Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 กสทช.ชะลอเรียงช่องทีวีดิจิตอล หลังโดย TRUEVISIONS และ สมาคมดาวเทียมฯ ชี้ทำผู้บริโภคสับสน ส่งเรื่องกลับไปให้ กสท.กลับไปทบทวนอีกรอบ และเสนอเข้าที่ประชุม กสทช.อีกครั้งในวันที่ 21 ม.ค. 58

ประเด็นหลัก


  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า มติที่ประชุม กสทช.ยังไม่อนุมัติเห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ... (ฉบับใหม่) เพื่อกำหนดช่อง 1-36 เป็นช่องทีวีดิจิตอลเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เห็นชอบและส่งเรื่องมาให้ กสทช.พิจารณา เนื่องจากมีผู้ประกอบการส่งหนังสือร้องเรียน 2 ราย ได้แก่ โครงข่ายผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียม และ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จํากัด โดยโครงข่ายผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียมให้เหตุผลที่คัดค้านร่างประกาศดังกล่าวว่าจะทำให้ประชาชนสับสนจากเดิมที่ประชาชนเข้าใจอยู่แล้ว ขณะที่ทรูวิชั่นส์ให้เหตุผลว่าเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้รับสัญญาสัมปทาน ไม่ใช่ผู้ประมูลทีวีดิจิตอล โดยเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิกที่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง ทำให้ควรมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 คือ คุ้มครองผู้ประกอบการรายเดิม สามารถจัดเรียงหมายเลขช่องได้เอง จึงไม่ควรอยู่ภายใต้เกณฑ์ในการประกาศตามร่างดังกล่าว
     
       'ดังนั้น กสทช. จึงส่งเรื่องกลับไปให้ กสท.กลับไปทบทวนอีกรอบ และเสนอเข้าที่ประชุม กสทช.อีกครั้งในวันที่ 21 ม.ค. 58 เพื่อความรอบคอบ ไม่ถูกกล่าวหาว่าเราละเลย และมีข้อพิพาทตามมาทีหลัง ทำให้เรื่องนี้เสร็จไม่ทันในช่วงปีใหม่อย่างที่ตั้งใจไว้'


______________________________







กสทช.ชะลอเรียงช่องทีวีดิจิตอลหลังสมาคมดาวเทียม-ทรูวิชั่นส์ร้องเรียน



        มติ กสทช.ยังไม่อนุมัติประกาศเรียงช่องทีวีดิจิตอล เนื่องจากสมาคมดาวเทียมและทรูวิชั่นส์ส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ดังนั้นเพื่อความรอบคอบจึงสั่งให้ กสท.กลับไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนความคืบหน้าเรื่องการจ่ายเงินคูปองดิจิตอลพร้อมจ่ายล็อตแรกแล้ว 1-2 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้เคาะงบประมาณปี 58 แล้วจำนวน 5 พันล้านบาท หลังเชิญ สนช.ร่วมเป็นอนุกรรมการ
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า มติที่ประชุม กสทช.ยังไม่อนุมัติเห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ... (ฉบับใหม่) เพื่อกำหนดช่อง 1-36 เป็นช่องทีวีดิจิตอลเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เห็นชอบและส่งเรื่องมาให้ กสทช.พิจารณา เนื่องจากมีผู้ประกอบการส่งหนังสือร้องเรียน 2 ราย ได้แก่ โครงข่ายผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียม และ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จํากัด โดยโครงข่ายผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียมให้เหตุผลที่คัดค้านร่างประกาศดังกล่าวว่าจะทำให้ประชาชนสับสนจากเดิมที่ประชาชนเข้าใจอยู่แล้ว ขณะที่ทรูวิชั่นส์ให้เหตุผลว่าเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้รับสัญญาสัมปทาน ไม่ใช่ผู้ประมูลทีวีดิจิตอล โดยเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิกที่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง ทำให้ควรมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 คือ คุ้มครองผู้ประกอบการรายเดิม สามารถจัดเรียงหมายเลขช่องได้เอง จึงไม่ควรอยู่ภายใต้เกณฑ์ในการประกาศตามร่างดังกล่าว
     
       'ดังนั้น กสทช. จึงส่งเรื่องกลับไปให้ กสท.กลับไปทบทวนอีกรอบ และเสนอเข้าที่ประชุม กสทช.อีกครั้งในวันที่ 21 ม.ค. 58 เพื่อความรอบคอบ ไม่ถูกกล่าวหาว่าเราละเลย และมีข้อพิพาทตามมาทีหลัง ทำให้เรื่องนี้เสร็จไม่ทันในช่วงปีใหม่อย่างที่ตั้งใจไว้'
     
       *** อนุมัติจ่ายเงินคูปองดิจิตอลล็อตแรกแล้ว
     
       สำหรับความคืบหน้าเรื่องการจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการแลกซื้ออุปกรณ์สำหรับการรับชมทีวีดิจิตอลนั้น นายฐากรกล่าวว่า ได้อนุมัติงบประมาณรอบแรกให้ธนาคารกรุงไทยเบิกจ่ายได้แล้วประมาณ 1-2 ล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับว่าหลังจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ กสทช.ตรวจสอบเอกสารแนบที่เป็นสำเนาของประชาชนทั้งหมด ทำให้การจ่ายเงินล่าช้าออกไป โดยในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ที่ กสทช.เกณฑ์มาตรวจเอกสาร 200 คน อาจตรวจล่าช้าเพราะยังไม่ชำนาญ แต่มั่นใจว่าหลังจากนี้การตรวจเอกสารจะรวดเร็วขึ้น และคาดว่าจะทยอยอนุมัติอย่างต่อเนื่องจนครบ ซึ่งภายในปีนี้จะอนุมัติได้กว่า 100 ล้านบาท
     
       *** เคาะงบปี 58 ที่ 5 พันล้านบาท
     
       ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2558 ที่ประชุม กสทช.ได้อนุมัติกรอบวงเงินรายจ่ายจำนวน 5,035.112 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากกรอบเดิมที่วางไว้ 5,297.47 ล้านบาท เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณของสำนักงานที่มีตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาร่วมพิจารณา โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายเงินเดือนและสาธารณูปโภค 1,817.727 ล้านบาท งบประมาณผูกพัน 1,161.302 ล้านบาท งบประมาณสำหรับโครงการใหม่ 1,986.083 ล้านบาท งบประมาณกองทุน กทปส. 50 ล้านบาท งบประมาณกลางสำหรับกรณีฉุกเฉิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าปี 58 จะมีรายได้ทั้งสิ้น 7,479 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเงินนำส่งเข้าคลังจำนวน 2,443.95 ล้านบาท



http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000144913&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.