Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 ธันวาคม 2557 (บทความ) ?เปิดโลกทัศน์‘เถ้าแก่น้อยฯ’ ทำวิจัยต้องคิดให้จบ? // 5% ของน้อง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถก่อให้เกิดธุรกิจได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขาดประสบการณ์ หรือภาระด้านการเรียน ในปีที่ 2 จึงขยายอายุผู้เข้าร่วมโครงการเป็น 20-35 ปี

ประเด็นหลัก



นางศันสนีย์ อวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค บอกว่า เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีเริ่มจัดขึ้นเมื่อปี 2555 โดยมีบริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถต่อยอดผลงานจากนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดต่าง ๆ ไปสู่การประกอบธุรกิจได้

ซึ่งในปีแรก มีเพียงประมาณ 5% ของน้อง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถก่อให้เกิดธุรกิจได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขาดประสบการณ์ หรือภาระด้านการเรียน ในปีที่ 2 จึงขยายอายุผู้เข้าร่วมโครงการเป็น 20-35 ปี และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ได้รับรางวัลด้วยการดูงาน เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ว่าในประเทศที่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการเขามีวิธีคิดและทำอย่างไรเพื่อให้นวัตกรรมที่คิดขึ้นมานั้นสามารถขายได้จริง

และในปีนี้ได้เลือกประเทศเกาหลีใต้ และเลือกสถานที่ดูงานจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ได้รับรางวัล อย่างเช่นที่ ESTI ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทเลคอมมูนิเคชั่นชั้นแนวหน้าของเกาหลีใต้และมีผลงานหลากหลายทั้งด้านอีเลิร์นนิ่ง เกมแอนิเมชั่น 3 มิติ เทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งต้นแบบการวิจัยจากที่นี่ถูกส่งต่อไปผลิตเพื่อใช้งานจริงในธุรกิจแล้วเป็นจำนวนมาก



______________________________







?เปิดโลกทัศน์‘เถ้าแก่น้อยฯ’ ทำวิจัยต้องคิดให้จบ?
ส่วนที่ ไคสท์ (KAIST) สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี เป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่คนเกาหลีใต้ยอมรับว่าดีที่สุดในประเทศ ดูแลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


เปิดโลกทัศน์‘เถ้าแก่น้อยฯ’ ทำวิจัยต้องคิดให้จบ - ฉลาดคิด

ปิดโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2557 ด้วยการเปิดประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่กับทริปดูงานด้านเทคโนโลยีที่เกาหลีใต้ ประเทศที่ถือได้ว่ามีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

นางศันสนีย์ อวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค บอกว่า เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีเริ่มจัดขึ้นเมื่อปี 2555 โดยมีบริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถต่อยอดผลงานจากนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดต่าง ๆ ไปสู่การประกอบธุรกิจได้

ซึ่งในปีแรก มีเพียงประมาณ 5% ของน้อง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถก่อให้เกิดธุรกิจได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขาดประสบการณ์ หรือภาระด้านการเรียน ในปีที่ 2 จึงขยายอายุผู้เข้าร่วมโครงการเป็น 20-35 ปี และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ได้รับรางวัลด้วยการดูงาน เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ว่าในประเทศที่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการเขามีวิธีคิดและทำอย่างไรเพื่อให้นวัตกรรมที่คิดขึ้นมานั้นสามารถขายได้จริง

และในปีนี้ได้เลือกประเทศเกาหลีใต้ และเลือกสถานที่ดูงานจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ได้รับรางวัล อย่างเช่นที่ ESTI ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทเลคอมมูนิเคชั่นชั้นแนวหน้าของเกาหลีใต้และมีผลงานหลากหลายทั้งด้านอีเลิร์นนิ่ง เกมแอนิเมชั่น 3 มิติ เทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งต้นแบบการวิจัยจากที่นี่ถูกส่งต่อไปผลิตเพื่อใช้งานจริงในธุรกิจแล้วเป็นจำนวนมาก

ส่วนที่ ไคสท์ (KAIST) สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี เป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่คนเกาหลีใต้ยอมรับว่าดีที่สุดในประเทศ ดูแลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีศูนย์ส่งเสริมสตาร์อัพหรือบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างชัดเจน

จากการดูงาน นางศันสนีย์ บอกว่า แม้กระบวนการในการสนับสนุนคนรุ่นใหม่จะคล้าย ๆ กัน แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ “ทุน” ที่เพียงพอในการวิจัยพัฒนาและสร้างธุรกิจจนแล้วเสร็จ สามารถหาได้จากที่เดียวโดยไม่ต้องวิ่งรอกประกวดเพื่อเก็บเงินรางวัล ซึ่งอาจทำให้ขาดความมุ่งมั่นในการทำงานเหมือนในเมืองไทย

นอกจากนี้งานวิจัยในเกาหลียังแสดงให้เห็นถึงการวิจัยเพื่ออนาคต เช่น การพัฒนาดิจิตอลมีเดียซิตี้หรือ ดีเอ็มซี (DMC) ต้นแบบเมืองใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของสื่อดิจิตอลทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม การออกแบบ และธุรกิจบันเทิง ที่แห่งนี้แม้จะไฮเทคแต่อยู่ภายใต้แนวคิดเทคโนโลยีสะอาด

รวมถึงการทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมเกาหลีในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนประชากรวัยทำงานเพราะนิยมมีลูกน้อยลง ผลการวิจัยที่กำลังทำอยู่นี้จะถูกนำไปใช้ในการวางนโยบายของประเทศในอนาคต

ขณะที่น้อง ๆ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ของไทยทั้งสามทีมจากทีมเล่นดิน อินโนพริ้นเตอร์ และระบบสั่งกาแฟผ่านคีออส ต่างบอกว่า การมาดูงานครั้งนี้ ทำให้ได้ประสบการณ์และเห็นมุมมองอะไรใหม่ ๆ ซึ่งคิดว่าเรื่องความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดีย คนไทยไม่ได้แพ้ใคร จะขาดก็แต่เงินทุนสนับสนุน

และแนวคิดสิ่งสำคัญที่ได้จากการดูงานครั้งนี้ก็คือ การจะทำอะไรก็ตามต้องคิดให้จบ และไม่จำเป็นต้องเป็นสุดยอดเทคโนโลยี แต่ต้องตอบโจทย์ โดนใจ เพื่อให้ขายได้นั่นเอง

แถมอีกนิด คือ ข้อคิดจากไคสท์ การคิดทำวิจัยไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป!!.

นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/286518/เปิดโลกทัศน์‘เถ้าแก่น้อยฯ’+ทำวิจัยต้องคิดให้จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.