Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 ที่ประชุม MCOT ระบุ TRUEVISION ขอยุติสัญญาสัมปทานเคเบิ้ลทีวีกับ MCOT (สิ้นสุดสัมปทาน 62) โดยควรได้รับค่าชดเชย/ค่าเสีย MCOT45.7 ล้านบาท และ TRUEVISION เจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อซื้อคืนอุปกรณ์เครื่องรับคืนจำนวน 1,551 รายการ มูลค่า 221 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


ขณะเดียวกัน กลุ่มทรูวิชั่นส์ก็ได้มีหนังสือมายัง อสมท.เพื่อขอซื้อคืนอุปกรณ์เหล่านี้ พร้อมขอให้อสมท.ยกเว้นค่าใช้จ่ายเครื่องมืออุปกรณ์ที่บริษัทใช้งานไปในช่วงที่ผ่านมา นับแต่วันที่ 1 ต.ค.56 จนกว่าจะซื้อ -ขายจ่ายโอนกันแล้วเสร็จ ก่อนที่คณะทำงานติดตามการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานจะมีการเจรจาจนได้ข้อยุติและจัดทำร่าง บันทึกข้อตกลงระหว่างอสมท.กับทรูวิช่ันส์ โดยนอกจากทรู วิชั่นส์ มีข้อเรียกร้องให้อสมท.ยอมรับรายการ ทรัพย์สินคงเหลือเมื่อสิ้นสุดสัญญาจำนวน 1,551 เครื่องที่บริษัทส่งมอบให้แก่อสมท.แล้ว ยังเสนอซื้อคืน อุปกรณ์เครื่องรับเหล่านี้จากอสมท.ในราคาไม่เกิน 221 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 2 งวด



อย่างไรก็ตาม การขอยุติสัญญาสัมปทานก่อนกำหนดข้างต้น คณะทำงานติดตามการปฏิบัติตามสัญญา สัมปทานเห็นว่า อสมท.ควรได้รับค่าชดเชย/ค่าเสียโอกาสจากบริษัท โดยพิจารณาจากรายได้ค่าบริการโทรทัศน์ แบบบอกรับสมาชิกของทรูวิช่ัน กรุ๊ป ตามงบการเงินที่ปรากฏ หรือจากรายได้ที่ทรูวิชั่นส์ เคเบิ้ล นำมาคำนวณเป็น ส่วนแบ่งรายได้่ให้อสมท.ในปี 2556 ในอัตราร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างค่าตอบแทนตามสัญญาร่วม การงานฯ (6.5%) และค่าธรรมเนียมที่ทรูวิช่ัน กรุ๊ป ชำระให้กสทช.(4%)รวมเม็ดเงินท้ังสิ้น 45.7 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การเจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อซื้อคืนอุปกรณ์เครื่องรับของทรูวิชั่นส์ ที่ส่งมอบให้แก่อสมท.จำนวน 1,551 รายการ มูลค่า 221 ล้านบาทนั้น รวมทั้งยินยอมให้บริษัทยุติสัญญาระหว่างกันก่อนสิ้นสุดสัมปทานในปี 2562 โดยยอมรับเงินชดเชย 2.5% อันเป็นส่วนต่างค่าตอบแทนที่บริษัทต้องจ่ายแก่อสมท.และ กสทช.ประมาณ 45 ล้านบาทนั้น ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็น การเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหรือไม่ และยังต้ังข้อสงสัยด้วยว่า เป็นไปได้อย่างไรที่อุปกรณ์เครื่องรับที่ทรูวิชั่นส์ลงทุนไปตลอดช่วงสัญญา ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านบาท แต่กลับตีมูลค่าทรัพย์สินที่จะขอซื้อคืนเพียง 221 ล้านบาทเท่านั้น
ทั้งยังก่อให้เกิดคำถามตามมาด้วยว่า การอ้าง ผลสำรวจหน่วยงานภายในและระบุว่าอุปกรณ์ที่ได้รับมอบมาเหล่านี้ ล้าสมัย ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับระบบ ออกอากาศที่อสมท.มีอยู่นั้น หากอุปกรณ์ที่บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานส่งมอบให้แก่รัฐล้าสมัย เหตุใดบริษัทกลับ ยังคงซื้อกลับ ไปใช้ออกอากาศได้ตามปกติ




















_____________________________________________________














'อสมท.-ทรูวิชั่น'ซุ่มเงียบเลิกสัมปทานเคเบิ้ลทีวี

ปูด อสมท.ซุ่มเงียบเลิกสัมปทานเคเบิ้ลกับ"ทรู วิชั่น"ยอมรับค่าชดเชยรายได้45ล้าน แถมเปิดเอกชนซื้อคืนอุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณในราคาต่ำแค่221ล้าน

รายงานข่าวจากบริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการอสมท.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้พิจารณาบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่าง อสมท.กับบริษัท ทรูวิช่ันส์ เคเบิ้ล ที่ได้มีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อยุติสัมปทานการใฝห้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก(เคเบิ้ลทีวี) จากสัมปทานเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2562

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2557 บริษัท ทรู วิชั่น ได้ทำเรื่องส่งมอบอุปกรณ์เครื่องรับให้แก่อสมท. จำนวน 1,551 รายการ และทางอสมท.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตรวจนับและประเมินราคาอุปกรณ์ดังกล่าว โดยคณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจรับไปแล้ว 1,224 รายการ ก่อนที่คณะกรรม การตรวจสอบทรัพย์สิน จะมีการสอบถามความเห็นหน่วยงานภายใน อสมท. ถึงความจำเป็นในการใช้งานอุป กรณ์ที่ได้รับมอบมาเหล่านี้ ก่อนจะสรุปว่า อุปกรณ์ส่งสัญญานที่ได้รับมอบมาดังกล่าว ไม่มีความจำเป็นและไม่เหมาะสมแก่การใช้ งานของอสมท. เนื่องจากไม่สอดคล้องกับระบบออกอากาศที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงเสนอให้คณะกรรมการจำหน่ายพัสดุโดยวิธีพิเศษ ดำเนินการพิจารณาประเมินราคาเพื่อ จะได้หาทางจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านี้ออกไป

