Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 ธันวาคม 2557 ITU.ฮามาดู ทูเร ระบุ นประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 81 ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 91 โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกด้านการใช้อินเทอร์เน็ต โดยตัวชี้วัดในด้านนี้ได้ขยับขึ้นถึง 34 อันดับ จากอันดับที่ 105

ประเด็นหลัก



ผลสำรวจดัชนีชี้วัดระดับและพัฒนาการไอซีที (ICT Development Index : IDI) ในปีนี้ ประเทศเดนมาร์กอยู่ในอันดับ 1 ขณะที่ 30 อันดับแรกจะมาจากประเทศในแถบยุโรป และประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรสูงกว่าภูมิภาคอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเก๊า สิงคโปร์

ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 81 ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 91 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะอยู่ในอันดับที่ 10 และเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนขยับจาก 17.5% มาอยู่ที่ 29% ในปี 2556

"ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกด้านการใช้อินเทอร์เน็ต โดยตัวชี้วัดในด้านนี้ได้ขยับขึ้นถึง 34 อันดับ จากอันดับที่ 105 จากการสำรวจในปี 2555 มาเป็นอันดับที่ 71 ในการสำรวจล่าสุดปี 2556 ถือว่าตลาดไร้สายสดใสมาก ภายใน 1 ปีมียอดผู้ใช้โมบายหน้าใหม่กว่า 7 ล้านราย และมีผู้ใช้บรอดแบนด์ไร้สายเพิ่มขึ้นกว่า 28 ล้านราย ทำให้มียอดผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 138% ของจำนวนประชากร และ 52% สำหรับการใช้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย เป็นผลจากการเปิดให้บริการ 3G และการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโอเปอเรเตอร์และสมาร์ทโฟน"

______________________________







3G ดันไทยนำโด่งการใช้ ICT อัพดัชนีไอทียูปี"57 ครองอันดับ 81


วนมาอีกครั้งสำหรับการรายงานดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศ (Measuring the Information Society Report) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่จะจัดอันดับความสามารถด้านไอซีทีของประเทศต่าง ๆ 166 ประเทศทั่วโลกทุกปี

"ฮามาดู ทูเร" เลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เปิดเผยว่า รายงานในปี 2557 ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลในปี 2556 พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกแล้วประมาณ 3 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.6% โดยเป็นการเติบโตในประเทศที่พัฒนาแล้ว 3.3% และในประเทศที่กำลังพัฒนา 8.7%



"ปัจจุบันกว่า 78% ของครัวเรือนทั่วโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และ 2 ใน 3 ของคนที่ออนไลน์ในขณะนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วงปี 2552-2557 แต่ยังมีประชากรอีกกว่า 4,300 ล้านคน ที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่ง 90% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา"

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ ดัชนีของไอทียูที่ทำขึ้นเพื่อให้เห็นพัฒนาการของไอซีทีทั่วโลก ที่สามารถบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการพัฒนาประเทศได้ อาทิ การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งจากดัชนีชี้วัดด้านสังคมพบว่า ปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทสูงขึ้น อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจสูงอย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองกับชนบทเพียง 4% แต่ในประเทศกำลังพัฒนามีความแตกต่างมากถึง 35% และยิ่งมากขึ้นในประเทศที่ยากจน

ขณะที่จำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกคาดการณ์ว่า ในปลายปีนี้จะอยู่ที่กว่า 7 พันล้านเครื่อง เกือบเท่ากับจำนวนประชากร แต่กลับพบว่ายังมีประชากรอีกกว่า 450 ล้านคน ที่ไม่มีมือถือใช้และกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงไอซีที แม้ว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศยากจนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

ผลสำรวจดัชนีชี้วัดระดับและพัฒนาการไอซีที (ICT Development Index : IDI) ในปีนี้ ประเทศเดนมาร์กอยู่ในอันดับ 1 ขณะที่ 30 อันดับแรกจะมาจากประเทศในแถบยุโรป และประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรสูงกว่าภูมิภาคอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเก๊า สิงคโปร์

ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 81 ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 91 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะอยู่ในอันดับที่ 10 และเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนขยับจาก 17.5% มาอยู่ที่ 29% ในปี 2556

"ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกด้านการใช้อินเทอร์เน็ต โดยตัวชี้วัดในด้านนี้ได้ขยับขึ้นถึง 34 อันดับ จากอันดับที่ 105 จากการสำรวจในปี 2555 มาเป็นอันดับที่ 71 ในการสำรวจล่าสุดปี 2556 ถือว่าตลาดไร้สายสดใสมาก ภายใน 1 ปีมียอดผู้ใช้โมบายหน้าใหม่กว่า 7 ล้านราย และมีผู้ใช้บรอดแบนด์ไร้สายเพิ่มขึ้นกว่า 28 ล้านราย ทำให้มียอดผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 138% ของจำนวนประชากร และ 52% สำหรับการใช้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย เป็นผลจากการเปิดให้บริการ 3G และการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโอเปอเรเตอร์และสมาร์ทโฟน"

ขณะที่อัตราค่าบริการฟิกซ์บรอดแบนด์ในไทยจะอยู่ที่ราว 22.46 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5% ของรายได้เฉลี่ยต่อประชากร (GNI) สูงกว่ามาเก๊า สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ที่ค่าบริการไม่เกิน 1% ของ GNI ส่วนค่าบริการโมบายบรอดแบนด์จะอยู่ที่ราว 10.41 เหรียญสหรัฐ หรือราว 2.33% ของ GNI สูงเป็นอันดับที่ 86 จาก 166 ประเทศ และโดยเฉลี่ยแล้วค่าบริการบรอดแบนด์จะลดลงปีละ 20% ขณะที่ภาพรวมของทั่วโลกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ค่าบริการจะลดลงราว 70% ความท้าทายต่อไปคือการเร่งขยายโครงข่ายบรอดแบนด์และ 3G ให้ครอบคลุมทั่ว ปท.

ด้าน "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ผลสำรวจของไอทียูสอดคล้องกับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีปี 2557 ของ World Economic Forum โดยไทยได้ดัชนีบ่งชี้ระดับความพร้อมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Network Readiness Index : NRI) ในอันดับที่ 67 ขยับจากอันดับที่ 74 ในปีก่อน เป็นผลมาจากอัตราความเร็วของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ที่เพิ่มขึ้นจาก 3G และค่าบริการที่ถูกลง ซึ่งแม้ไทยจะเปิดให้บริการช้ากว่าหลายประเทศ แต่เป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนจาก 2G เป็น 3G เร็วที่สุดในโลก

"กสทช.ตั้งเป้าจะให้ไทยขยับขึ้นอย่างน้อย 10 อันดับ ในทุกครั้งที่มีการสำรวจ ซึ่งนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาลจะมีส่วนช่วยสนับสนุนในอีกทางหนึ่ง"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1418061673

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.