Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ธันวาคม 2557 อาทิตย์ สุริยะวงศ์สกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุ พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหากฎหมายที่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน

ประเด็นหลัก

ส่วนนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์สกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเปลี่ยนไปแล้ว เกิดการคอนเวอร์เจนซ์บริการต่าง ๆ พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหากฎหมายที่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน อาทิ กรณีของบริการ "อูเบอร์"

"กฎหมายการควบคุมเนื้อหาในแต่ละสื่อถูกกำหนดไว้เหมือนกัน ทั้งที่มีบริบทต่างกันในแต่ละสื่อ จึงควรเปลี่ยนให้เป็นการกำกับดูแลด้านเนื้อหากับด้านเทคนิค หรืออย่างกรณีบริการบางอย่างที่ถูกนำมาไว้บนอินเทอร์เน็ต ก็ควรขยายอำนาจให้องค์กรกำกับดูแลธุรกิจดังกล่าวที่มีอยู่เดิมได้ครอบคลุม ถึงบริการแบบออนไลน์ด้วย อาทิ บริการทางการเงินต่าง ๆ จะดีกว่าให้กระทรวงไอซีที หรือ กสทช.มาดูแล ส่วนเรื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็ให้ตำรวจดูแล ไม่ควรใช้การตั้งหน่วยงานใหม่"



______________________________







คนใช้เน็ตไทยเสี่ยง-ไร้เสรีภาพ กฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยี



ผลวิจัยระบุชัดผู้ใช้เน็ตไทยเสี่ยงโดนแฮกข้อมูล ไร้ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ฟาก NGOs สหรัฐ "ฟรีด้อมเฮาส์" ชี้ไทยไม่มีเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต ขณะที่ กสทช.มุ่งประมูลคลื่น-ออกใบอนุญาต-ละเลยการคุ้มครองผู้บริโภคและกำกับดูแลโอเปอเรเตอร์ เครือข่ายพลเมืองเน็ตย้ำกฎหมายไม่ทันเทคโนโลยี แนะขยายอำนาจองค์กรกำกับแต่ละธุรกิจให้ครอบคลุมงานออนไลน์ ดีกว่าตั้งหน่วยงานใหม่

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิจัยจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen network) เปิดเผยรายงานเรื่อง "บทบาท กสทช.กับการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต" บนเวทีเสวนาเรื่อง บทบาทของ กสทช.ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต จัดโดยโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุถึงภาพรวมสถานการณ์ปัญหาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยว่ามีเว็บไซต์ในประเทศกว่า 50% ที่ไม่ได้เข้ารหัสเชื่อมต่อระหว่างต้นทางหรือปลายทางผ่านโปรโตคอล HTTPS จึงเป็นการเปิดช่องให้เกิดการแฮกข้อมูลออกจากระบบได้อย่างง่ายดาย

ขณะเดียวกัน รายงานวิจัยจากต่างประเทศยังระบุว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพยายามในการตรวจสอบข้อมูลในระดับสูงบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ให้บริการ (ISP) ด้วย

"มีหลายครั้งที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตพบความผิดปกติในเครือข่ายที่ใช้งาน และโพสต์ข้อมูลที่ตรวจพบว่าระบบอาจโดนโจมตี จากมัลแวร์ภายนอก เมื่อร้องเรียนกับผู้ให้บริการก็ได้รับแจ้งว่าได้รับทราบเรื่องแล้ว แต่พอเป็นข่าวกลับออกมาปฏิเสธ รวมถึงไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ นอกจากนี้ ในการทำสัญญาให้บริการ มี ISP หลายรายไม่ให้

ผู้บริโภคอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อน บางรายก็ไม่รับผิดชอบต่อการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้ เมื่อประกอบกับการที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงทั้งจากการกระทำของ ISP และภาครัฐ ทำให้รายงานเสรีภาพเน็ตไทยปี 2557 หรือ Freedom on the Net 2014 ที่จัดทำขึ้นด้วยฟรีด้อมเฮาส์ องค์กรพัฒนาเอกชนของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่ไม่มีเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต"

