Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มีนาคม 2558 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ คาด จะต้องใช้เงินลงทุนในช่วง 1-2 ปีแรก ประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท โดย EGA จะเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบ ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ

ประเด็นหลัก

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติว่า หลังจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีมติให้หน่วยงานราชการทั้งหมด ยกเว้นกระทรวงการคลังและกระทรวงกลาโหม ยุติการเบิกงบประมาณเพื่อจัดซื้อ จัดจ้าง การทำศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือไอดีซี ของตนเอง และให้เปลี่ยนมาใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของภาครัฐนั้น ขณะนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กำลังศึกษารายละเอียดร่วมกับผู้ให้บริการไอดีซีทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันเพื่อเปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยรัฐจะเปิดให้เอกชนมาประมูลโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานได้ภายใน 10 เดือนนับจากที่โครงการเสร็จ
     
       “คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนในช่วง 1-2 ปีแรก ประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท โดย EGA จะเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการให้บริการมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้คุณภาพและราคาค่าบริการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน”
     
       จากมติดังกล่าวส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ของประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ไปอย่างสิ้นเชิง รัฐกับเอกชนจะเข้ามาร่วมกันลงทุน โดยจะมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานความปลอดภัย และมาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้คุณภาพและราคาค่าบริการที่หน่วยงานภาครัฐใช้บริการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน และต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยรองรับ มีสัดส่วนของพื้นที่เหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการของท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดาต้า เซ็นเตอร์ทุกแห่งจะมีการเชื่อมต่อถึงกัน และสามารถนำไปสู่การบริหารข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเช่น บิ๊ก ดาต้า ได้ในอนาคต



_____________________________________________________












คาด 2 ปี ประเทศไทยมีดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ


        กางแผนดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติ รัฐบาลมอบหมาย EGA ดำเนินการสั่งหน่วยงานรัฐห้ามจัดซื้อจัดจ้าง เปลี่ยนมาใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ร่วมกัน เร่งเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อสร้างพื้นที่ให้เสร็จภายใน 12 เดือน และเปิดให้หน่วยงานรัฐใช้บริการภายใน 10 เดือน ด้าน EGA พร้อมรับลูกขอเวลาศึกษาข้อมูล 6 เดือน ก่อนเสนอบอร์ดดีอี
     
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติว่า หลังจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีมติให้หน่วยงานราชการทั้งหมด ยกเว้นกระทรวงการคลังและกระทรวงกลาโหม ยุติการเบิกงบประมาณเพื่อจัดซื้อ จัดจ้าง การทำศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือไอดีซี ของตนเอง และให้เปลี่ยนมาใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของภาครัฐนั้น ขณะนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กำลังศึกษารายละเอียดร่วมกับผู้ให้บริการไอดีซีทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันเพื่อเปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยรัฐจะเปิดให้เอกชนมาประมูลโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานได้ภายใน 10 เดือนนับจากที่โครงการเสร็จ
     
       “คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนในช่วง 1-2 ปีแรก ประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท โดย EGA จะเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการให้บริการมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้คุณภาพและราคาค่าบริการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน”
     
       จากมติดังกล่าวส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ของประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ไปอย่างสิ้นเชิง รัฐกับเอกชนจะเข้ามาร่วมกันลงทุน โดยจะมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานความปลอดภัย และมาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้คุณภาพและราคาค่าบริการที่หน่วยงานภาครัฐใช้บริการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน และต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยรองรับ มีสัดส่วนของพื้นที่เหมาะสมในการให้บริการตามความต้องการของท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดาต้า เซ็นเตอร์ทุกแห่งจะมีการเชื่อมต่อถึงกัน และสามารถนำไปสู่การบริหารข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเช่น บิ๊ก ดาต้า ได้ในอนาคต
     
       ทั้งนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์หรือไอดีซี มีความจำเป็นมากสำหรับการขับเคลื่อนตามนโยบาย Digital Economy ที่จะทำให้เกิดปริมาณข้อมูลมหาศาล ขณะเดียวกัน ความต้องการการใช้งานของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของเอกชน ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการยังมีไม่มาก และแต่ละแห่งไม่มีการเชื่อมต่อระบบกัน ดังนั้น เพื่อสร้างเสถียรภาพของดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งประเทศ รัฐต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์พื้นที่ขนาดใหญ่ โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นผู้ใช้รายใหญ่เพื่อกระตุ้นความต้องการโดยรวมของประเทศขึ้นมา
     
       ดังนั้น ต่อไปนี้ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “Data Center Consolidation” หรือ การรวมศูนย์ครั้งใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชน จะไม่มีการลงทุนซ้ำซ้อนกันอีกแล้วโดยเฉพาะหน่วยงานรัฐ จากเดิมที่หน่วยงานแต่ละแห่งสร้างศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง ต้องลงทุนทั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย ซอฟต์แวร์ และบุคลากรจำนวนมาก เพื่อดูแลข้อมูลเฉพาะหน่วยงาน ขณะที่ข้อมูลเหล่านั้นก็ถูกเจ้าของหน่วยงานนั้นๆ หวงแหน ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันกับข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ทำให้รัฐเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
     
       “สิ่งที่จะเห็นคือ ภาครัฐต้องกระโดดมาเป็น Digital Government แล้ว ไม่ใช่แค่เป็น e-Government เพราะขณะนี้ภาคเอกชน ภาคประชาชนกำลังเข้าสู่ยุค Digital Citizen แล้ว ภาครัฐต้องไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ การให้บริการต้องสามารถผ่านระบบเหล่านี้ได้ทันที ภาครัฐเองไม่ต้องมาสนใจหลังบ้าน ไม่ต้องมาสนใจสร้างเครือข่ายเอง ต้องกลับมาดูแลเฉพาะเรื่องการปรับปรุงบริการ กระบวนการทำงานหรือพัฒนาบริการอะไร อย่างไร ให้เป็น Smart Service ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากที่สุด” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวเพิ่มเติม
     
       ด้านนายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ EGA กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านดาต้าเซ็นเตอร์แล้วจำนวน 15 คน โดยมีนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เป็นประธาน และตนเองเป็นเลขานุการ และยังมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และตัวแทนจากหน่วยงานความมั่นคง ร่วมเป็นคณะทำงานชุดดังกล่าวด้วย โดยรายชื่อดังกล่าว จะถูกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติและส่งต่อไปยังคณะกรรมการดีอีต่อไป หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากภาครัฐ เพื่อนำมาศึกษา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนส่งเข้าคณะกรรมการดีอีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
     
       โดย EGA จะเข้าไปดูแลทั้งในส่วนของการศึกษาแพลตฟอร์มที่จะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน สร้างมาตรฐานทั้งการเก็บและการเรียกใช้งาน รวมถึงแผนการลงทุนที่เหมาะสม โดยต่อไปนี้ภาคราชการไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะเข้ามาจัดซื้อจัดจ้าง หรือจัดหาบุคลากรมาดูแลดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิมที่คิดว่าเมื่อป้อนข้อมูลของตนเองเข้าไป ข้อมูลเหล่านั้นจะต้องเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานตนเองเท่านั้น ซึ่งต่อไปข้อมูลทั้งหมดจะเป็นของส่วนกลางและนำไปบูรณาการข้อมูลในภาพรวมทั้งหมด ซึ่ง EGA ได้จัดทำแบบฟอร์มให้หน่วยงานได้ทำการสำรวจการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง แล้วส่งให้ EGA รวบรวม เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ เพื่อการรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล
     


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000033880

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.