Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 ธันวาคม 2557 ไปรษณีย์ไทย.ปิยะวัตร์ ระบุ ดร็อปบ๊อกซ์ เริ่มวางตู้จะเน้นในพื้นที่ที่มีสถิติมีผู้เซ็นรับพัสดุน้อย โดยจะนำตู้ไปวางจะจัดวางในสถานที่ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เช่น สถานีรถไฟฟ้า ปั๊มน้ำมัน และห้างสรรพสินค้า





ประเด็นหลัก


นายปิยะวัตร์กล่าวว่า เบื้องต้นในปี 2558 ทาง ปณท มีแผนจะนำตู้ดังกล่าวมาให้บริการก่อนราว 10 ตู้ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการวางตู้จะเน้นในพื้นที่ที่มีสถิติมีผู้เซ็นรับพัสดุน้อย และพนักงานไปรษณีย์ต้องทิ้งใบนำจ่ายให้ไปรับของยังที่ทำการไปรษณีย์ เช่น เขตรังสิต และลาดกระบัง ส่วนพื้นที่ที่จะนำตู้ไปวางจะจัดวางในสถานที่ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เช่น สถานีรถไฟฟ้า ปั๊มน้ำมัน และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งเบื้องต้น ปณท ยังไม่ตั้งเป้าว่าจะมียอดผู้ใช้บริการเท่าใด แต่จะขอวัดผลตอบรับที่ได้จากโครงการนำร่องก่อน ทั้งนี้ ตู้นำจ่ายไปรษณีย์อัตโนมัติมีราคาลงทุนต่อเครื่องที่ 600,000 บาท




_____________________________________________________














ปณทให้บริการ "ดร็อปบ๊อกซ์" รับนโยบาย รบ.-ดิจิตอลอีโคโนมี เริ่มปี 58 ตู้ไปรษณีย์รับของ 24 ชม.


ปณท รับนโยบายรัฐบาล "ดิจิตอล อีโคโนมี" ผนึกพระจอมเกล้าลาดกระบัง เปิดตัวตู้นำจ่ายอัตโนมัติ "ดร็อปบ๊อกซ์" เปิดบริการ 24 ชม. แก้ปัญหาของส่งไปรษณีย์ไม่ถึงผู้รับ เหตุไม่อยู่บ้าน-ไม่สะดวกรับเวลาราชการ และรองรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซที่นับวันบูมขึ้น ประเดิมปีหน้า วาง 10 ตู้พื้นที่ กทม.บนรถไฟฟ้า ห้าง ปั๊มน้ำมัน เขตรังสิต-ลาดกระบัง พบคนไม่อยู่บ้านเยอะสุด

นายปิยะวัตร์ มหาเปารยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานระบบปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท เปิดเผยว่า จากสถิติของการส่งวัสดุทางไปรษณีย์ ราว 400,000 ชิ้นต่อวัน พบว่าในจำนวนดังกล่าวมีถึง 20% ที่พอพนักงานนำส่งของไปรษณีย์ไปถึงบ้านแล้วไม่มีผู้รับของ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของคนอยู่นอกบ้านมากยิ่งขึ้น ล่าสุดทาง ปณท จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการเปิดตัว "ตู้นำจ่ายไปรษณีย์อัตโนมัติ" หรือดร็อปบ๊อกซ์ที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง แก่ผู้รับสินค้าปลายทางที่ต้องการไปรับสิ่งของด้วยตัวเอง เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ค่อยได้อยู่บ้านและไม่สะดวกไปรับสิ่งของที่ทำการไปรษณีย์ในเวลาราชการ รวมถึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางรองรับการให้บริการด้านการสั่งซื้อสิ้นค้าทางอิเล็กทรอนิกส์(อี-คอมเมิร์ซ) ที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายดิจิตอล อีโคโนมีของรัฐบาล

นายปิยะวัตร์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม วิธีรับพัสดุให้ประชาชนลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านทางเว็บไซต์ เมื่อสิ่งของถึงปลายทาง พนักงานนำจ่ายจะนำสิ่งของจ่ายเข้าตู้ และระบบจะส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) แจ้งผู้รับพร้อมรหัส เพื่อรับสิ่งของที่ตู้นำจ่ายไปรษณีย์อัตโนมัติได้ 24 ชั่วโมง โดยตู้นำจ่ายไปรษณีย์อัตโนมัติดังกล่าว จะนำร่องทดสอบระบบเป็นเครื่องแรก ที่ทำการไปรษณีย์สาขาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยในช่วงทดลองการใช้งานจะยังไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม

นายปิยะวัตร์กล่าวว่า เบื้องต้นในปี 2558 ทาง ปณท มีแผนจะนำตู้ดังกล่าวมาให้บริการก่อนราว 10 ตู้ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการวางตู้จะเน้นในพื้นที่ที่มีสถิติมีผู้เซ็นรับพัสดุน้อย และพนักงานไปรษณีย์ต้องทิ้งใบนำจ่ายให้ไปรับของยังที่ทำการไปรษณีย์ เช่น เขตรังสิต และลาดกระบัง ส่วนพื้นที่ที่จะนำตู้ไปวางจะจัดวางในสถานที่ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เช่น สถานีรถไฟฟ้า ปั๊มน้ำมัน และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งเบื้องต้น ปณท ยังไม่ตั้งเป้าว่าจะมียอดผู้ใช้บริการเท่าใด แต่จะขอวัดผลตอบรับที่ได้จากโครงการนำร่องก่อน ทั้งนี้ ตู้นำจ่ายไปรษณีย์อัตโนมัติมีราคาลงทุนต่อเครื่องที่ 600,000 บาท




ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1419577801

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.