ขณะที่บทบาทของ กสทช. แม้กฎหมายกำหนดให้ต้องออกมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการโทรคมนาคมที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสาร แต่ไม่พบการกำกับดูแลและการตระหนักถึงภาระหน้าที่ส่วนนี้ ที่สำคัญคือเมื่อ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักกฎหมายโทรคมนาคม กสทช.ออกมาระบุเองว่ายังไม่เคยได้ให้ความเห็นชอบในสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของ ISP รายใด แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีจุดยืนในการดูแลผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต ทั้งที่มีอำนาจหน้าที่

โดย กสทช.จึงควรทำงานเชิงรุกด้านการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคให้มากขึ้น อาทิ การจัดทำหลักเกณฑ์ประเมินความปลอดภัยของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบคุณภาพสัญญาณจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ มีการกำกับเงื่อนไขสัญญาการให้บริการและมาตรฐานขั้นต่ำในการให้บริการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยให้เพิ่มการรับมือกับปัญหาด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ รวมถึงเพิ่มบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

ด้านนายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า กสทช.เน้นให้ความสำคัญกับการออกใบอนุญาตมากกว่าตรวจสอบการให้บริการ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในการใช้งานไอที รวมถึงต้องให้ความรู้กับประชาชนให้สามารถดูแลตัวเองได้ อาทิ การตระหนักถึงความเสี่ยงในการใช้งานผ่านบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ไม่เข้ารหัส หรือโมบายบรอดแบนด์ สมาร์ทโฟน ขณะเดียวกัน กสทช. ก็ควรแยกหน่วยงานที่ดูแลด้านเทคนิคของเครือข่ายการให้บริการกับส่วนที่กำกับ ดูแลด้านเนื้อหาออกจากกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น

ขณะที่ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของ กสทช.ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคยังมีความอ่อนแอ แม้แต่ในส่วนของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ก็ยังไม่ชัดเจนว่า กสทช. หรือกระทรวงเทคโนโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเป็นผู้กำกับดูแลด้านอินเทอร์เน็ต แม้ว่าตามหลักสากลน่าจะอยู่ที่ กสทช.แต่อำนาจทางกฎหมายยังไม่ครอบคลุม ประกอบกับการทำงานของ กสทช.ในปัจจุบันไม่ได้กระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปถึงระดับผู้อำนวยการ แต่กระจุกตัวอยู่ที่บอร์ด ซึ่งมีงานล้นมือ ทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำได้ล่าช้า

"ทางออกที่ดีที่สุดคือส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดูแลกันเอง กสทช.ต้องออกกฎควบคุมการทำงานภายใต้หลักสากล ขณะที่การใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ควรให้กระทรวงไอซีทีเป็นผู้ดำเนินการสั่งฟ้องแฮกเกอร์ หรือผู้กระทำผิดจากการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่ปล่อยให้ใช้ พ.ร.บ.จัดการคดีหมิ่นประมาทอย่างเดียว และให้ความรู้ผู้ใช้งานให้เท่าทันอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่เด็ก คู่ไปกับการสอนใช้เทคโนโลยี"

ส่วนนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์สกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเปลี่ยนไปแล้ว เกิดการคอนเวอร์เจนซ์บริการต่าง ๆ พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหากฎหมายที่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน อาทิ กรณีของบริการ "อูเบอร์"

"กฎหมายการควบคุมเนื้อหาในแต่ละสื่อถูกกำหนดไว้เหมือนกัน ทั้งที่มีบริบทต่างกันในแต่ละสื่อ จึงควรเปลี่ยนให้เป็นการกำกับดูแลด้านเนื้อหากับด้านเทคนิค หรืออย่างกรณีบริการบางอย่างที่ถูกนำมาไว้บนอินเทอร์เน็ต ก็ควรขยายอำนาจให้องค์กรกำกับดูแลธุรกิจดังกล่าวที่มีอยู่เดิมได้ครอบคลุม ถึงบริการแบบออนไลน์ด้วย อาทิ บริการทางการเงินต่าง ๆ จะดีกว่าให้กระทรวงไอซีที หรือ กสทช.มาดูแล ส่วนเรื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็ให้ตำรวจดูแล ไม่ควรใช้การตั้งหน่วยงานใหม่"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1419053828

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.