Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) TRUE.ศุภชัย ระบุ พร้อมจะประมูลในทั้งรูปแบบบิวตี้คอนเทสต์และอี-ออคชั่น แต่ก็อยากให้เป็นแบบอี-ออคชั่นเนื่องจากเป็นวิธีที่มีความโปร่งใสที่สุด





ประเด็นหลัก




ศุภชัย เจียรวนนท์

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของรูปแบบการประมูลนั้น ทรูพร้อมจะประมูลในทั้งรูปแบบบิวตี้คอนเทสต์และอี-ออคชั่น แต่ก็อยากให้เป็นแบบอี-ออคชั่นเนื่องจากเป็นวิธีที่มีความโปร่งใสที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

"หากมองว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่และต้องการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นเป็นเรื่องจริงแต่การใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นไม่ได้มีเพียงมิติเดียว และการประมูลคลื่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการนำคลื่นความถี่เหล่านั้นไปพัฒนาต่อไปไม่ใช้เพียงนำไปใช้งาน นอกจากนี้ก็เชื่อว่าภาคเอกชนมีกำลังและความพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศให้รุดหน้าต่อไปได้ ไม่อยากให้นำราคาประมูล 3จี ไปเทียบกับการประมูลทีวีดิจิตอล เพราะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเอกชนที่เข้าประมูลทีวีนั้นมีหลายรายและใช้เงินลงทุนหลักร้อยล้านบาทหลังจากประมูลไปแล้ว แต่คลื่นมือถือนั้นเรามีน้อยรายและต้องใช้งบลงทุนอีกหลายหมื่นหรือแสนล้านบาททีเดียว".






_____________________________________________________


















พร้อมประมูล 4 จี! '3 ค่าย' จับมืออ้อนรัฐเดินหน้าประเทศ


เอไอเอส-ดีแทค-ทรูมูฟ เอช ผสานเสียงขอรัฐหนุนประมูล 4จี ในปี 58 เห็นพ้องใช้คลื่นรายละ 30MHz จึงเพียงพอ ขออย่าเทียบเม็ดเงินประมูล 3จี กับทีวีดิจิตอล เหตุการลงทุนมีมูลค่าแตกต่างกัน…

หลังจากรัฐบาลได้กล่าวถึงการเปิดประมูล 4จี ล่าสุด ทั้ง 3 ค่ายหลักอย่าง เอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ก็ได้ออกโรงตั้งโต๊ะแถลงข่าว ถึงจุดยืนและความพร้อมในการประมูลคลื่น 4จี กันอย่างเต็มที่ เพื่อเร่งให้เกิดการประมูลขึ้นในปี 2558 โดยเน้นว่าเป็นหนึ่งในความสำคัญของนโบายดิจิตอลอีโคโนมีอย่างแท้จริงนั้น


สมชัย เลิศสุทธิวงค์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พร้อมคืนความสุขให้คนไทย ด้วยการจัดสรรประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 1800MHz และ 900MHz ในปี 2558


อีกหนึ่งภาพประวัติศาสตร์ 3บิ๊ก จาก 3ค่ายมือถือ

"เชื่อว่าทั้ง 3 ราย พร้อมประมูลเต็มที่แล้ว อยากให้มองว่าต้องการเงินเข้ารัฐ หรืออยากให้ได้ประโยชน์แก่ประชาชนเป็นหลัก เกี่ยวกับรายได้ของรัฐจากการประมูล 3จีนั้น หลายคนอาจมองว่า เอกชนได้ใบอนุญาตมาในวงเงินต่ำ แต่อยากให้มองว่าในด้านของเอกชนนั้น ก็ถือเป็นเงินจำนวนมากแล้ว อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ประกอบการเราก็อยากสร้างอินฟราซัคเจอร์ ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมให้บริการ แต่จากนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจว่าจะดำเนินการอย่างไร"

นายสมชัย กล่าวอีกว่า หากให้เลือกระบบการประมูลระหว่างเกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ หรือ บิวตี้คอนเทสต์ กับการประมูลนั้น ส่วนตัวอยากให้เป็นแบบบิวตี้คอนเทสต์เนื่องจากในต่างประเทศก็ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ขอให้เร่งให้เกิดการประมูลโดยเร็วเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และไม่ว่าจะใช้คลื่นความถี่สูงหรือต่ำก็คิดว่าผู้ประกอบการต่างพร้อมสำหรับการประมูลที่จะเกิดขึ้น


จะเดินหน้ากันอย่างไร ก็ขอให้ประมูล 4จี ปีหน้า!

"เรากำลังร่วมเดินหน้าประเทศสู่ยุค 4จี ซึ่งการที่เรามารวมตัวกันในครั้งนี้ก็เพื่อยืนยันให้ภาครัฐเห็นว่าเราพร้อมสำหรับการเดินหน้า อีกทั้งการประมูล 4จี ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นและผลักดันให้เกิดดิจิตอลอีโคโนมีอย่างสมบูรณ์ เพราะปัจจุบันมือถือนั้นเป็นมากกว่าโทรศัพท์ แต่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งมีอัตราการใช้งานมากกว่าจำนวนประชากรของประเทศไปแล้ว และถือเป็นสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค"


ซิคเว่ เบรคเก้

ด้าน นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า โดยส่วนตัวสนับสนุนให้เกิดการประมูลแบบอี-ออคชั่น (การเสนอราคาแบบแข่งขันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) เนื่องจากถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการประมูล เพื่อความโปร่งใสและให้สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ต่างประเทศนิยมใช้อีกด้วย


