Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 สิงหาคม 2557 Intel.เกรกอรี่ ระบุ ปัจจุบันอินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั้งจาก OEM (บริษัทรับจ้างผลิตให้แบรนด์ต่าง ๆ) และ ODM (ผลิตเฉพาะแบรนด์) เช่น เอเซอร์, เอซุส, เดลล์, โตชิบา และเลอโนโว แ

ประเด็นหลัก



ปัจจุบันอินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั้งจาก OEM (บริษัทรับจ้างผลิตให้แบรนด์ต่าง ๆ) และ ODM (ผลิตเฉพาะแบรนด์) เช่น เอเซอร์, เอซุส, เดลล์, โตชิบา และเลอโนโว และปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์จากเฮาส์แบรนด์ออกมา ปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนในกลุ่ม 2,990-7,990 บาท ส่วนแท็บเลตจะอยู่ที่ 4,190 บาทขึ้นไป และผลิตภัณฑ์ทูอินวันอยู่ที่ 14,900-30,000 บาท โดยอินเทลไม่มีนโยบายในการลดระดับราคา เพราะเน้นที่คุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานได้ดี

______________________________




"อินเทล" ปูพรมสมาร์ทดีไวซ์ ผนึกคู่ค้าอัดแคมเปญกระตุ้นยอด



"อินเทล" รุกหนักสมาร์ทดีไวซ์ อัดเงินโปรโมตแบรนด์ในเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่ม 3 เท่า ปูพรมโซเชียลเน็ตเวิร์ก หวังเจาะใจผู้บริโภคอายุน้อย เร่งจับมือพาร์ตเนอร์อัดแคมเปญกระตุ้นตลาดครึ่งปีหลัง พร้อมบุกตลาดการศึกษา-SMEs ตั้งเป้ายอดขาย 40 ล้านเครื่องทั่วโลก

นายเกรกอรี่ ไบรอันท์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการขาย และผู้จัดการทั่วไปสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่าในครึ่งปีหลังนี้อินเทลมีความมุ่งมั่นในการทำตลาดในกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น ตามเทรนด์เทคโนโลยีโลกที่มีการใช้โมบายดีไวซ์มากขึ้น โดยเมื่อเทียบกับในปี 2556 ที่ผ่านมาเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีการเพิ่มงบฯลงทุนเพื่อทำการโปรโมตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เพื่อสร้างความรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ให้กับผู้ใช้งาน

"เรามีแท็บเลตและโมบายทั้งในแอนดรอยด์และวินโดวล์กว่า 200 รุ่น แต่คนทั่วไปอาจยังไม่รู้ จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ว่าในแท็บเลตและโมบายก็มีชิปอินเทลอยู่ เน้นใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเจาะกลุ่มลูกค้าอายุน้อย เนื่องจากมีแนวโน้มหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แชร์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กให้คนรู้จัก มีความเชื่อบุคคลหรือกลุ่มคนที่น่าเชื่อถือ หรือคนรู้จักมากกว่าการรับข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต คาดว่าในสิ้นปีนี้ยอดขายแท็บเลตทั่วโลกที่มีอินเทลจะมากกว่า 40 ล้านเครื่อง"

และแม้จะเน้นกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น แต่สัดส่วนรายได้จากคอมพิวเตอร์พีซียังเป็นหลักในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็น ภูมิภาคที่สำคัญภูมิภาคหนึ่ง มีจำนวนประชากรถึง 1 ใน 3 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 1 ใน 4 ของโลก เป็นตลาดที่ใหญ่ในไตรมาสที่ผ่านมาอินเทลมีรายได้จากธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ใน ภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มากขึ้น รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับ IOT (Internet of things) รายได้โตขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน

ด้านนายสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ความไม่ชัดเจนทางการเมืองทำให้ช่วงครึ่งปีแรกอินเทล ประเทศไทยเสียโอกาสในการทำรายได้ แต่ในครึ่งปีหลังแบรนด์ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับอินเทลต่างพยายามเร่งทำตลาด เพราะเชื่อว่าคอนซูเมอร์จะจับจ่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน

"หลังจาก คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ในภาพรวมของการบริหารค่อนข้างมีความชัดเจนในไตรมาสที่ 3 จึงออกแคมเปญร่วมกับแบรนด์ที่ใช้อินเทล เช่น เดลล์, เอซุส ในชื่อฟรายเดย์ วิท อินเทล (Friday with Intel) เพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมถึงร่วมมือกับแบรนด์ที่ทำตลาดกลุ่มดีไอวายให้ราคาเดสก์ทอป สำหรับกลุ่มเกมเมอร์ หรือที่ต้องการคอมพิวเตอร์ไฮเอนด์ถูกลง"

นายสนธิญาเสริมว่า ในประเทศไทย อินเทลให้ความสนใจกับตลาดเพื่อการศึกษาและกลุ่ม SMEs ที่มีกว่าแสนรายทั่วประเทศ และยังไม่ค่อยได้นำไอทีไปใช้มากนัก และกำลังรอความชัดเจนของนโยบายสมาร์ทคลาสรูมของภาครัฐ

ปัจจุบันอินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั้งจาก OEM (บริษัทรับจ้างผลิตให้แบรนด์ต่าง ๆ) และ ODM (ผลิตเฉพาะแบรนด์) เช่น เอเซอร์, เอซุส, เดลล์, โตชิบา และเลอโนโว และปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์จากเฮาส์แบรนด์ออกมา ปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนในกลุ่ม 2,990-7,990 บาท ส่วนแท็บเลตจะอยู่ที่ 4,190 บาทขึ้นไป และผลิตภัณฑ์ทูอินวันอยู่ที่ 14,900-30,000 บาท โดยอินเทลไม่มีนโยบายในการลดระดับราคา เพราะเน้นที่คุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานได้ดี


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408963718

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.