วยการประเมินสถานการณ์ พิจารณาความพร้อมของแต่ละช่องเองก่อนวางแผนสื่อในช่วงที่เรตติ้งไม่พร้อม 2.การรับสื่อของผู้บริโภคและคอนเทนต์แบบ "มัลติสกรีน" ที่รับชมสื่อหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน ทั้งเสพสื่อโซเชียลมีเดียและทีวีพร้อมกัน อีกทั้งผู้ชมก็ไม่ได้ยึดติดกับการรับชมฟรีทีวีอีกต่อไป แต่เลือกรับชมคอนเทนต์ย้อนหลังผ่านออนไลน์ มีเดียเอเยนซี่ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มผ่านสื่อดิจิทัลที่ครอบคลุมถึงผู้บริโภค กลุ่มนี้ด้วย เพื่อสร้างการวัดผลที่ได้ประสิทธิภาพเข้าถึงผู้ชมกลุ่มนี้

"ศิวัตร เชาวรียวงษ์" นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลไทย (DAAT) กล่าวว่า อุตฯโฆษณาต้องปรับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมีสิ่งใหม่ ๆ อะไรเกิดขึ้น เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันเร็วขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากเทคโนโลยี ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อสินค้า บริการของผู้บริโภคเร็วขึ้นด้วย เมื่อทุกอย่างเปลี่ยนเร็วขึ้น ก็ต้องปรับตัวให้เร็วขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ

โซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ ที่มีบทบาทในปัจจุบัน ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ มองข้ามผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่ได้อีกแล้ว แต่ต้องลุกขึ้นมาเปิดช่องทางการสื่อสาร เช่น Account ใน Line เพื่อสื่อสารกับกลุ่มนี้

"เมื่อโซเซียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้น เท่ากับว่าเพิ่มอำนาจการบอกต่อของผู้บริโภค จากเดิมที่มีขอบเขตจำกัด ในลักษณะปากต่อปาก แต่วันนี้ทุกอย่างถูกเปิดกว้างขึ้น แบรนด์ก็ต้องเร็วขึ้นด้วย"

ฟากนักการตลาด "รติ พันธุ์ทวี" ผู้อำนวยการบริหารประจำสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ให้มุมมองว่า ด้วยช่องทางการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น นักการตลาดเองก็ไม่มั่นใจว่าจะเป็นโอกาสทางการตลาดหรือไม่ เพราะจำนวนสื่อที่เพิ่มขึ้น และแบรนด์ก็คงไม่มีเม็ดเงินโฆษณามากพอที่จะหว่านลงไปในทุกสื่อ แต่จะเจาะจงไปที่สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และยังคงแมสมีเดียไว้ แนวทางการตลาดของบริษัท คือต้องรักษาความสมดุลระหว่างการทำโปรโมชั่นกับการสร้างแบรนด์

พร้อมทั้งเพิ่มความเข้มข้นด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะออนไลน์ เช่น โซดาสิงห์ เน้นการจัดกิจกรรมซีอาร์เอ็ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว แต่ก็ยังคงโฆษณาทีวีไว้ เพื่อสร้างการรับรู้ทั้งหมดคงเป็นส่วนหนึ่งของมุมมองที่ถูกหยิบขึ้นมาแลก เปลี่ยนระหว่างอุตฯ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ โดยเฉพาะสังคมก้มหน้า ที่อุตฯโฆษณากำลังเผชิญและต้องออกแรงวิ่งไล่ ดึงความสนใจของผู้บริโภคกลับมาให้ทัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407829102

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.