Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มกราคม 2558 (บทความ) ครึ่งทาง "ทีวีดิจิทัล" เช็กสต๊อก "คูปอง" ปัญหาพรึ่บ // เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ การจัดส่งคูปองทีวีดิจิทัลไม่ถึงมือประชาชน และ ปัญหาการรับชมรายการ เนื่องจากสัญญาณยังไม่ครอบคลุม

ประเด็นหลัก


"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้ตั้งคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาดูแลปัญหาแล้ว ที่ได้รับแจ้งส่วนใหญ่ มี 2 เรื่อง คือ 1.การจัดส่งคูปองทีวีดิจิทัลไม่ถึงมือประชาชนผู้รับอย่างแท้จริง แต่ไปตกอยู่ในกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจเปิดช่อง ให้มีการทุจริตได้ ซึ่งที่ผ่านมาคณะทำงานลงไปสำรวจในพื้นที่ปัญหา และแจ้งเตือนผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย ผู้จัดส่งคูปองเพื่อให้กำชับบุคลากรในสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต

และ 2.ปัญหาการรับชมรายการ เนื่องจากสัญญาณยังไม่ครอบคลุม โดยในเบื้องต้นแก้ปัญหาตั้งแต่การแจกคูปองลอตที่ 2 ด้วยการทยอยเป็นรายอำเภอที่สัญญาณครอบคลุมเกิน 80%



_____________________________________________________














ครึ่งทาง "ทีวีดิจิทัล" เช็กสต๊อก "คูปอง" ปัญหาพรึ่บ


ปีนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการทีวีไทย เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กดปุ่มเริ่มทดลองออกอากาศ 24 ช่องทีวีดิจิทัล ที่แต่ละบริษัทแย่งกันเสนอราคาประมูลแย่งชิงช่องกันไปเมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา จนได้เงินเข้ารัฐกว่า 5 หมื่นล้านบาท โดย "กสทช." เตรียมใช้การแจก "คูปองส่วนลด" เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านให้ประชาชน เป็นกุญแจสำคัญในการดึงให้คนไทยหันมาดูทีวีดิจิทัล แต่มีเหตุให้ต้องเลื่อนกำหนดการแจก แถมขยับ "เพิ่มและลด" มูลค่าคูปองหลายรอบ ไปถึงการไม่ให้ใช้คูปองแลกซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียม ยังไม่นับเหตุการณ์สำคัญจากการเข้ามาของ "คสช." หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีผลต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์และวิทยุโดยรวม จากคำสั่งปิดสถานี

กลับมาที่เรื่อง "คูปอง" ในเบื้องต้นสรุปว่า จะแจก 14.1 ล้านครัวเรือนตามทะเบียนราษฎรที่ปรากฏชื่อผู้เป็นเจ้าบ้าน (จะเพิ่มอีก 5 ล้านครัวเรือน ในกลุ่มผู้มีทะเบียนบ้านแต่ไม่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน 2.4 ล้านครัวเรือน, บ้านพักข้าราชการ 1 ล้านครัวเรือน ผู้ที่มีทะเบียนบ้านชั่วคราวและในชุมชนแออัด 2 ล้านครัวเรือน)

มูลค่าคูปองอยู่ที่ 690 บาท/ครัวเรือน และนำไปแลกซื้อได้เฉพาะกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล (เซตท็อปบอกซ์) และเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับทีวีดิจิทัลในตัว (iDTV) ได้

ในปีนี้แบ่งเป็น 3 ลอต ลอตแรก 4.6 ล้านครัวเรือน ใน 21 จังหวัดที่โครงข่ายครอบคลุม (10 ต.ค.) และทยอยแจกในจังหวัดที่มีโครงข่ายเกิน 80% ลอตที่ 2 อีก 1.77 ล้านครัวเรือน ใน 100 อำเภอ 21 จังหวัด เมื่อ 28 พ.ย. สุดท้ายลอตที่ 3 อีก 6.23 แสนครัวเรือนใน 41 อำเภอ เมื่อ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมาเบ็ดเสร็จทั้งปีนี้ แจกไป 7.045 ล้านฉบับ ครอบคลุม 42 จังหวัด หรือราว 50% ของจำนวนครัวเรือนที่อยู่ในโครงการ

คูปองไม่ถึงมือ-อับสัญญาณเพียบ

ปัญหาที่พบตั้งแต่การแจกคูปองลอตแรกจนถึงปัจจุบัน หลายเรื่องไม่ได้รับการแก้ไข อาทิ คูปองมาไม่ถึงเจ้าบ้านที่มีสิทธิได้คูปอง, ผู้นำชุมชนหรือไปรษณีย์ในบางพื้นที่รวบเก็บคูปองไว้เองไม่นำจ่าย รวมถึงมีบางพื้นที่ได้คูปองไปแล้ว แต่ยังรับสัญญาณทีวีดิจิทัลไม่ได้เพราะโครงข่ายยังไม่ครอบคลุมหรือเป็นจุดอับสัญญาณ เป็นต้น