ยืนยัน... พวกเราพร้อมประมูลทุกรูปแบบ

เรื่องการใช้คลื่นความถี่นั้น เทคโนโลยี 4จี สามารถใช้ได้ทั้งคลื่นความถี่แบบสูงและต่ำ สิ่งสำคัญคือการที่ผู้ประกอบการจะมีคลื่นความถี่ในจำนวนมากพอสพหรับการให้บริการ โดยมองว่าควรจะมีรวมกันทั้ง 2 รูปแบบไม่ต่ำกว่า 30MHz เพราะปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงควรต้องรองรับการใช้งานให้ได้อย่างเพียงพอ

"ในส่วนของคลื่น 850MHz ที่ดีแทคมีอยู่และกำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี 2561 นั้น เราพร้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของการประมูลได้แม้จะยังเหลือระยะเวลาการใช้งานอยู่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องหลังจากหมดอายุสัมปทานแล้ว"


ศุภชัย เจียรวนนท์

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของรูปแบบการประมูลนั้น ทรูพร้อมจะประมูลในทั้งรูปแบบบิวตี้คอนเทสต์และอี-ออคชั่น แต่ก็อยากให้เป็นแบบอี-ออคชั่นเนื่องจากเป็นวิธีที่มีความโปร่งใสที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

"หากมองว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่และต้องการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นเป็นเรื่องจริงแต่การใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นไม่ได้มีเพียงมิติเดียว และการประมูลคลื่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการนำคลื่นความถี่เหล่านั้นไปพัฒนาต่อไปไม่ใช้เพียงนำไปใช้งาน นอกจากนี้ก็เชื่อว่าภาคเอกชนมีกำลังและความพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศให้รุดหน้าต่อไปได้ ไม่อยากให้นำราคาประมูล 3จี ไปเทียบกับการประมูลทีวีดิจิตอล เพราะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเอกชนที่เข้าประมูลทีวีนั้นมีหลายรายและใช้เงินลงทุนหลักร้อยล้านบาทหลังจากประมูลไปแล้ว แต่คลื่นมือถือนั้นเรามีน้อยรายและต้องใช้งบลงทุนอีกหลายหมื่นหรือแสนล้านบาททีเดียว".





http://www.thairath.co.th/content/470771


_______________________________


3ค่ายประสานเสียงหนุนประมูล4จี ดันธุรกิจโทรคมนาคมเติบโต

รัฐได้ภาษี-กระตุ้นเศรษฐกิจ





นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกลุ่มชินคอร์ป และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด เปิดเผยว่า คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่ใช้ได้ตลอดไป หากไม่ใช้คลื่นให้เกิดประโยชน์จะเสียโอกาส และการจัดประมูลคลื่นความถี่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก เนื่องจากผู้ชนะการประมูลจะต้องส่งมอบเงินเป็น 3 งวด จ่ายผ่านสำนักงานกสทช.เข้ากระทรวงการคลัง เป็นรายได้ของรัฐ และการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทำให้เกิดการสร้างงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เช่น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสฯ สร้างงานขึ้นมาทั้งลงทุนโครงข่าย บุคลากร รวมการลงทุนต่อเนื่องของผู้ประกอบการเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนนับแสนล้านในประเทศ เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ

นายสมประสงค์กล่าวด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าในยุคนี้ มีเทคโนโลยีสำคัญ 4 ประการ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเราคือ 1.ข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) 2.เนื้อหาด้านดิจิตอล ( Digital Content) 3. การสื่อสารด้วยแถบความถี่กว้างหรือบรอดแบนด์ (Broadband) 4.คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) การประมูลคลื่นความถี่ที่ผ่านมาทำให้สามารถตอบสนองการใช้งานของภาคธุรกิจ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสฯ สามารถประกอบกิจการมีรายได้สร้างผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ได้อย่างเป็นที่พอใจ รวมทั้งเสียภาษีเข้ารัฐ
ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

“คลื่นความถี่โทรคมนาคมได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกอุตสาหกรรม ได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันขององค์กร ส่งผลให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย” นายสมประสงค์กล่าว

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ โดย กสทช. ที่ผ่านมา ทำให้เปิดเสรีและเกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม โปร่งใส ภาคอุตสาหกรรมเกิดการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนขับเคลื่อนไปข้างหน้า ส่งผลต่อเนื่องลงไปถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้ ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูง มีการถ่ายทอดความรู้ การต่อยอดประโยชน์อื่นๆ เช่น ระบบการศึกษาได้อีกมากมาย

“ผมมองว่าประเทศไทย เป็นศูนย์กลางประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี เมื่อไทยมีศักยภาพเพียงพอจะส่งผลไปถึงการสร้างมาตรฐานทั้งเออีซี ขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อ กสทช. ได้ทำให้เกิดการเติบโตในอุตสาหกรรมในประเทศเป็นอย่างดี ย่อมจะทำให้เออีซีดีขึ้นสอดคล้องกันตามไปด้วย เนื่องจากประเทศต่างๆ จะเรียนรู้ดูตัวอย่างตามประเทศไทย” นายศุภชัย กล่าว

นายชัยยศ จิระบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เปิดเผยถึงผลที่ได้รับจากการประมูลคลื่น 2.1GHz ว่า ได้มีการสร้างโครงข่าย 3G เพิ่มมากขึ้น และการมีบริการบนคลื่น 2.1GHz ทำให้มีส่วนพัฒนาประเทศ มีดัชนีชี้วัดการเติบโตทางด้านไอซีที อย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียม และสิ่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)

“จะเห็นได้ว่าภายหลังจากจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ภาคเอกชนได้ขยายโครงข่ายมากขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลูกค้าผู้ใช้บริการ เข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและโมบาย อินเตอร์เนต” ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยคาดว่าในอนาคตจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในแง่ของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจากที่มีบริการ 3G ไปสู่การให้บริการ 4G




http://www.naewna.com/business/136710

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.