Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กันยายน 2557 ATCI.อดิเรก ประเมินว่าขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐ ที่มีการพัฒนาแอพพลิเคชันให้บริการประชาชนเพียง 10% เท่านั้น

ประเด็นหลัก


    ด้านนายอดิเรก ปฎิทัศน์  นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ เอทีซีไอ (ATCI) กล่าวว่าสิ่งที่สมาคม  มีการพูดคุยหารือกันก่อนมีรัฐบาล  คือเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หรือ โอเพนดาต้า ทั้งข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ   และสังคม เพื่อเปิดให้มีการต่อยอดพัฒนาแอพพลิเคชันบนข้อมูลขึ้นมาเป็นบริการใหม่ๆ    โดยที่ผ่านมาได้เริ่มมีการหารือ และผลักดันกฎหมายเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)   เข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  (สนช.) รวมถึงผลักดันผ่านช่องทางสภาไอที ทั้งนี้มองว่ากระทรวงไอซีทีน่าจะมีบทบาทร่วมผลักดันกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้ข้อมูล ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสร้างให้เกิดแอพพลิเคชันให้บริการข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ภาครัฐลดการลงทุนซ้ำซ้อน
    ส่วนการผลักดันผู้ประกอบการไอทีไทย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่การเปิดประชาคมอาเซียนนั้นภาครัฐ   ควรเป็นตัวนำในการลงทุนใช้ไอที  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุน  แต่ที่ผ่านมาภาครัฐ ส่วนใหญ่มีการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลัก  ขาดการลงทุนด้านโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชัน โดยประเมินว่าขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐ  ที่มีการพัฒนาแอพพลิเคชันให้บริการประชาชนเพียง 10%   เท่านั้น     ทั้งนี้มองว่าหากภาครัฐ มีการลงทุนพัฒนาโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชัน ให้บริการประชาชนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการไอทีไทย สามารถนำโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชันไปต่อยอดพัฒนาต่อให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้


______________________________




ฝากการบ้านรมว.ไอซีทีคนใหม่

 ภาคอุตสาหกรรมไอที ฝากการบ้านรัฐมนตรีไอทีซี คนใหม่ เอทีเอสไอ  วอนหนุนซอฟต์แวร์เป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมภาครัฐ-เอกชนใช้ซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน -ลดต้นทุน  ขณะที่เอทีซีไอ  เรียกร้องช่วยหนุนกฎหมายเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
    สมพร มณีรัตนะกูลสมพร มณีรัตนะกูลนายสมพร มณีรัตนะกูล   นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย   หรือ เอทีเอสไอ ( ATSI)เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้สมาคมยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดถึงเรื่องที่ต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนใหม่เร่งผลักดัน  แต่โดยหลักแล้วสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมอยากเห็นคือ  การผลักดันซอฟต์แวร์เป็นวาระแห่งชาติ      โดยภาครัฐต้องเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศ มีการใช้ซอฟต์แวร์ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ซึ่งประเมินว่าขณะนี้มีผู้ประกอบการเพียง 20-30% เท่านั้นที่ใช้ซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ และท้ายสุดหากไม่มีการพัฒนาต่อเนื่องท้ายสุดก็จะอ่อนแอลง ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วผู้ประกอบการมีการใช้ซอฟต์แวร์ มากถึง 70-90%

    นอกจากนี้ยังมองว่าภาครัฐควรผลักดันในการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรม สร้างให้เกิดซัพพลายเชนขึ้นมา  เพื่อลดกระบวนการทำงาน  และการทำงานซ้ำซ้อน , ลดการผิดพลาด, ลดต้นทุน ที่สำคัญการเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจยังช่วยให้ภาครัฐมองเห็นภาษีมูลค่าเพิ่มในระบบที่เกิดขึ้นด้วย
    ส่วนการผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยนั้นมองว่าที่ผ่านมามีหลากหลายประเด็น แต่การทำงานของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ   หรือซิป้า ค่อนข้างครอบคลุมอยู่แล้ว บางเรื่องก็สามารถแก้ไข หรือ ส่งเสริมได้อย่างรวดเร็ว   แต่บางเรื่องการแก้ไขปัญหาอาจล่าช้าเพราะติดปัญหากฎระเบียบภาครัฐ   และงบประมาณ
    นายสมพร  กล่าวต่ออีกว่าภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยค่อนข้างมีความสามารถ   แต่ที่ผ่านมาขาดการสนับสนุนจากผู้ใช้ ทั้งภาครัฐ  และเอกชน  ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นไปด้วยความล่าช้า และไม่มีการเติบโต   ทั้งนี้หากภาครัฐมีการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการเอกชน มีการใช้ซอฟต์แวร์ในประเทศ  ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทย และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
    ด้านนายอดิเรก ปฎิทัศน์  นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ เอทีซีไอ (ATCI) กล่าวว่าสิ่งที่สมาคม  มีการพูดคุยหารือกันก่อนมีรัฐบาล  คือเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หรือ โอเพนดาต้า ทั้งข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ   และสังคม เพื่อเปิดให้มีการต่อยอดพัฒนาแอพพลิเคชันบนข้อมูลขึ้นมาเป็นบริการใหม่ๆ    โดยที่ผ่านมาได้เริ่มมีการหารือ และผลักดันกฎหมายเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)   เข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  (สนช.) รวมถึงผลักดันผ่านช่องทางสภาไอที ทั้งนี้มองว่ากระทรวงไอซีทีน่าจะมีบทบาทร่วมผลักดันกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้ข้อมูล ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสร้างให้เกิดแอพพลิเคชันให้บริการข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ภาครัฐลดการลงทุนซ้ำซ้อน
    ส่วนการผลักดันผู้ประกอบการไอทีไทย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่การเปิดประชาคมอาเซียนนั้นภาครัฐ   ควรเป็นตัวนำในการลงทุนใช้ไอที  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุน  แต่ที่ผ่านมาภาครัฐ ส่วนใหญ่มีการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลัก  ขาดการลงทุนด้านโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชัน โดยประเมินว่าขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐ  ที่มีการพัฒนาแอพพลิเคชันให้บริการประชาชนเพียง 10%   เท่านั้น     ทั้งนี้มองว่าหากภาครัฐ มีการลงทุนพัฒนาโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชัน ให้บริการประชาชนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการไอทีไทย สามารถนำโซลูชัน  หรือ แอพพลิเคชันไปต่อยอดพัฒนาต่อให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=244995:2014-09-02-07-38-10&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VAlbUUtAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.