Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 สิงหาคม 2557 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ กสทช.ออกใบอนุญาตเรดาร์ในรถยนต์ ย่านความถี่วิทยุ 24.05 - 24.25 GHz ที่มีกำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ 24.25 - 26.65 GHz มีกำลังส่งต่ำราว -41.3 dBm/MHz และการเพิ่มประสิทธิภาพในคลื่น 76 - 77 GHz ให้เป็น 55 dBm/MHz จากแต่เดิมเคยมีการอนุญาตไปแล้ว

ประเด็นหลัก



       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติให้อนุญาตนำเข้าระบบเรดาร์ภายในรถยนต์ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระบบเรดาร์สําหรับติดตั้งในรถยนต์ (Vehicle Radar) ย่านความถี่วิทยุ 24.05 - 24.25 GHz ที่มีกำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ 24.25 - 26.65 GHz มีกำลังส่งต่ำราว -41.3 dBm/MHz และการเพิ่มประสิทธิภาพในคลื่น 76 - 77 GHz ให้เป็น 55 dBm/MHz จากแต่เดิมเคยมีการอนุญาตไปแล้ว
   
   
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันระบบเรดาร์ดังกล่าวเริ่มถูกนำเข้ามาใช้ในรถหลากหลายรุ่นมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีทางด้านยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้วยการที่จะใช้เรดาร์ในการส่งสัญญาณไปรอบๆ รถ เมื่อเจอกับวัตถุที่ต้องสงสัย ก็จะทำการชะลอความเร็ว และหยุดรถเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่างๆ









______________________________




กสทช.ออกใบอนุญาตเรดาร์ในรถยนต์เพิ่ม



       กสทช. ออกใบอนุญาตรับรองเรดาร์รถยนต์เพิ่ม เนื่องจากเป็นการใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้ครอบคลุมหลายคลื่นความถี่มากขึ้น ระบุ เริ่มมีการนำเข้ามาใช้แล้วในกลุ่มรถตัวท็อปในหลายๆค่าย
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติให้อนุญาตนำเข้าระบบเรดาร์ภายในรถยนต์ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระบบเรดาร์สําหรับติดตั้งในรถยนต์ (Vehicle Radar) ย่านความถี่วิทยุ 24.05 - 24.25 GHz ที่มีกำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ 24.25 - 26.65 GHz มีกำลังส่งต่ำราว -41.3 dBm/MHz และการเพิ่มประสิทธิภาพในคลื่น 76 - 77 GHz ให้เป็น 55 dBm/MHz จากแต่เดิมเคยมีการอนุญาตไปแล้ว
     
       โดยกลุ่มผู้ที่เข้าชื่อขอใบอนุญาต ได้แก่ สภาอุตสหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) ที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้ารถยนต์ รวมไปถึงบริษัท คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไครสเลอร์ ที่นำไปติดตั้งในรถยนต์ราคาสูงของ โตโยต้า เบนซ์
     
       “การติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์ในรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นการติดตั้งชุดคำสั่งเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถ ใช้ถนน เพื่อนำมาคำนวณทางเทคนิค ในการหาระยะปลอดภัยหากมีอุบัติเหตุ รถจะหยุดเองโดยอัตโนมัติ และสั่งให้ถุงลมนิรภัยออกมาทำงานทันที โดยชุดคำสั่งจะเป็นการส่งสัญญาจากคลื่นความถี่ที่ได้อนุญาตให้ใช้ทั้ง 3 คลื่น”
     
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันระบบเรดาร์ดังกล่าวเริ่มถูกนำเข้ามาใช้ในรถหลากหลายรุ่นมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีทางด้านยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้วยการที่จะใช้เรดาร์ในการส่งสัญญาณไปรอบๆ รถ เมื่อเจอกับวัตถุที่ต้องสงสัย ก็จะทำการชะลอความเร็ว และหยุดรถเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่างๆ


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000093882&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.