Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 บริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ในซานฟรานซิสโกชื่อ CellScope จึงพัฒนากล้องส่องตรวจหู (otoscope) มาพร้อมเคสไอโฟน 5 และไอโฟน 5 เอส ให้พ่อแม่ถ่ายหูที่มีปัญหาของลูกได้โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล

ประเด็นหลัก
       ล่าสุดก็มีแล้วเช่นกันกับระบบที่ช่วยตรวจอาการได้อย่างรวดเร็ว แถมไม่ต้องเข้าคิว โดยเป็นกล้องส่องตรวจหูที่มาพร้อมเคสสมาร์ทโฟนในชื่อ "Oto HOME" จากนั้น ระบบจะบันทึกภาพที่เกิดขึ้นภายในหูและส่งข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนของพ่อแม่ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยซึ่งเป็นหนึ่งในบริการ Oto Connect Service ที่ทีมพัฒนาคิดขึ้นมานั่นเอง
   
       อุปกรณ์ดังกล่าวพัฒนาโดยบริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ในซานฟรานซิสโกชื่อ CellScope ที่เห็นถึงความแพร่หลายของการใช้งานสมาร์ทโฟน จึงพัฒนากล้องส่องตรวจหู (otoscope) มาพร้อมเคสไอโฟน 5 และไอโฟน 5 เอส ให้พ่อแม่ถ่ายหูที่มีปัญหาของลูกได้โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง และแพทย์จะวินิจฉัยอาการจากภาพที่ถ่ายและส่งไปนั่นเอง





______________________________







ตรวจหูลูกที่บ้านด้วย “สมาร์ทโฟนติดกล้องส่องหู”


        ไม่มีใครอยากให้สมาชิกในครอบครัวป่วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งพ่อแม่ทุกคนคงนึกภาพออกเลยทีเดียวกับการพาลูกๆ ไปโรงพยาบาล วางบัตรคิว และต้องรอกว่าจะได้ตรวจก็อาจถึงเที่ยง ความยุ่งยากเหล่านี้อาจทำให้บางคนฝันให้มีเทคโนโลยีบางอย่างเข้ามาช่วยให้สะดวกสบายมากขึ้น
     
       ล่าสุดก็มีแล้วเช่นกันกับระบบที่ช่วยตรวจอาการได้อย่างรวดเร็ว แถมไม่ต้องเข้าคิว โดยเป็นกล้องส่องตรวจหูที่มาพร้อมเคสสมาร์ทโฟนในชื่อ "Oto HOME" จากนั้น ระบบจะบันทึกภาพที่เกิดขึ้นภายในหูและส่งข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนของพ่อแม่ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยซึ่งเป็นหนึ่งในบริการ Oto Connect Service ที่ทีมพัฒนาคิดขึ้นมานั่นเอง
     
       อุปกรณ์ดังกล่าวพัฒนาโดยบริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ในซานฟรานซิสโกชื่อ CellScope ที่เห็นถึงความแพร่หลายของการใช้งานสมาร์ทโฟน จึงพัฒนากล้องส่องตรวจหู (otoscope) มาพร้อมเคสไอโฟน 5 และไอโฟน 5 เอส ให้พ่อแม่ถ่ายหูที่มีปัญหาของลูกได้โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง และแพทย์จะวินิจฉัยอาการจากภาพที่ถ่ายและส่งไปนั่นเอง

ตรวจหูลูกที่บ้านด้วย “สมาร์ทโฟนติดกล้องส่องหู”

        อย่างไรก็ดี แนวคิดเรื่องการตรวจรักษาระยะไกลนั้นยังเป็นบริการที่จำกัดการใช้งานอยู่ในวงแคบ เช่นเดียวกับกรณีของ Oto HOME ที่จำกัดอยู่ในแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ส่วนจะขยายออกไปได้กว้างเพียงใดนั้น ทางบริษัทคาดว่าจะขยายบริการได้ทั่วสหรัฐอเมริกาในราวกลางปีหน้า
     
       ส่วนประเทศไทย หากใครเห็นประโยชน์จากไอเดียนี้จะพัฒนาระบบขึ้นใช้บ้างก็คงช่วยลดการเสียเวลาในการเดินทางไปพบคุณหมอได้มากเช่นกัน



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000145163

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.