ตัวแทนเครือข่ายเพื่อผู้บริโภค "มณี จิรโชติมงคลกุล" ระบุว่า มีคูปองที่แจกใน 2 ลอตแรกค้างอยู่ที่ไปรษณีย์เป็นแสนฉบับ น่าสนใจว่าอาจมีอะไรเกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่งคูปองหรือไม่ มีผู้บริโภคร้องเรียนว่าไม่ได้รับแจกคูปองทั้งที่คุณสมบัติครบ และบางกรณีเมื่อนำคูปองไปใช้สิทธิ ณ จุดให้บริการ แต่ข้อมูลในระบบระบุว่าใช้สิทธิไปแล้ว เป็นต้น

"ทั้งผู้บริโภคไม่มีความรู้ในการเลือกใช้เสาอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพราะระยะห่างจากเสาส่งในแต่ละพื้นที่ต่างกัน ทำให้ใช้เสาอากาศที่มีลักษณะต่างกันจึงอยากให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย"

ตั้งคณะทำงานเคลียร์ปัญหา

"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้ตั้งคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาดูแลปัญหาแล้ว ที่ได้รับแจ้งส่วนใหญ่ มี 2 เรื่อง คือ 1.การจัดส่งคูปองทีวีดิจิทัลไม่ถึงมือประชาชนผู้รับอย่างแท้จริง แต่ไปตกอยู่ในกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจเปิดช่อง ให้มีการทุจริตได้ ซึ่งที่ผ่านมาคณะทำงานลงไปสำรวจในพื้นที่ปัญหา และแจ้งเตือนผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย ผู้จัดส่งคูปองเพื่อให้กำชับบุคลากรในสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต

และ 2.ปัญหาการรับชมรายการ เนื่องจากสัญญาณยังไม่ครอบคลุม โดยในเบื้องต้นแก้ปัญหาตั้งแต่การแจกคูปองลอตที่ 2 ด้วยการทยอยเป็นรายอำเภอที่สัญญาณครอบคลุมเกิน 80%

และได้กำชับให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX) ตามแผนที่วางไว้ โดยในปี 2557 ต้องติดตั้งโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของประชากร แต่ปัจจุบันมีเพียงไทยพีบีเอส และกองทัพบกเท่านั้นที่เป็นไปตามเงื่อนไข และระบุว่าจะขยายได้ครอบคลุมทั่วประเทศเดือน มี.ค. 2558

ส่วนโครงข่ายของ บมจ.อสมท และกรมประชาสัมพันธ์ ยังมีปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสำนักงาน กสทช.รวบรวมความเห็นจากทุกฝ่าย ทั้งจากคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ รวมทั้งช่องทีวีดิจิทัล เพื่อกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองและเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมลงพื้นที่ในจุดอับสัญญาณเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป

และเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทีวีดิจิทัลให้ประชาชน สำนักงาน กสทช.ได้เตรียมงบประมาณ 63.5 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน คาดว่าจะได้เริ่มงานตามแผนได้ในเดือน ม.ค.-ก.พ.ปีหน้า

นอกจากนี้ยัง ทำบันทึกความตกลงร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษา กรมการทหารสื่อสาร ที่มีบุคลากรด้านเทคนิค ให้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในการติดตั้งอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิทัลด้วย

ผู้ผลิตกล่องโวยขึ้นเงินช้า

ด้านผู้ประกอบการกล่องดิจิทัลแทบทุกราย ระบุปัญหาตรงกันเกี่ยวกับการนำคูปองที่ประชาชนได้ใช้สิทธิแล้ว ไปเบิกเงินจาก กสทช.ได้ล่าช้า ขณะที่การอ่อนประชาสัมพันธ์ของ กสทช. ทำให้ประชาชนไม่กระตือรือร้นที่จะนำคูปองมาใช้สิทธิ

ขณะที่เลขาธิการ กสทช.ชี้แจงว่า มีคูปองที่ประชาชนนำมาใช้สิทธิแล้วกว่า 2.1 ล้านฉบับ (ณ 22 ธ.ค.) แต่เพิ่งอนุมัติการเบิกจ่ายเงินตามคูปองที่เอกชนนำมาขึ้นเงินเป็นลอตแรกราว 4-5 หมื่นใบ รวมมูลค่าแล้วกว่า 1 ล้านบาท ไปเมื่อ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สั่ง กสทช.ต้องให้ตรวจสอบเอกสารแนบทุกใบ แต่คาดว่าหลังจากนี้จะทยอยอนุมัติได้เพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าจะอนุมัติการเบิกจ่ายให้ได้มากกว่า 1 แสนฉบับ หรือราวร้อยกว่าล้านบาทให้ทันช่วงปีใหม่

z

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1419830876

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.