ขณะเดียวกัน กลุ่มทรูวิชั่นส์ก็ได้มีหนังสือมายัง อสมท.เพื่อขอซื้อคืนอุปกรณ์เหล่านี้ พร้อมขอให้อสมท.ยกเว้นค่าใช้จ่ายเครื่องมืออุปกรณ์ที่บริษัทใช้งานไปในช่วงที่ผ่านมา นับแต่วันที่ 1 ต.ค.56 จนกว่าจะซื้อ -ขายจ่ายโอนกันแล้วเสร็จ ก่อนที่คณะทำงานติดตามการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานจะมีการเจรจาจนได้ข้อยุติและจัดทำร่าง บันทึกข้อตกลงระหว่างอสมท.กับทรูวิช่ันส์ โดยนอกจากทรู วิชั่นส์ มีข้อเรียกร้องให้อสมท.ยอมรับรายการ ทรัพย์สินคงเหลือเมื่อสิ้นสุดสัญญาจำนวน 1,551 เครื่องที่บริษัทส่งมอบให้แก่อสมท.แล้ว ยังเสนอซื้อคืน อุปกรณ์เครื่องรับเหล่านี้จากอสมท.ในราคาไม่เกิน 221 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 2 งวด

นอกจากนี้ อสมท.ยังได้ท้วงติงทรูวิชั่นส์กรุ๊ป กรณีที่บริษัทประกอบกิจการโทรทัศน์แบบไม่ใช่คลื่น ประเภทโครงข่ายโดยได้รับใบอนุญาตจากกสทช. ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการ โทรทัศน์ แบบบอกรับ สมาชิกกับอสมท. แต่บริษัท ก็อ้างว่าดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และในสัญญาสัมปทานไม่ได้มี เงื่อนไขห้าม ทรูวิชั่นส์ หรือกลุ่มบริษัทดำเนินกิจการในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจาเป็นที่ยุติ ทางกลุ่มทรูได้เสนอที่จะออกอากาศช่องรายการชดเชยให้แก่อสมท.จำนวน 2 ช่องไปจนสิ้นสุดปี 2562

อย่างไรก็ตาม การขอยุติสัญญาสัมปทานก่อนกำหนดข้างต้น คณะทำงานติดตามการปฏิบัติตามสัญญา สัมปทานเห็นว่า อสมท.ควรได้รับค่าชดเชย/ค่าเสียโอกาสจากบริษัท โดยพิจารณาจากรายได้ค่าบริการโทรทัศน์ แบบบอกรับสมาชิกของทรูวิช่ัน กรุ๊ป ตามงบการเงินที่ปรากฏ หรือจากรายได้ที่ทรูวิชั่นส์ เคเบิ้ล นำมาคำนวณเป็น ส่วนแบ่งรายได้่ให้อสมท.ในปี 2556 ในอัตราร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างค่าตอบแทนตามสัญญาร่วม การงานฯ (6.5%) และค่าธรรมเนียมที่ทรูวิช่ัน กรุ๊ป ชำระให้กสทช.(4%)รวมเม็ดเงินท้ังสิ้น 45.7 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การเจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อซื้อคืนอุปกรณ์เครื่องรับของทรูวิชั่นส์ ที่ส่งมอบให้แก่อสมท.จำนวน 1,551 รายการ มูลค่า 221 ล้านบาทนั้น รวมทั้งยินยอมให้บริษัทยุติสัญญาระหว่างกันก่อนสิ้นสุดสัมปทานในปี 2562 โดยยอมรับเงินชดเชย 2.5% อันเป็นส่วนต่างค่าตอบแทนที่บริษัทต้องจ่ายแก่อสมท.และ กสทช.ประมาณ 45 ล้านบาทนั้น ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็น การเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหรือไม่ และยังต้ังข้อสงสัยด้วยว่า เป็นไปได้อย่างไรที่อุปกรณ์เครื่องรับที่ทรูวิชั่นส์ลงทุนไปตลอดช่วงสัญญา ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านบาท แต่กลับตีมูลค่าทรัพย์สินที่จะขอซื้อคืนเพียง 221 ล้านบาทเท่านั้น
ทั้งยังก่อให้เกิดคำถามตามมาด้วยว่า การอ้าง ผลสำรวจหน่วยงานภายในและระบุว่าอุปกรณ์ที่ได้รับมอบมาเหล่านี้ ล้าสมัย ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับระบบ ออกอากาศที่อสมท.มีอยู่นั้น หากอุปกรณ์ที่บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานส่งมอบให้แก่รัฐล้าสมัย เหตุใดบริษัทกลับ ยังคงซื้อกลับ ไปใช้ออกอากาศได้ตามปกติ

ที่สำคัญอสมท.จำเป็นด้วยหรือที่จะต้องเร่งขายคืนให้แก่บริษัท ไม่มีหนทางเลือกอื่นในการบริการอุปกรณ์ เครื่องรับเหล่านี้เลยหรือ เหตุใดจึงไม่เปิดกว้างให้เอกชนรายอื่นๆ ยื่นข้อเสนอเข้ามาเปรียบเทียบ สิ่งเหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/637735#sthash.rkl17anF.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.