Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มีนาคม 2558 ข้อมูลของการ์ทเนอร์และแอคเซนเจอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2561 บริการคลาวด์ในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 256,000 ล้านบาท สำหรับในประเทศไทย ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์จะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


++มูลค่าทางการตลาด
    จากข้อมูลของการ์ทเนอร์และแอคเซนเจอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2561 บริการคลาวด์ในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 256,000 ล้านบาท สำหรับในประเทศไทย ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์จะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากบริการ Infrastructure as a service, บริการ Software as a service และธุรกิจบริหารจัดการเครือข่าย (Managed Services) ทรู ไอดีซี มั่นใจว่า กลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน จะผลักดันให้ ทรู ไอดีซี คงความเป็นผู้นำบริการดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับ 1 ในไทย และติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาเซียนภายในปีนี้ได้อย่างแน่นอน


_____________________________________________________













‘ทรูไอดีซี’ชูกลยุทธ์ One Stop Shop



 ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ ศูนย์บริการรับ-ฝากข้อมูล และ คลาวด์คอมพิวติ้ง กำลังเป็นเทคโนโลยีใหม่ และ กำลังกลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งในขณะนี้   เพราะบรรดาผู้ให้บริการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมรายใหญ่ในประเทศ ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , กลุ่มบริษัท อินทัช จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่างลงทุนและให้บริการอย่างเห็นได้ชัด
 ฐนสรณ์ ใจดีฐนสรณ์ ใจดี   อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายฐนสรณ์ ใจดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรู ไอดีซีเกี่ยวกับแผนธุรกิจติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้
++เป้าหมายขึ้นผู้นำตลาด
    ในปีนี้มีการลงทุนขยายศูนย์บริการดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มเติม ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แห่ง คือ อาคารทรูทาวเวอร์ ถ.รัชดาฯ และ  เมืองทองธานี  และในปีหน้าจะมีศูนย์บริการเพิ่มเติมที่ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยบริษัทต้องการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพียงแต่มาเช่า ศูนย์บริการดาต้าเซ็นเตอร์ และ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่ง ทรู ไอดีซี ให้บริการครบวงจร โดยบริษัทชูกลยุทธ์ One Stop Shop (หมายถึง: มาเช่าใช้บริการที่ ทรู ไอดีซี จะได้บริการครบทุกประเภท)
    ซึ่งเป้าหมายของกลุ่มทรู ต้องการเป็นผู้นำในตลาดเมืองไทย และ ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก อาทิ กูเกิล ไมโครซอฟท์ และ อเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส เพื่อยกระดับบริการคลาวด์เต็มรูปแบบ เพื่อต้องการรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของภาครัฐ  นอกจากนี้ ทรู ไอดีซี ได้เข้าไปลงทุนในตลาด ทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมาร์ ซึ่งประเทศเมียนมาร์ ทรู ไอดีซี ได้จัดตั้งสำนักงานแล้วโดยใช้ชื่อว่า ทรู ไอดีซี เมียนมาร์
++อะไรคือจุดแข็งของทรู ไอดีซี
    จุดแข็งของทรู ไอดีซี ให้บริการที่ได้มาตรฐานระดับสากลและการใช้งานเชื่อมต่อบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในไทย ทำให้ผลประกอบการของทรู ไอดีซี เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้เติบโต 30% และมีผลกำไรขั้นต้นโต 50%  สำหรับปีนี้บริษัทยังมุ่งเน้นพัฒนาบริการใหม่ที่หลากหลายและคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล  ตั้งเป้ารายได้เติบโตถึง 40% และมากกว่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยมีลูกค้าเป้าหมายทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งกลุ่มเอสเอ็มอี องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ การเงินการธนาคาร หน่วยงานราชการ และอื่นๆ
    อย่างไรก็ตามการจับมือกับพันธมิตรระดับโลก เสริมให้ทรู ไอดีซี สามารถให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานโลก และบริการคลาวด์ครบวงจรทุกมิติ  โดยมีบริการต่างๆ ดังนี้ บริการดาต้าเซ็นเตอร์: มีศูนย์บริการถึง 3 แห่ง คือ ศูนย์ทรู ทาวเวอร์, ศูนย์เมืองทองธานี และ สมุทรปราการ
++ประเภทบริการ
    บริการคลาวด์  เช่น Infrastructure as a Service (IaaS) อาทิ บริการคลาวด์, บริการพื้นที่เก็บข้อมูล (Storage), บริการด้านความปลอดภัย, บริการเครือข่าย  และอุปกรณ์สำหรับการใช้งานผ่านคลาวด์โดยเฉพาะ เช่น ความร่วมมือกับกูเกิลเพื่อแนะนำ Chromebook ในประเทศไทย ,Platform as a Service (PaaS) อาทิ แพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์, แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาและทดลองระบบออนไลน์ต่างๆ , Software as a Service (SaaS) อาทิ ซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพด้านการทำงาน,การสื่อสาร, CRM (Customer Relation Management หรือ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์)  และการวิเคราะห์ข้อมูล
    บริการ Professional Services อาทิ บริการให้คำปรึกษา การจัดอบรม และการบริหารจัดการเครือข่าย (Managed Services)
++มูลค่าทางการตลาด
    จากข้อมูลของการ์ทเนอร์และแอคเซนเจอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2561 บริการคลาวด์ในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 256,000 ล้านบาท สำหรับในประเทศไทย ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์จะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากบริการ Infrastructure as a service, บริการ Software as a service และธุรกิจบริหารจัดการเครือข่าย (Managed Services) ทรู ไอดีซี มั่นใจว่า กลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน จะผลักดันให้ ทรู ไอดีซี คงความเป็นผู้นำบริการดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับ 1 ในไทย และติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาเซียนภายในปีนี้ได้อย่างแน่นอน
++เหตุผลที่ตลาดขยายตัว
    เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์

    บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด  (ทรู ไอดีซี)
    ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2547   ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์   โดยมีศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ 2 แห่ง คือ ศูนย์ทรู ทาวเวอร์ และศูนย์เมืองทองธานี ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  ISO/IEC 20000, ISO/IEC 27001 และ ISO 22301 และเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก อาทิ กูเกิล ไมโครซอฟท์ และอเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส นำเสนอบริการคลาวด์แบบ One Stop Shop ทั้ง Infrastructure as a service (IaaS), Platform as a Service (Paas), Software as a Service (SaaS) และ Professional Services ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ธุรกิจ SMEs และองค์กรขนาดใหญ่ ในทุกประเภทธุรกิจและทุกภาคอุตสาหกรรม

    ข้อมูลจำเพาะ :
    ดาต้าเซ็นเตอร์ หมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตรฯ อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น มีความหมายเหมือน data bank
    ขณะที่ คลาวด์คอมพิวติ้ง คือ Cloud Computing หรืออาจจะเรียกว่า การประมวลผลเป็นกลุ่มเมฆ เป็นที่ใช้เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ๆ โดยอิงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรไปยังผู้ที่ต้องการใช้บริการนั้นๆ  โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือเทคนิคสำหรับการทำงานนั้นๆ เลย
    รูปแบบของ Cloud Computing จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย  Public Cloud คือ มี Server ตั้งอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ใช้งานจะใช้บริการผ่าน Web Services , Private Cloud คือ ผู้งานจะเป็นผู้บริหารจัดการระบบเอง โดยมีการจำลอง Cloud Computing เพื่อใช้งานส่วนตัว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น Hybrid Cloud คือ การรวมเอา Public Cloud และ Private Cloud เข้ามาด้วยกัน คุณสมบัติเของ Cloud Computing คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต  ใช้งานเท่าไรก็จ่ายเท่านั้น  มีอิสระทางทรัพยากรคอมพิวเตอร์  มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบให้ตรงกับความต้องการ และ ลดต้นทุน ค่าดูแล บำรุงรักษา
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035  วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558




http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=268913:-one-stop-shop&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VQo3olxAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.