Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กันยายน 2557 Foodpanda.อเล็กซานเดอร์ ระบุ การเติบโตของจำนวนออร์เดอร์เพิ่มขึ้น 15% ทุกสัปดาห์ มูลค่าออร์เดอร์เฉลี่ย 650-700 บาท และคนที่สั่งในพื้นที่กรุงเทพฯจะเป็นชาวต่างชาติ 55:45

ประเด็นหลัก



"เราไม่สามารถเปิดเผยจำนวนผู้ใช้บริการทั้งทั่วโลก และในประเทศไทยได้ บอกได้แค่ว่าการเติบโตของจำนวนออร์เดอร์เพิ่มขึ้น 15% ทุกสัปดาห์ มูลค่าออร์เดอร์เฉลี่ย 650-700 บาท และคนที่สั่งในพื้นที่กรุงเทพฯจะเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยคิดเป็นสัดส่วน 55:45 ส่วนต่างจังหวัดจะเป็นคนไทยมากกว่าชาวต่างชาติในสัดส่วน 70:30"

ที่น่าสนใจก็คือในจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด พบว่า 20-25% มีการสั่งซื้อซ้ำใน 7 วัน และ 50% ซื้อซ้ำใน 1 เดือนสำหรับร้านอาหารที่เป็นพาร์ตเนอร์กับฟู้ดแพนด้า มีทั้งร้านดังอย่างซับเวย์, คาร์ล จูเนียร์, บอน ชอน และมอส เบอร์เกอร์เป็นต้น ไล่ไปถึงร้านโลคอลชื่อดัง เช่น บ้านหญิง, เท็ด คาเฟ่ เป็นต้น

______________________________




สั่งอาหารออนไลน์ติดลมบน "ฟู้ดแพนด้า" เร่งขยายพื้นที่บริการ



นับวันผู้คนในยุคปัจจุบันจะพึ่งพิงโลกไซเบอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเรียกได้ว่า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในทุกวันนี้ก็คงไม่ผิดนัก แม้แต่การสั่งอาหารออนไลน์ก็กลายเป็นเทรนด์ของผู้คนในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา เพราะชีวิตที่เร่งรีบหรือเพราะความสะดวกถูกจริตคนยุคใหม่ก็ไม่แน่ใจนัก

"ฟู้ดแพนด้า" (Foodpanda) ศูนย์รวมบริการสั่งอาหารออนไลน์ระดับโลกปักธงในการให้บริการในขวบปีที่ 2 แล้วในฐานะตัวแทนในการรับส่งอาหารให้กับร้านอาหารตั้งแต่ระดับ 5 ดาวไปจนถึงร้านโลคอลที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2555 ที่ประเทศสิงคโปร์ ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปใน 45 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ผ่านเว็บไซต์ www.foodpanda.co.th

"อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์" ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย จำกัด พูดถึงการตัดสินใจมาทำตลาดในประเทศไทยว่า เกิดขึ้นหลังจากการเริ่มต้นในสิงคโปร์ได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดีมาก จึงมองถึงการขยายมาในประเทศใกล้เคียงด้วยความที่วัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน พฤติกรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากเหมือนกันด้วย ซึ่งเมื่อเข้ามาในประเทศไทยแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง สามารถขยายร้านอาหารได้อย่างรวดเร็ว และกระจายไปยัง 3 พื้นที่ใหญ่ภายในเวลา 2 ปี ได้แก่ พื้นที่ในกรุงเทพฯ, พัทยา และเชียงใหม่

มีจำนวนร้านค้าทั้งหมด 400 แห่ง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีศูนย์บริการส่งอาหารประจำ และมีรายได้จากการคิดค่าบริการกับร้านค้าตามออร์เดอร์ที่สั่ง, เก็บค่าบริการส่งจากผู้สั่งครั้งละ 60 บาท (ในต่างจังหวัดคิดเป็นระยะทาง) พร้อมด้วยเซอร์วิสชาร์จอีก 5% ของราคาอาหารที่สั่ง

"เราไม่สามารถเปิดเผยจำนวนผู้ใช้บริการทั้งทั่วโลก และในประเทศไทยได้ บอกได้แค่ว่าการเติบโตของจำนวนออร์เดอร์เพิ่มขึ้น 15% ทุกสัปดาห์ มูลค่าออร์เดอร์เฉลี่ย 650-700 บาท และคนที่สั่งในพื้นที่กรุงเทพฯจะเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยคิดเป็นสัดส่วน 55:45 ส่วนต่างจังหวัดจะเป็นคนไทยมากกว่าชาวต่างชาติในสัดส่วน 70:30"

ที่น่าสนใจก็คือในจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด พบว่า 20-25% มีการสั่งซื้อซ้ำใน 7 วัน และ 50% ซื้อซ้ำใน 1 เดือนสำหรับร้านอาหารที่เป็นพาร์ตเนอร์กับฟู้ดแพนด้า มีทั้งร้านดังอย่างซับเวย์, คาร์ล จูเนียร์, บอน ชอน และมอส เบอร์เกอร์เป็นต้น ไล่ไปถึงร้านโลคอลชื่อดัง เช่น บ้านหญิง, เท็ด คาเฟ่ เป็นต้น

ส่วนวิธีการสั่งอาหาร ก่อนอื่นจะให้ผู้บริโภคเลือกโซนที่ตนเองอยู่ เพื่อตีกรอบพื้นที่การส่งให้ชัดเจนขึ้น จากนั้นจึงเลือกร้านอาหาร และเลือกวิธีชำระเงินว่าจะใช้บัตรเครดิต หรือชำระเมื่ออาหารมาส่งถึงที่หมายซึ่งจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง

"เราวางตัวเป็นฟู้ดออนไลน์ มาร์เก็ตเพลสโดยจะเป็นคนไปติดต่อให้ร้านอาหารมาอยู่รวมกัน ปลายปีนี้จะมีร้านอาหารเพิ่มขึ้นอีก150-200 แห่ง และในสิ้นปีหน้าจะมี 1,000 แห่งพร้อมกับขยายบริการไปในพื้นที่ใหม่ ๆ เช่นที่หัวหิน เป็นต้นปลายปีนี้คงได้เห็น อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะร่วมกับพาร์ตเนอร์ท้องถิ่นเหมือนที่พัทยา หรือลงไปดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งการขยายพื้นที่จำเป็นต้องเพิ่มสายส่งซึ่งอยู่ระหว่างการจัดหา"

และเพื่ออำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นจึงทำแอปพลิเคชั่น Foodpandaออกมาเพื่อให้บริการผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเลตที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก หากคิดเป็นจำนวนเลขหมายจะมีกว่า 84 ล้านเลขหมาย และกำลังทยอยเปลี่ยนมาเป็นสมาร์ทโฟนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหลังเปิดให้บริการผ่าน "แอป" มีการสั่งอาหารผ่านช่องทางนี้ถึง 50% มากกว่าสั่งผ่านเว็บไซต์ที่มีสัดส่วนที่ 45% และสั่งอาหารผ่านโทรศัพท์ 5%


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409830248

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.