Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 กุมภาพันธ์ 2558 กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี เปิดเผย สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ระบุ การดูทีวีดิจิทัลจากการสำรวจครั้งแรกที่มี 37% เพิ่มขึ้นมาเป็น 67% จากการสำรวจในมกราคม 2558 // การดูผ่าน (ก้างปลา/หนวดกุ้ง) มีจำนวนลดลงจากการสำรวจครั้งแรกเดือนพ.ค.2557 จากเดิมมีอยู่ 21% สำรวจครั้งที่2 อยู่ที่ 14% และล่าสุดครั้งที่ 3 อยู่ที่ 12%




ประเด็นหลัก



นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและการเรียนรู้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส เปิดเผยว่า สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ได้จัดทำผลสำรวจการรับชมทีวีดิจิทัลครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-24 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้รับชมทีวีอนาล็อกผ่านเสาอากาศ (ก้างปลา/หนวดกุ้ง) มีจำนวนลดลงจากการสำรวจครั้งแรกเดือนพ.ค.2557 จากเดิมมีอยู่ 21% สำรวจครั้งที่2 อยู่ที่ 14% และล่าสุดครั้งที่ 3 อยู่ที่ 12%

ขณะที่การรับชมทีวีดิจิทัลผ่านกล่องรับสัญญาณดิจิทัล มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 6% จากการสำรวจครั้งแรกขึ้นไปถึง 22% ในการสำรวจล่าสุด และกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ทำการเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อดูทีวีดิจิทัลจากการสำรวจครั้งแรกที่มี 37% เพิ่มขึ้นมาเป็น 67% จากการสำรวจในเดือนม.ค.นี้

พฤติกรรมการรับชมทีวีของผู้บริโภคหลังจากที่ได้ติดตั้งกล่องรับสัญญาณแล้วพบว่าดูฟรีทีวีเดิมเป็นหลักลดลงจาก 52% ลดลงเหลือ 38% โดยผู้บริโภคดูช่องทีวีดิจิทัลเป็นหลักมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 16% ส่วนผู้บริโภคที่ยังดูทั้งระบบอนาล็อก และระบบดิจิทัลเท่าๆกันเพิ่มขึ้นจาก 39% เพิ่มเป็น 46%

ส่วนการแจกคูปองเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิทัล DVB-T2 พบว่า 57% ของผู้ถูกสำรวจได้รับคูปองแล้ว แต่กลุ่มนี้มีถึง 60% ไม่ได้ให้ความสนใจในการแลกกล่องรับสัญญาณ โดย 50% ยังไม่ได้แลกกล่องเนื่องจากมีกล่องและจานดาวเทียม หรือติดตั้งเคเบิลทีวีอยู่แล้ว ในขณะที่ 13% บอกว่าการแลกมีขั้นตอนยุ่งยาก ขณะที่ 8% บอกคุณภาพกล่องรับสัญญาณไม่ดี และ 8% อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของการสร้างสถานีส่งสัญญาณในปีที่ผ่านมาสามารถออกอากาศสัญญาณทีวีดิจิทัลได้ครอบคลุม 24 จังหวัด ครัวเรือนไทยสามารถรับชมได้ 17.6 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 80% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 22.9 ล้านครัวเรือน ในปี 2558 จะมีสถานีส่งเพิ่มอีก 15 จังหวัด ทำให้การรับชมทีวีดิจิทัลครอบคลุม 90-95% ของครัวเรือน ดังนั้นภายในปีนี้ สำนักงาน กสทช.จะดำเนินการแจกคูปองครบตามจำนวนครัวเรือนไทย ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงการรับชมทีวีดิจิทัลได้ทั่วประเทศในสิ้นปีนี้


_____________________________________________________














ทีวีดิจิทัล-สื่อออนไลน์ดันโฆษณาปีนี้1.4แสนล.

สมาคมมีเดียฯชี้ปัจจัยหนุนช่อง"ทีวีดิจิทัล"เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศสิ้นปีนี้ หนุนอุตฯโฆษณาปีนี้1.4แสนล้าน



จากความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงครึ่งแรกปี 2557 ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวและปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือเป็นปัจจัยกระทบภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อในปีที่ผ่านมา หากพิจารณาการสำรวจตัวเลข จาก นีลเส็น และสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT รวมมูลค่างบโฆษณาอยู่ที่ 132,350 ล้านบาท ติดลบ 2% เทียบปี 2556

นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT เปิดเผยว่า ในปี 2558 คาดอุตสาหกรรมโฆษณาจะเติบโต 4-5% มีมูลค่า 1.41 แสนล้านบาท จากปัจจัยภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น เห็นได้จากตัวเลขคาดการณ์จีดีพีปีนี้เติบโตที่ 3-4.5% อีกทั้งการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ช่องใหม่ในปีที่ผ่านมา พบว่า หลายช่องมีการลงทุนคอนเทนท์เพิ่มเติม หวังขยายฐานผู้ชม เพิ่มเรทติ้งและปรับราคาโฆษณา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้มีสินค้าและเอเยนซี สนใจใช้งบผ่านสื่อดิจิทัล ออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยตัวเลขจากสมาคมโฆษณาดิจิทัลปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 5,863 ล้านบาท เติบโต 38%

"ปีที่ผ่านมาทีวีดิจิทัลมีตัวเลขโฆษณาอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าทีวีอนาล็อกเดิมที่มีโฆษณา 6.3 หมื่นล้านบาท แต่ทีวีดิจิทัลช่วยสร้างสีสันให้กับอุตสาหกรรมได้อย่างดี เพราะช่วยกระตุ้นให้คนหันกลับมาดูทีวีเพิ่มขึ้น เพราะมีรายการให้เลือกหลากหลาย เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย และบริการความเร็วสูงทำให้การเสพสื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว" นางวรรณี กล่าว

สำหรับการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ภาพรวมยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน แต่เชื่อว่าจากแผนการลงทุนฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จะช่วยกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้อฟื้นตัว ผลักดันให้สินค้าและบริการกลับมาใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น คาดว่าสัญญาณดังกล่าวจะชัดเจนในเดือน ก.พ.นี้

"ทีวีดิจิทัล"ปรับราคา40%

นายรัฐกร สืบสุข กรรมการ สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการออกอากาศทีวีดิจิทัล ช่องใหม่ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีก 21 ช่อง และช่องทีวีอนาล็อกออกอากาศคู่ขนานระบบดิจิทัล ทำให้ผู้ชมกระจายตัวจากทีวีอนาล็อกไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่ ปีที่ผ่านมาช่องทีวีอนาล็อกมีผู้ชมลดลงประมาณ 10% ส่วนปีนี้คาดลดลง 4-5% สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ทีวีอนาล็อกยังไม่มีแผนปรับราคาโฆษณาเพิ่มขึ้นในปีนี้

ขณะที่ช่องทีวีดิจิทัลปีก่อนมีผู้ชมเพิ่มขึ้น 30% โดยช่องผู้นำเรทติ้งทีวีดิจิทัล มีผู้ชมใกล้เคียงกับทีวีอนาล็อกช่อง 5 และช่อง 9 ทำให้ช่องทีวีดิจิทัล ปรับราคาโฆษณาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 40% โดยช่องผู้นำเรทติ้งปรับขึ้นในอัตราเท่าตัว ขณะที่ช่องเคเบิลและทีวีดาวเทียมมีผู้ชมลดลง 20% จึงไม่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในกลุ่มนี้

นางสาวพเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อทีวี บริษัทมายด์แชร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปีนี้ทีวีดิจิทัลกลุ่มผู้นำเรทติ้ง ประกาศปรับราคาขึ้น 100-300% นอกจากนี้มีโอกาสที่งบโฆษณาจากทีวีอนาล็อกรายเดิม จะย้ายมายังทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น ประเมินว่า ปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา น่าจะกลับมาเติบโตในอัตรา 5% จากปัจจัยดังกล่าวมองว่างบโฆษณาสื่อทีวีทุกช่องทางปีนี้ จะอยู่ที่ราว 8 หมื่นล้านบาท โดยทีวีดิจิทัลจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 200-300% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าที 1.2 หมื่นล้านบาท

ฐานผู้ชมทีวีดิจิทัลพุ่ง

นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและการเรียนรู้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส เปิดเผยว่า สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ได้จัดทำผลสำรวจการรับชมทีวีดิจิทัลครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-24 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้รับชมทีวีอนาล็อกผ่านเสาอากาศ (ก้างปลา/หนวดกุ้ง) มีจำนวนลดลงจากการสำรวจครั้งแรกเดือนพ.ค.2557 จากเดิมมีอยู่ 21% สำรวจครั้งที่2 อยู่ที่ 14% และล่าสุดครั้งที่ 3 อยู่ที่ 12%

ขณะที่การรับชมทีวีดิจิทัลผ่านกล่องรับสัญญาณดิจิทัล มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 6% จากการสำรวจครั้งแรกขึ้นไปถึง 22% ในการสำรวจล่าสุด และกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ทำการเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อดูทีวีดิจิทัลจากการสำรวจครั้งแรกที่มี 37% เพิ่มขึ้นมาเป็น 67% จากการสำรวจในเดือนม.ค.นี้

พฤติกรรมการรับชมทีวีของผู้บริโภคหลังจากที่ได้ติดตั้งกล่องรับสัญญาณแล้วพบว่าดูฟรีทีวีเดิมเป็นหลักลดลงจาก 52% ลดลงเหลือ 38% โดยผู้บริโภคดูช่องทีวีดิจิทัลเป็นหลักมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 16% ส่วนผู้บริโภคที่ยังดูทั้งระบบอนาล็อก และระบบดิจิทัลเท่าๆกันเพิ่มขึ้นจาก 39% เพิ่มเป็น 46%

ส่วนการแจกคูปองเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิทัล DVB-T2 พบว่า 57% ของผู้ถูกสำรวจได้รับคูปองแล้ว แต่กลุ่มนี้มีถึง 60% ไม่ได้ให้ความสนใจในการแลกกล่องรับสัญญาณ โดย 50% ยังไม่ได้แลกกล่องเนื่องจากมีกล่องและจานดาวเทียม หรือติดตั้งเคเบิลทีวีอยู่แล้ว ในขณะที่ 13% บอกว่าการแลกมีขั้นตอนยุ่งยาก ขณะที่ 8% บอกคุณภาพกล่องรับสัญญาณไม่ดี และ 8% อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของการสร้างสถานีส่งสัญญาณในปีที่ผ่านมาสามารถออกอากาศสัญญาณทีวีดิจิทัลได้ครอบคลุม 24 จังหวัด ครัวเรือนไทยสามารถรับชมได้ 17.6 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 80% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 22.9 ล้านครัวเรือน ในปี 2558 จะมีสถานีส่งเพิ่มอีก 15 จังหวัด ทำให้การรับชมทีวีดิจิทัลครอบคลุม 90-95% ของครัวเรือน ดังนั้นภายในปีนี้ สำนักงาน กสทช.จะดำเนินการแจกคูปองครบตามจำนวนครัวเรือนไทย ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงการรับชมทีวีดิจิทัลได้ทั่วประเทศในสิ้นปีนี้

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20150131/632203/ทีวีดิจิทัล-สื่อออนไลน์ดันโฆษณาปีนี้1.4แสนล..html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.