Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2557 มัคคานซิส เผยองค์ประกอบพื้นฐานมุ่งสู่การขับเคลื่อนให้เกิด"ดิจิตอล อีโคโนมี" โดยต้องสนับสนุน ภาคการเกษตร ภาคการศึกษา ภาคบริการสุขภาพ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจ วิเคราะห์และวินิจฉัยโรค

ประเด็นหลัก



    ทั้งนี้การริเริ่มโครงการต้นแบบผ่านภาคอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะสะท้อนถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจริง และยังเป็นการต่อยอดของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยภาคอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีดิจิตอลไปสนับสนุนและสร้างมูลค่าต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการในเชิงมูลค่า (รายได้) และคุณค่า (ประโยชน์) ได้แก่ 1.ภาคการเกษตร แนวคิดดิจิตอล อีโคโนมีสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงราคาผลิตผลทางการเกษตรแบบออนไลน์ เข้าถึงการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำจากคลองชลประทาน  , 2.ภาคการศึกษาที่สามารถสร้างเครือข่ายในการเข้าถึงเนื้อหาหรือสาระความรู้ทางการศึกษาผ่านระบบ e-Education
     และ 3.ภาคบริการสุขภาพ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจ วิเคราะห์และวินิจฉัยโรค

______________________________







ผู้เชี่ยวชาญแนะ3องค์ประกอบ ขับเคลื่อน


มัคคานซิส เผยองค์ประกอบพื้นฐานมุ่งสู่การขับเคลื่อนให้เกิด"ดิจิตอล อีโคโนมี" ในไทยต้องประกอบด้วยการผลักดันอย่างพร้อมเพรียงทั้ง 3 ส่วน  พร้อมหนุนให้เกิดโครงการต้นแบบจริงในระดับกลุ่มอุตสาหกรรม
    นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ในธุรกิจไอซีที  บริษัท มัคคานซิส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ ดิจิตอล อีโคโนมี สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ  คือ
    จุดเริ่มต้นที่จะต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ คงหนีไม่พ้นการพิจารณาการประเมินความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานอันจะช่วยในการติดต่อสื่อสาร และการสนับสนุนบริการก่อน อาทิ โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วประเทศในระดับพื้นที่ห่างไกล , การเพิ่มอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชากรในภูมิภาค โดยมีทางเลือกของเทคโนโลยีการสื่อสารได้มากกว่า 1 ช่องทางในพื้นที่เดียวกัน ประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารเหล่านั้นเพื่อการดำเนินธุรกิจและติดต่อถึงกันได้ก่อให้เกิดการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตได้เต็มที่ หลังจากนั้นในชั้นถัดมา จะเป็นการบูรณาการแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้งานร่วมกัน (Shared services) ทั้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง หรือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการ เหล่านี้ถือเป็นลำดับในระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ตัวอย่างในปัจจุบันได้แก่ Infrastructure software และ Cloud services เป็นต้น
    ประการต่อมาคือแรงผลักดันในเชิงนโยบาย ในที่นี้รวมถึงแผนแม่บท กฎระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Policy, Regulation, Definition, and Stakeholders) ที่จะใช้เป็นกรอบเครื่องมือสนับสนุนให้แนวทางการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน  ถ้ามองในมุมของการขับเคลื่อนเชิงนโยบายแล้ว ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะ ดิจิตอล อีโคโนมีจะเกิดไม่ได้เลยถ้าขาดปัจจัยข้อนี้ และสุดท้ายคือการสร้างระบบนิเวศน์หรือสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดสายใยแห่งมูลค่า (Value chain) เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ  
    ทั้งนี้การริเริ่มโครงการต้นแบบผ่านภาคอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะสะท้อนถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจริง และยังเป็นการต่อยอดของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยภาคอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีดิจิตอลไปสนับสนุนและสร้างมูลค่าต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการในเชิงมูลค่า (รายได้) และคุณค่า (ประโยชน์) ได้แก่ 1.ภาคการเกษตร แนวคิดดิจิตอล อีโคโนมีสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงราคาผลิตผลทางการเกษตรแบบออนไลน์ เข้าถึงการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำจากคลองชลประทาน  , 2.ภาคการศึกษาที่สามารถสร้างเครือข่ายในการเข้าถึงเนื้อหาหรือสาระความรู้ทางการศึกษาผ่านระบบ e-Education
     และ 3.ภาคบริการสุขภาพ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจ วิเคราะห์และวินิจฉัยโรค
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=257306:3-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VIxCuItAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.